กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลควนขนุน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เฝ้าระวัง ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประจำปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลควนขนุน

ศูนย์แพทย์ชุมชน เทศบาลตำบลควนขนุน

ชุมชนในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลควนขนุน ทั้ง 4 ชุมชน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

23.52
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

43.85

จากการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง ย้อนหลัง 5 ปี ปีงบประมาณ 2557-2561 พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 541 , 754, 829 , 831 , 640 ราย ตามลำดับกลุ่มเสี่ยงความดัน 1,057 , 1,083 , 1,135 , ,1 ล037 , 1,101 ราย ตามลำดับจากการวิเคราะห์พบว่ากลุ่มเสี่ยงเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงความดันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจากวิถีชีวิตของประชาชนมีการเปหลี่ยนแปลงไปตามสภาพชุมชนที่เปลี่ยนไปส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพที่ลดลง
อุบัติเหตุการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่มทีแนวโน้อมที่จะลดลง และบางปีก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากโรคเช่นเดียวกับที่ได้กล่างข้างต้นและกลุ่มที่คัดกรองแล้วพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน๙ึ่งจำเป็นต้องได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคดังสถิติตามตารางด้านล่าง
ปี พ.ศ. เบาหวานรายใหม่ (แสนประชากร)
2557402.31
2558463.15
2559555.98
2560363.05
2561482.35
ปี พ.ศ. ความดันโลหิตสูงรายใหม่ (แสนประชากร)
2557724.15
2558721.97
25591,073.62
2560806.78
2561906.81

ดังนั้น การคัดกรองและป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหินสูง มีเป้าหมายสำคัญคือสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายสุขภาพในระยะยาวโดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจึงเน้นกิจกรรมในส่วนของงานบริการเชิงรุกโดยการตรวจค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นให้การวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้นรวมทั้งการปับพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานด้วยตนเองเพื่อป้องกันโรคและป้องกันการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อไปศูนย์แพทย์ชุมชน เทศบาลตำบลควนขนุนร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เทศบาลตำบลควนขนุนจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

คัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้ร้อยละ 90

809.00
2 เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยง

1.อัตราการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 5 2.ความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงร้อยละ 2.5

809.00
3 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง

1.กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้นร้อยละ 80

809.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 374
กลุ่มผู้สูงอายุ 385
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/12/2018

กำหนดเสร็จ 15/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวัง ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงปี 2562

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวัง ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงปี 2562
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง   1.จัดทำฐานข้อมูลประชากรอายุ 35 ขึ้นไป   2.จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยงให้เป็นปัจจุบันและติดตามต่อเนื่อง   3.จัดซื้ออุปกรณ์สำหรับตรวจน้ำตาลในเลือดและอุปกรณ์วัดส่วนสูง   4.การดำเนินกิจกรรคม      -คัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด ในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป      -ให้ความรู้เกี่ยวกับปกติ เรื่อง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยง 3อ. 2ส. ให้ความรู้ผ่านแผ่นพับ สมุดบันทึกสุขภาพกลุ่มเสี่ยง หอกระจายข่าวและวิทยุชุมชน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง 2.กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยโรค แบ่งเป็น 3  ฐาน คือ    ฐานที่ 1 -จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง               -ชี้แจงสถานการณ์/คืนข้อมูลโรคเรื้อรัง ข้อมูลการคัดกรอง ให้กับชุมชนในวันประชุมหมู่บ้าน               -ตรวจร่างกาย (ดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับความดันโลหิต)               -ประเมินความรู้ การปฏิบัติตัว และพฤติกรรม 3อ.               -ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการตามฐานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ. (การออกกำลังกาย การบริโภค การจัดอารมณ์)               -ตั้งเป้าหมายการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม               -สร้างข้อตกลงการนัดและกิจกรรมในครั้งต่อไป   ฐานที่ 2  -คำนวณน้ำหนักตัวที่เหมาะสม และพลังงานที่ควรได้รับแต่ละวัน               -แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง อาหารหวานมัน เค็ม               -สรุปรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม               -นัดหมายการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป   ฐานที่ 3 -ติดตามประเมิรตรวจร่างกาย (ดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับความดันโลหิตสูง ระดับน้าตาลในเลือด)              -ติดตามพฤติกรรม 3อ.              -แลกเปลี่ยนประสบการณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย  การดูแลจิตใจ              -สรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ฐานที่ 4  -ส่งต่อคลินิก DPAC เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเข้มข้น              -ติดตามอย่างต่อเนื่อง และประเมินระดับน้ำตาลซ้ำตามแนวทางการดูแล เพื่อเข้าสู่การวินิจฉัยโรคและส่งพบแพทย์ 5.ประเมินผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง 2.ลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อในกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
2.ลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อในกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยง


>