กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้บริโภคปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพรพ.สต.น้ำน้อย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำน้อย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำน้อย

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำน้อย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ให้แกนนำมีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร

 

50.00

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารนั้นมีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อน หรือแม้แต่มีสารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้แต่มีปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดก็ย่อมให้เกิดพิษภัยกับผู้บริโภค รวมทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน มีสารต้องห้ามส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย เป็นสิ่งที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุน ควบคุม ดูแล เฝ้าระวัง และป้องกัน ให้กับประชาชน เน้นให้ประชาชนได้บริโภคอาหาร ปลอดภัย มีคุณค่าอย่างทั่วถึง และมีการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ปราศจากสารต้องห้ามที่เป็นพิษต่อสุขภาพ ครอบคลุมทุกพื้นที่
ปัจจุบันปัญหาสำคัญที่พบในอาหารสด มักจะมีสารปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อาจเกิดผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวหรืออาจถึงกับชีวิตได้ นอกจากนั้นร้านจำหน่ายอาหารยังมีการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ซึ่งโฟม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกประเภทโพลีสไตรีน (Polystyrene: PS) หากถูกนำไปใช้บรรจุอาหารที่ร้อนจัดและอาหารทอดที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ จะเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้สารอันตรายแตกตัวออกมาปนเปื้อนกับอาหาร ได้แก่ สารเบนซีน (Benzene) หากกินอาหารที่มีสารเบนซีนปนเปื้อนสูง จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง เนื่องจากกระเพาะอาหารถูกกัดกร่อน เวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่สารที่เป็นอันตรายที่สุด คือ สารสไตรีน (Styrene) มีพิษทำลายไขกระดูก ตับ และไต ทำให้ความจำเสื่อม มีผลต่อการเต้นของหัวใจ และเป็นสารก่อ มะเร็ง โดยอาจก่อให้เกิดมะเร็งเส้นเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ การบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแล ควบคุม ตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานก็ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆแก่ผู้ใช้ได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำน้อย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าทางโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อน และมีการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้มาตรฐาน จึงได้จัดโครงการผู้บริโภคปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหารในชุมชนร้านอาหารผ่านเกณฑ์ Clean food good taste และเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ขายในร้านชำ ในตำบลน้ำน้อยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อให้แกนนำมีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ข้อที่ 2. เพื่อเฝ้าระวังสารปนเปื้อนอาหาร ข้อที่ 3. เพื่อให้ร้านอาหารผ่านเกณฑ์ Clean food good taste ข้อที่ 4. เพื่อให้ร้านอาหารเป็นร้านอาหารปลอดโฟม ข้อที่ 5. เพื่อให้ร้านชำผ่านเกณฑ์ร้านชำติดดาว

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. แกนนำมีความรู้เรื่องสารปนเปื้อนในอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 90 2. มีการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารทุก 3 เดือน 3. ร้านอาหารผ่านเกณฑ์ Clean food good taste ร้อยละ 80 4. ร้านอาหารเป็นร้านอาหารปลอดโฟม ร้อยละ 80 5. ร้านชำผ่านเกณฑ์ร้านชำติดดาว ร้อยละ 50

50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมอบรมให้ความรู้แกนนำส่งเสริมสุขภาพ เรื่อง อาหารปลอดภัยและผลิตภัณฑ์สุขภาพ - แกนนำส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 25คน - วิทยากร จำนวน 1 คน - ผู้เข้าร่วม/ประธาน จำนวน…5...คน 2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ กิจกรรมอ

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมอบรมให้ความรู้แกนนำส่งเสริมสุขภาพ เรื่อง อาหารปลอดภัยและผลิตภัณฑ์สุขภาพ - แกนนำส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 25คน - วิทยากร จำนวน 1 คน - ผู้เข้าร่วม/ประธาน จำนวน…5...คน 2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ กิจกรรมอ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร 500 บาท x 6 ชม. x 1 คน = 3,000 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 31 คน = 1,860 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x31 คน = 1,550  บาท
  4. ค่าจ้างจัดทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 เมตร x 2 เมตร  = 300 บาท
  5. ค่าวัสดุสำนักงานใช้ในการอบรม ได้แก่ แฟ้ม สมุด ปากกา 30 บาทx 25คน = 750 บาท รวม 7,460  บาท

  6. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผึกอบรม

- ค่าชุดทดสอบสารสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ 10ตย.=1,200บาท - ค่าชุดทดสอบสารสเตียรอยด์ในเครื่องสำอางค์ 10ตย.=650บาท - ค่าชุดทดสอบไฮโดรควิโดน20ตย.=450บาท - ค่าชุดทดสอบสารปรอท 10ตย.=450บาท - ค่าชุดทดสอบบอแรกซ์ 50 ตย. = 150 บาท - ค่าชุดทดสอบสารกันรา 50 ตย. = 190 บาท - ค่าชุดทดสอบสารฟอกขาว 100 ตย. = 170 บาท - ค่าชุดทดสอบฟอร์มารีน30ตย. = 963 บาท - ค่าชุดทดสอบยาฆ่าแมลง20ตย. = 1,800 บาท - ค่าชุดทดสอบสารน้ำมันทอดซ้ำ 25 ตย. = 850 บาท - ค่าชุดตรวจสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 20ตย.=1,300 บาท - ค่าชุดทดสอบกรดวิตามินเอ เรทิโนอิก25ตย. = 680 บาท รวม 8,853  บาท

  1. ค่าวิทยากร 500 บาท x 6 ชม. x 1 คน = 3,000 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 31 คน = 1,860 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 31 คน = 1,550  บาท
  4. ค่าวัสดุสำนักงานใช้ในการอบรม ได้แก่ แฟ้ม สมุด ปากกา 30 บาทx 25คน = 750 บาท
  5. ค่าคู่มือหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหาร 100 บาท x 25 ชุด  = 2,500 บาท รวม 9,660  บาท


  6. ป้าย Clean food good taste ขนาด 50 ซม.x50 ซม. 500 บาท x 20 ป้าย = 10,000 บาท
  7. ป้ายร้านอาหารปลอดโฟม ขนาด 50 ซม.x50 ซม. 500 บาท x 20 ป้าย = 10,000 บาท
  8. ป้ายร้านชำติดดาว ขนาด 30 ซม.x70 ซม. 500 บาท x 15 ป้าย = 7,500 บาท รวม   27,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำมีความรู้เรื่องสารปนเปื้อนในอาหาร
  2. มีการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารทุก 3 เดือน
  3. ร้านอาหารผ่านเกณฑ์ Clean food good taste
  4. ร้านอาหารปลอดโฟม
  5. ร้านชำผ่านเกณฑ์ร้านชำติดดาว
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
53473.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,473.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำมีความรู้เรื่องสารปนเปื้อนในอาหาร
2. มีการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารทุก 3 เดือน
3. ร้านอาหารผ่านเกณฑ์ Clean food good taste
4. ร้านอาหารปลอดโฟม
5. ร้านชำผ่านเกณฑ์ร้านชำติดดาว


>