กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ปิงปอง 7 สี ต้านภัยโรคเบาหวาน ความดันในชุมชน (ม.10 ต.น้ำน้อย )

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

ชมรมอสม. หมู่ที่ 10

1. นางธัชพรรณทองแกมแก้ว(ผู้เสนอโครงการ)
2. นางสาวจำนึงนนทศร
3. นายยกจันทะนา
4. นางธาวินีธรรมสะโร
5. นางนงคราญศรีมุณี
6. นายสมพรบุ้งทอง
7. นางอาภรณ์ไชยภักดี
8. นางชื่นนนทศร
9. นายวิลัยอินทสุวรรโณ
10.นางรัตนวดีศรีจำเริญ

ชมรมอสม. หมู่ที่ 10

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากผลการดำเนินโครงการปิงปอง 7 สีที่ผ่านมา อสม.หมู่ที่ 10 ตำบลน้ำน้อยได้ลงคัดกรองและเสริมความรู้ชาวบ้าน
ให้เข้าใจถึงโรคกลุ่มไม่ติดต่อเรื้อรังโดยเฉพาะโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงที่อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจอย่างเฉียบพลัน จนกลายเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มภาระการดูแลแก่ครอบครัวและคนใกล้ชิดรวมไปถึงชุมชน
ด้วยเจตนาของกลุ่มสมาชิกชมรมอสม.หมู่ที่ 10 ตำบลน้ำน้อยที่ตั้งใจมุ่งมั่นจะลดจำนวนผู้ป่วยติดเตียง อันมีสาเหตุ
มาจากการละเลยไม่ใส่ใจต่อสุขภาพ หรือการคุมไม่ได้ของภาวะโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงอีกทั้งต้องการ
ที่จะเข้าถึงกลุ่มคนที่ไม่เคยได้รับการคัดกรองสุขภาพมาก่อน เพื่อประเมินปัญหาสุขภาพชุมชน สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนหมู่ที่ 10 เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับเปลี่ยนชุมชนด้านสุขภาพให้ดียิ่งๆขึ้นไป โดยการลงคัดกรองแยกตามพื้นที่อย่างใกล้ชิด พบว่าจากจำนวนประชากรหมู่ที่ 10 ที่มีอายุ 35 ขึ้นไป มีมากถึง 943 คน แต่เข้ารับการคัดกรองเพียงแค่ 312 คน ซึ่งยังไม่ถึง 50 % ของจำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมายด้วยเหตุที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังมองไม่เห็นความสำคัญ ต่อการประสานความร่วมมือด้านความใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง และยังขาดความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาของโรค การใช้ยาอย่างถูกวิธี และการปรับเปลี่ยนตนเองอย่างไรเพื่อให้ไกลจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้
และด้วยเหตุที่ทางชมรมของเรายังคงขาดแคลนเครื่องมือในการปฏิบัติหน้าที่ จึงไม่สามารถตรวจคัดกรองรองรับได้ตามจำนวนทั้งหมดของประชาชนตามกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยเหตุนี้ทางชมรมอสม.หมู่ที่ 10จึงของบประมาณเพื่อสนับสนุนในการดำเนินโครงการปิงปอง 7 สี ปีพ.ศ. 2562 ต่อไป โดยมีจำนวนผู้ป่วยเรื้อรังที่ยังคุมอาการไม่ได้อีก 26 คน ผู้ป่วยรายใหม่ของปี 2561 อีก 10 คน กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงอีก 119 คน และกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 34 คน จำนวนรวมสูงถึงเกือบ 200ราย และประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับการคัดกรองอีกจำนวน 631 รายที่ยังคงต้องเฝ้าระวังติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการต่อยอดสู่การพัฒนาชุมชนด้านสุขภาพอย่างสมบูรณ์ ให้ปลอดจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยโครงการปิงปอง 7 สีปี 2562 นี้ จะเน้นการให้ความรู้ชาวบ้านเพื่อนำไปสู่การกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และจะเน้นการเข้าถึงเชิงรุกโดยการติดตามเฝ้าระวัง เยี่ยมบ้านให้กำลังผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยทั้งรายเก่าและใหม่ รวมไปถึงผู้มีภาวะเสี่ยง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นด้านสุขภาพ
ทั้งนี้การดำเนินโครงการนี้เหมือนเป็นพันธกิจสัญญาว่า เราจะร่วมดูแลสุขภาพของชาวบ้านในชุมชน เพื่อการพัฒนาศักยภาพสร้างคนที่มีคุณภาพและมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้า นำไปสู่การสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืนสืบไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ สนใจดูแลสุขภาพ ออกมาตรวจวัดความดันและน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ ข้อที่ 2 ลดการเกิดผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ข้อที่3 ลดการเกิดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแบบเฉียบพลัน

1.ประชาชนที่อายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชนได้รับการคัดกรองเบาหวาน ความดัน ร้อยละ 100ในปี 2562 2 กลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดัน เกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นผู้ป่วยติดเตียง ร้อยละ 0 ในปี 25621.ไม่เกิดผ้ืป่วยโรคความดันรายใหม่มากกว่า 5 คนต่อปี 2.ไม่เกิดผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่มากกว่า 5 คนต่อปี 1.จำนวนผู้ป่วยที่รพ.ส่งกลับมาติดตามเยี่ยมจากภาวะ แทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ความดันไม่เกิน 5 คนต่อปี

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ 1.1 กิจกรรมย่อย - ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการ เจ้าหน้าที่รพสต. อสม.หมู่ที่ 10 และแกนนำชาวบ้าน รวม 25 คน - วิเคราะห์ปัญหาแก้ไขพัฒนาศักยภาพ - สรุปจำนวนผู้ต้องเฝ้าระวังติดตาม/แบ่งหน้าที่ - ซ้อมเตรียมความพร้อมก่อนลงพื้นที

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ 1.1 กิจกรรมย่อย - ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการ เจ้าหน้าที่รพสต. อสม.หมู่ที่ 10 และแกนนำชาวบ้าน รวม 25 คน - วิเคราะห์ปัญหาแก้ไขพัฒนาศักยภาพ - สรุปจำนวนผู้ต้องเฝ้าระวังติดตาม/แบ่งหน้าที่ - ซ้อมเตรียมความพร้อมก่อนลงพื้นที
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 25คนx 2มื้อ =1,250 บ. ค่าอาหารกลางวัน60บ.x 25 คน   =  1,500บ.


ค่าวัสดุเครื่องเขียนและอุปกรณ์=  1,500บ. -  สมุด 3 โหล x 140บ.               = 420บ. -  ปากกา 2 กล่องx 150บ.           = 300บ. -  กล่องใส่อุปกรณ์ 2 กล่องx180= 360บ. -  กระดาษ A4 1รีมx 180            = 180บ. -  กระดาษสี A4 2แพ็คx 120       =240บ. ค่าใช้จ่ายติดต่อสื่อสาร500บ.x 1 คน=   500บ. ค่าไวนิล 2 แผ่น=   600 บ. ค่าสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งโครงการ      =  1 ,000 บ. ค่าครุภัณฑ์=  10,000 บ. -เครื่องวัดความดัน 1 เครื่องx2,500 = 2,500 บ. -  เครื่องวัดน้ำตาล 1 เครื่อง x 2,500   = 2,500 บ. - แผ่นสตริปวัดน้ำตาล 4 กล่องx 800 = 3,200 บ. - เครื่องชั่งน้ำหนัก 2 เครื่องx 900      = 1,800บ. ค่าวิทยากร 3 ชม.x 500บ.          = 1,500 บ. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม40คนx 25 = 1,000บ.





อาหารว่างและเครื่องดื่ม15คนx 25บ.   =  375บ.


อาหารว่าง 15คนx 25บ.   =  375บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้และตื่นตัวในการเฝ้าระวังโรคเบาหวานความดันมากขึ้น
2.ไม่เกิดหรือลดจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน รายใหม่ในปีงบประมาณ 2562-2563 ในกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
รับผิดชอบ
3.เกิดแกนนำส่งเสริมสุขภาพในชุมชนที่เข้มแข็ง
4.เกิดมาตรการทางสังคมในการสร้างสุขภาพของชุมชน
5. ประชาชนเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพในทางที่ดีขึ้นและเริ่มใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น


>