2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
จากการสำรวจพบว่า ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งล้วนแต่เป็นเป็นปัญหาสุขภาพที่มีผลกระทบต่อครอบครัวในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพค่าใช้จ่าย และด้านจิตใจ ซึ่งวิธีการดูแลสุขภาพครอบครัว พบว่าครอบครัวส่วนใหญ่ ยังมีการดูแลที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดสังคม เพื่อลดปัญหาผู้สูงอายุขาดการดูแล ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ซึ่งถ้ามีวิธีการดูแลที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ ทั้งที่สามารถป้องกันหรือรักษาได้ ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยขาดความรู้หมดกำลังใจ ท้อแท้ผู้ดูแลขาดความรู้ ความเข้าใจ หรือชุมชนขาดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟู และจากข้อมูลพบว่า ผู้สูงอายุมีการดูแลสุขภาพผิดวิธี จึงมักเกิดปัญหาว่ามีวิธีการดูแลไม่ถูกต้อง ผู้สูงอายุเกิดความพิการมากขึ้น เกิดแผลกดทับมากขึ้น ต้องเสียเงิน เสียเวลา พากลับไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลเหมือนเดิมดังนั้น ถ้าหากมีการส่งเสริมสนับสนุนให้มีระบบการดูแลผู้ป่วยเหล่านั้นที่ได้มาตรฐาน และครอบครัวสามารถดูแลตนเองได้ เพื่อลดอันตรายหรือเพื่อลดความพิการที่อาจเกิดขึ้น
รพ.สต.ปุโละปุโยจึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ รพ.สต.ปุโละปุโย เพื่อเป็นการดูแลรักษาที่ถูกต้อง มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถฟื้นฟูสภาพให้หายหรือทุเลาจากการเจ็บป่วย รวมทั้งการจัดกิจกรรมเพื่อลดความพิการหรือทุพพลภาพ และให้ผู้ดูแลมีความรู้ ทักษะในการดูแลผู้ป่วย ให้เกิดกระบวนการพัฒนาการดูแลต่อเนื่องที่บ้านให้มีความมั่นคง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยและครอบครัวต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2019
กำหนดเสร็จ 30/09/2019
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
1. จัดทำป้ายโครงการฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ รพ.สต.ปุโละปุโย
- ค่าป้าย ขนาด 1.2*3 เมตร ราคาป้ายละ 720 บาท จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 720 บาท
2. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ รพ.สต.ปุโละปุโย (รุ่นที่ 1)
- ค่าวิทยากร 1 คน*7 ชั่วโมง*600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ*มื้อละ 50 บาท*40 คน เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ*มื้อละ 25 บาท*40 คน เป็นเงิน 2,000 บาท
3. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ รพ.สต.ปุโละปุโย (รุ่นที่ 2)
- ค่าวิทยากร 1 คน*7 ชั่วโมง*600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ*มื้อละ 50 บาท*40 คน เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ*มื้อละ 25 บาท*40 คน เป็นเงิน 2,000 บาท
4. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ รพ.สต.ปุโละปุโย (รุ่นที่ 3)
- ค่าวิทยากร 1 คน*7 ชั่วโมง*600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ*มื้อละ 50 บาท*40 คน เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ*มื้อละ 25 บาท*40 คน เป็นเงิน 2,000 บาท
5. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ รพ.สต.ปุโละปุโย (รุ่นที่ 4)
- ค่าวิทยากร 1 คน*7 ชั่วโมง*600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ*มื้อละ 50 บาท*40 คน เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ*มื้อละ 25 บาท*40 คน เป็นเงิน 2,000 บาท
6. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ รพ.สต.ปุโละปุโย (รุ่นที่ 5)
- ค่าวิทยากร 1 คน*7 ชั่วโมง*600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ*มื้อละ 50 บาท*33 คน เป็นเงิน 1,650 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ*มื้อละ 25 บาท*33 คน เป็นเงิน 1,650 บาท
7. ค่าวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการอบรม
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 8,980 บาท
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ผู้สูงอายุได้รับการดูแล ร้อยละ 100
2. ผู้ดูแลมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุ ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากการอบรมร้อยละ 80