กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียน อย. น้อย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

โรงเรียนวัดท่านางหอม

โรงเรียนวัดท่านางหอม

ห้องประชุมโรงเรียนวัดท่านางหอม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนนักเรียนมีความรู้ด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

 

22.00
2 จำนวนนักเรียนสามารถตรวจคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ถูกต้อง

 

22.00
3 จำนวนนักเรียนสามารถให้มีการจัดตั้งชมรม อย.น้อย ในโรงเรียน

 

22.00

ปัจจุบันพฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหาร หรือการเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทยาและเครื่องสำอางของเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันต้องตา หรือกำลังอยู่ในช่วงของการโฆษณา ตามสื่อประเภทต่างๆ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ อันตราย หรือความปลอดภัยพฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น วิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิม มีสื่อประเภทต่างๆ เข้ามามีบทบาทในสังคมเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อจนกระทั่งตัดสินใจเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ
เยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน ถือว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ หากกลุ่มเยาวชน ไม่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ซึ่งผู้ผลิตได้ผลิตออกมา เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างหลากหลาย มีทั้งผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด แต่ยังคงมีผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตได้แอบอ้างสรรพคุณ มีการโฆษณาชวนเชื่อเกินความเป็นจริง หรืออาจมีผลิตภัณฑ์ที่มีสารปนเปื้อนเป็นอันตราย ปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร และการอ่านดูข้อมูลโภชนาการจากฉลากผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งที่สำคัญ หากเยาวชนมีความรู้และมีทักษะในการเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ จะทำให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจนสามารถทำให้ปัญหาด้านสุขภาพลดน้อยลง
โรงเรียนวัดท่านางหอม ได้จัดโครงการโรงเรียน อย. น้อย ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนโรงเรียนวัดท่านางหอม มีความรู้ด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนมีส่วนร่วมในเฝ้าระวังและตรวจคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ข้อที่ 2 เพื่อให้นักเรียนสามารถตรวจคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ถูกต้อง ข้อที่ 3 เพื่อให้มีการจัดตั้งชมรม อย.น้อย ในโรงเรียน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. นักเรียนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 2.นักเรียนที่เข้ารับการอบรมสามารถตรวจคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ถูกต้องร้อยละ 100 3.มีการจัดตั้งชมรม อย.น้อย ในโรงเรียนวัดท่านางหอม

22.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 22
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.1จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ อย.น้อย เรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภค - กลุ่มเป้าหมาย 22 คน - วิทยากร 3 คน - ผู้เข้าร่วม 70 คน

ชื่อกิจกรรม
1.1จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ อย.น้อย เรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภค - กลุ่มเป้าหมาย 22 คน - วิทยากร 3 คน - ผู้เข้าร่วม 70 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากร 500 บาท x 6 ชม. x 3คน=  9,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 95  คนx 2 มื้อ= 4,750 บาท - ค่าคู่มืออบรม 20บาท x 25ชุด = 500 บาท - ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.7เมตร x 2.5 เมตร= 550 บาท - ค่าชุดตรวจสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง พร้อมอุปกรณ์ 20 ตัวอย่าง ชุดละ1,700 บาทจำนวน  3  ชุด  =  5,100   บาท - ค่าชุดทดสอบภาชนะสัมผัสอาหารและมือ 20 ตัวอย่าง ชุดละ 1,300บาทจำนวน  3 ชุด =3,900  บาท - ค่าชุดตรวจหาไอโอดีนในเกลือ 80 ตัวอย่าง
ชุดละ 240 บาทจำนวน 3 ชุด =720 บาท - ค่าชุดทดสอบบอแรกซ์ในอาหาร 50 ตัวอย่าง ชุดละ 300 บาทจำนวน 3 ชุด=900  บาท - ค่าวัสดุจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ เช่น ฟิวเจอร์บอร์ด กระดาษสี กาวสองหน้า กาว ฯลฯ = 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.  นักเรียนมีความรู้ด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2.  นักเรียนสามารถตรวจคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ถูกต้อง 3.  มีการจัดตั้งชมรม อย.น้อย ในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27420.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,420.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีความรู้ด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
2.นักเรียนสามารถตรวจคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ถูกต้อง
3.มีการจัดตั้งชมรม อย.น้อย ในโรงเรียน


>