กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ปิงปอง 7 สี ต้านภัยโรคเบาหวาน ความดันในชุมชน (ม.3 ต.น้ำน้อย )

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

ชมรมอสม. หมู่ที่ 3

1. นางสุภาพรบุตรราษฎร(ผู้เสนอโครงการ)
2. นางสุรีย์มงคลนิสภกุล
3. นายเสถียรโลหะ
4. นางละเอียดศรีจำเริญ
5. นางบุญเลือนศรีจำเริญ
6. นางสมใจดำรัตนา
7. นางกัลยาชะโณวรรณะ
8. น.ส.กรวิภาวรรณหน่อสกุล
9. น.ส.สุวรรณาอัมโร
10. นางอาภรณ์ราญฏร

ชมรมอสม. หมู่ที่ 3

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากผลการดำเนินโครงการปิงปอง 7 สีที่ผ่านมา อสม.หมู่ที่ 3 ตำบลน้ำน้อยได้ลงคัดกรองและเสริมความรู้ชาวบ้าน
ให้เข้าใจถึงโรคกลุ่มไม่ติดต่อเรื้อรังโดยเฉพาะโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงที่อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจอย่างเฉียบพลัน จนกลายเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มภาระการดูแลแก่ครอบครัวและคนใกล้ชิดรวมไปถึงชุมชน
ด้วยเจตนาของกลุ่มสมาชิกชมรมอสม.หมู่ที่ 3 ตำบลน้ำน้อยที่ตั้งใจมุ่งมั่นจะลดจำนวนผู้ป่วยติดเตียง อันมีสาเหตุ
มาจากการละเลยไม่ใส่ใจต่อสุขภาพ หรือการคุมไม่ได้ของภาวะโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงอีกทั้งต้องการ
ที่จะเข้าถึงกลุ่มคนที่ไม่เคยได้รับการคัดกรองสุขภาพมาก่อน เพื่อประเมินปัญหาสุขภาพชุมชน สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนหมู่ที่ 3 เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับเปลี่ยนชุมชนด้านสุขภาพให้ดียิ่งๆขึ้นไป โดยการลงคัดกรองแยกตามพื้นที่อย่างใกล้ชิด พบว่าจากจำนวนประชากรหมู่ที่ 3 ที่มีอายุ 35 ขึ้นไป มีจำนวน 530 คน แต่เข้ารับการคัดกรองเพียงแค่ 137 คน ซึ่งยังไม่ถึง 50 % ของจำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมายด้วยเหตุที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังมองไม่เห็นความสำคัญ ต่อการประสานความร่วมมือด้านความใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง และยังขาดความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาของโรค การใช้ยาอย่างถูกวิธี และการปรับเปลี่ยนตนเองอย่างไรเพื่อให้ไกลจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้
และด้วยเหตุที่ทางชมรมของเรายังคงขาดแคลนเครื่องมือในการปฏิบัติหน้าที่ จึงไม่สามารถตรวจคัดกรองรองรับได้ตามจำนวนทั้งหมดของประชาชนตามกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยเหตุนี้ทางชมรมอสม.หมู่ที่ 3จึงของบประมาณเพื่อสนับสนุนในการดำเนินโครงการปิงปอง 7 สี ปีพ.ศ. 2562 ต่อไป โดยมีจำนวนผู้ป่วยเรื้อรังที่ยังคุมอาการไม่ได้ประมาณ 5 คน ผู้ป่วยรายใหม่ของปี 2561 อีก 3 คน และกลุ่มเสี่ยงอีก 55 คน รวม 63 คน และประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับการคัดกรองอีกจำนวนเกือบ 400 ราย ที่ยังคงต้องเฝ้าระวังติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการต่อยอดสู่การพัฒนาชุมชนด้านสุขภาพอย่างสมบูรณ์ ให้ปลอดจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยโครงการปิงปอง 7 สีปี 2562 นี้ จะเน้นการให้ความรู้ชาวบ้านเพื่อนำไปสู่การกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และจะเน้นการเข้าถึงเชิงรุกโดยการติดตามเฝ้าระวัง เยี่ยมบ้านให้กำลังผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยทั้งรายเก่าและใหม่ รวมไปถึงผู้มีภาวะเสี่ยง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นด้านสุขภาพ
ทั้งนี้การดำเนินโครงการนี้เหมือนเป็นพันธกิจสัญญาว่า เราจะร่วมดูแลสุขภาพของชาวบ้านในชุมชน เพื่อการพัฒนาศักยภาพสร้างคนที่มีคุณภาพและมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้า นำไปสู่การสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืนสืบไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ สนใจดูแลสุขภาพ ออกมาตรวจวัดความดันและน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ ข้อที่ 2 ลดการเกิดผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ข้อที่3 ลดการเกิดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแบบเฉียบพลัน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ประชาชนที่อายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชนได้รับการคัดกรองเบาหวาน ความดัน ร้อยละ 100ในปี 2562 2 กลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดัน เกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นผู้ป่วยติดเตียง ร้อยละ 0 ในปี 2562 1.ไม่เกิดผู้ป่วยโรคความดันรายใหม่มากกว่า 5 คนต่อปี 2.ไม่เกิดผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่มากกว่า 5 คนต่อปี 1.จำนวนผู้ป่วยที่รพ.ส่งกลับมาติดตามเยี่ยมจากภาวะ แทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ความดันไม่เกิน 5 คนต่อปี

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 25
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 3. เปิดโครงการปิงปอง 7 สีปี62 อย่างเป็นทางการ 3.1 กิจกรรมย่อย - อบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านหมู่ที่ 3 ตำบลน้ำน้อย ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อต้านภัยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน - รับการคัดกรองและรับคำแนะนำจากวิทยากร 4.ดำเนินกิจกรรมปิงปอง 7 สีในชุม

ชื่อกิจกรรม
3. เปิดโครงการปิงปอง 7 สีปี62 อย่างเป็นทางการ 3.1 กิจกรรมย่อย - อบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านหมู่ที่ 3 ตำบลน้ำน้อย ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อต้านภัยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน - รับการคัดกรองและรับคำแนะนำจากวิทยากร 4.ดำเนินกิจกรรมปิงปอง 7 สีในชุม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากร 3 ชม.x 500บ.          = 1,500 บ. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม40คนx 25 = 1,000บ.





อาหารว่างและเครื่องดื่ม15คนx 25บ.   =  375บ.


อาหารว่าง 15คนx 25บ.   =  375บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้และตื่นตัวในการเฝ้าระวังโรคเบาหวานความดันมากขึ้น
2.ไม่เกิดหรือลดจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน รายใหม่ในปีงบประมาณ 2562-2563 ในกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
รับผิดชอบ
3.เกิดแกนนำส่งเสริมสุขภาพในชุมชนที่เข้มแข็ง
4.เกิดมาตรการทางสังคมในการสร้างสุขภาพของชุมชน
5. ประชาชนเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพในทางที่ดีขึ้นและเริ่มใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น


>