กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน หมู่ที่ 1,2,3,4,10ต.น้ำน้อย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 1,2,3,4,10ต.น้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

1นายยกจันทะนา
2.นางสุรีย์ มงคลนิสภกุล
3.นางสาวสมจิตอัมโร
4.นายสุทิน ไชยภักดี
5.นางสาวสุทินอัมโร

อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 1,2,3,4,10ต.น้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรคนอกจากจะเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทยแล้วยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศไทยที่เป็นเขตร้อนชื้นไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายตัวเมีย กัดคนที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูงหากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัส มาแพร่ให้กับคนอื่นซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคไข้เลือดออกมักจะระบาดในช่วงฤดูฝนยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือนวัดโรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสถานที่ราชการและชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขังเช่นยางรถยนต์จานรองขาตู้กับข้าวเป็นต้น
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปีพ.ศ. 2560 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สํานักระบาดวิทยา ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2560) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมรวม 42,035 ราย อัตราป่วย 64.25 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 56 ราย อัตราป่วยตาย เท่ากับ ร้อยละ 0.13 อัตราการป่วยสะสมของโรคไข้เลือดออกของจังหวัดสงขลา 2,800 ราย อัตราป่วย 199.16 ต่อแสนประชากร เป็นอันดับหนึ่งของประเทศการกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกตามกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 10-14 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด คือ 196.72 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาได้แก่ กลุ่มอายุ 5-9 ปี (139.58), อายุ 15-24 ปี (112.65) อายุ 0-4 ปี (66.07) และอายุ 25-34 ปี (63.72) ตามลำดับ สัดส่วนอาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ นักเรียน ร้อยละ 43.53 รองลงมาได้แก่ รับจ้าง (ร้อยละ 20.07) และ ไม่ทราบอาชีพ (ร้อยละ 18.57) ตามลำดับ ผู้ป่วยเพศชาย 21,640 ราย เพศหญิง 20,395 ราย คิดเป็นอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1 : 0.94
จากสถานการณ์ดังกล่าวอาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ 1,2,3,4และ10 ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้ตระหนักถึงปัญหาจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น โดยมุ่งเน้นกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคไข้เลือดออก มีความรู้ด้านการควบคุมป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การใช้สารเคมีในการควบคุมโรคเมื่อเกิดโรคระบาด อันนำไปสู่การควบคุมและป้องกันโรค โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน
  1. ค่า CI <5
0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อลดจำนวนบ้านที่พบแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
  1. ค่า HI <10
0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อสร้างบ้านต้นแบบในการดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  1. มีบ้านต้นแบบหมู่ละ 5 หลังคาเรือน
0.00
4 ข้อที่ 4.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

4.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2018

กำหนดเสร็จ 31/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรม 1.1กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1.2 กิจกรรมปักธง “บ้านนี้ปลอดลูกน้ำยุงลาย” 1.3 กิจกรรมประกวดบ้านสะอาด “ประกวดหน้าบ้านหน้ามอง” 1.4 กิจกรรมรณรงค์ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน 1.5 กิจกรรมควบคุมการแพร่ระบาดของโรค

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรม 1.1กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1.2 กิจกรรมปักธง “บ้านนี้ปลอดลูกน้ำยุงลาย” 1.3 กิจกรรมประกวดบ้านสะอาด “ประกวดหน้าบ้านหน้ามอง” 1.4 กิจกรรมรณรงค์ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน 1.5 กิจกรรมควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 50 คน x 2 มื้อ x 5 หมู่บ้าน =  12,500 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 50 คน x 5 หมู่บ้าน =  15,000 บาท 3.ค่าวิทยากรกลุ่ม 2 คนชม.ละ 500 บาท จำนวน 4 ชม.= 4,000  บาท 4. ค่าจ้างจัดทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด  1 เมตร x 2 เมตร  = 300 บาท 1. ธง “บ้านนี้ปลอดลูกน้ำยุงลาย” ขนาด 40 เซนติเมตร x 60 เซนติเมตร พร้อมท่อ PVCx 130 บาท x 50 ผืนx 5 หมู่ =  32,500   บาท 1. ค่าเกียรติบัตรพร้อมกรอบ 300 บาท x 15 ป้าย  =  4,500 บาท 1. ค่าทรายอะเบทซองชา 20 g.ถังละ 12,500 ซอง 4,500 บาท/ถัง x 5หมู่=22,500 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 50 คน x 5หมู่=  6,250   บาท 3. ค่าไวนิลรณรงค์ ขนาด 1 เมตร x 2 เมตร 300 บาท x 5ผืน x 5 หมู่ = 7,500   บาท 1. ค่าสเปรย์กำจัดยุง ขนาด 600 มล. 15 กระป๋อง x 120 บาท x 10 กระป๋อง x 5หมู่ =  6,000   บาท 2. โลชั่นทากันยุง 5 บาท x 300 ซอง x 5หมู่=  7,500   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
118550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 118,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านลดลง
2. จำนวนบ้านที่พบแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายลดลง
3. มีบ้านต้นแบบในการดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
4.จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 20
5. ลดการระบาดในโรคไข้เลือดออก


>