กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ

1. นายสมภพ สุวรรณชมภู
2. นางสาวอามีเนาะ สาและ
3. นางสาวซากียะห์ แวดาโอะ
4. นางสาวเจะมาสนี เจะและ
5. นางสาวฟาตีฮะ บือราเฮง

ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

80.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

80.00

ในภาวะปัจจุบัน มีการพัฒนาด้านต่างๆ การดำรงชีวิตประจำวัน การเร่งรีบ การแข่งขันในการทำงาน การบริโภคก็เกิดการเปลี่ยนแปลง จะบริโภคเพื่อให้ร่างกายดำรงชีวิตอยู่รอดหรือบางรายบริโภคเพื่อความอิ่มอร่อย ไม่คำนึงถึงหลักโภชนาการที่ร่างกายจำเป็นต้องนำไปใช้ จึงทำให้เกิดการขาดความสมดุลของสารอาหาร เช่น ภาวะอ้วน มีคลอเรสเตอรอลในเลือดสูง ทำให้เกิดการตีบแคบของเส้นเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ขาดการออกกำลังกาย อายุมากขึ้นหรือมีความเครียดในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านท่ากูโบ ตำบลปุโละปุโย ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 4 หมู่บ้าน จากผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่บ้านท่ากูโบ ปีงบประมาณ 2561 พบว่ามีกลุ่มเป้าหมายเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจำนวน 546 คน จากประชากรกลุ่มอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,103 คน จะเห็นได้ว่ากลุ่มเสี่ยงยังมีจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการบริโภคอาหาร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลอย่างต่อเนื่องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านท่ากูโบ ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านท่ากูโบ ตำบลปุโละปุโย จึงได้จัดทำโครงการนี้ต่อเพื่อให้สามารถดูแลกลุ่มเสี่ยงที่ยังเหลืออยู่ให้ครอบคลุมมากที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และสามารถนำไปปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง

ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยที่ได้รับการคัดกรองแล้วได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน

ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 90

90.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ

ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100

100.00
4 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ป้องกัน/ชะลอ/ลดภาวะแทรกซ้อนทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรังที่เกิดขึ้นจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100

100.00
5 เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้งบประมาณด้านการรักษา

ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
การคัดกรองและดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตส 159

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้และฝึกทักษะในการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย การดูแล/ติดตามกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย/ให้ความรู้และฝึกทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่อาสาสมัครสาธารณสุข
  2. อบรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและการดูแลตนเองของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานแก่กลุ่มเสี่ยง
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,950.00 บาท

หมายเหตุ :
1. อบรมให้ความรู้และฝึกทักษะในการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย การดูแล/ติดตามกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย/ให้ความรู้และฝึกทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่อาสาสมัครสาธารณสุข
- ค่าตอบแทนวิทยากร วันละ 7 ชั่วโมงๆละ 600 บาท*1 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 25 บาท*2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 50 บาท*1 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าวัสดุ เป็นเงิน 2,000 บาท
2. อบรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและการดูแลตนเองของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานแก่กลุ่มเสี่ยง
- ค่าตอบแทนวิทยากร วันละ 7 ชั่วโมงๆละ 600 บาท*1 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารเช้าหลังการเจาะเลือด จำนวน 159 คนๆละ 50 บาท*1 มื้อ เป็นเงิน 7,950 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 159 คนๆละ 50 บาท*1 มื้อ เป็นเงิน 7,950 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 159 คนๆละ 25 บาท*2 มื้อ เป็นเงิน 7,950 บาท
- ค่าคู่มือการอบรม เป็นเงิน 5,950 บาท
- ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.5*3.0 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 750 บาท
- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.5*3.0 เมตร จำนวน 4 ผืนๆละ 750 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สามารถให้คำแนะนำและคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงแก่กลุ่มเป้าหมายได้และติดตามเยี่ยมผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เมื่อพบโรคจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาโรคตามเกณฑ์มาตรฐานจากแพทย์ ผู้่ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการ และสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้เช่นคนปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดียืนยาวต่อไป


>