กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

ชมรมผู้สูงอายุรักสุขภาพน้ำน้อย

1.นางนันทภัคเขียวเทพ
2.นายบุญธรรมปานนุกูล
3.นางสุพิชญ์รดารูปสูงชัยพงค์
4.นางจงกลราญฏร
5.นางสาวสมจิตอัมโร

ชมรมผู้สูงอายุรักสุขภาพน้ำน้อย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพ ออกกำลังกายและได้รับความรู้ในการดูแลตนเอง

 

50.00
2 จำนวนผู้สูงอายุมีความมั่นใจตนเอง กล้าแสดงออก รู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเอง

 

50.00

ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าในปี 2563 จะมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีอยู่ราว 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมด กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือ เมื่อประเทศใดมีประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 10 หรือ ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบรูณ์ (Aged Society) ประเทศไทยเริ่มเข้าสู้สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2547 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบรูณ์ในปี 2567 หรืออีก 9 ปีข้างหน้า เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิง หรือภาวะโดยรวมที่ ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆทั่วไปเริ่มอ่อนแอ และเกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการ เปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และสังคม ชมรมผู้สูงอายุรักสุขภาพน้ำน้อย ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพผู้สูงอายุ รวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ ในชุมชนตำบลน้ำน้อยขึ้น และจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุ โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุ ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัว ทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอย่างมีคุณค่า สามารถสร้างประโยชน์ช่วยเหลือสังคมและครอบครัว ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ข้อที่ 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุเห็นประโยชน์ของการออกกำลังกายและการฝึกปฏิบัติตามวิทยากรสาธิตได้ ข้อที่ 3.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ทางด้านสรรพคุณสมุนไพรในการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ข้อที่ 4.เพื่อให้ผู้สูงอายุร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดซึ่งกันและกันได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ผู้สูงอายุได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองและสามารถจัดการหรือป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพทางกาย สุขภาพทางใจด้วยตนเอง ร้อยละ 70

2.ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายและมีความกระปรี้กระเปร่าเพิ่มขึ้นจากการไม่ได้ออกกำลังกาย
3.ผู้สูงอายุสามารถบอกสรรพคุณของสมุนไพร และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ร้อยละ80

4.ผู้สูงอายุสามารถถ่ายทอดความรู้พูดคุยในแต่ละกลุ่มได้ ร้อยละ 80

50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/02/2019

กำหนดเสร็จ 20/02/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. วิทยากรให้ความรู้ 1.1 กิจกรรมย่อยวันที่ 1.....กิจกรรมยืด เหยียด คลายกล้ามเนื้อ 1.2 กิจกรรมย่อยวันที่ 2.....ยืดคลายบรรเทาหายด้วยสมุนไพร สาธิตพร้อมทั้งปฏิบัติการทำลูกประคบสมุนไพร(แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้) กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที

ชื่อกิจกรรม
1. วิทยากรให้ความรู้ 1.1 กิจกรรมย่อยวันที่ 1.....กิจกรรมยืด เหยียด คลายกล้ามเนื้อ 1.2 กิจกรรมย่อยวันที่ 2.....ยืดคลายบรรเทาหายด้วยสมุนไพร สาธิตพร้อมทั้งปฏิบัติการทำลูกประคบสมุนไพร(แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้) กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากรให้ความรู้...500..บ.x…6ชั่วโมง x 1คน =  3,000 บ. -ค่าอาหารกลางวัน60.บ.x 50 คน x1มื้อ = 3,000 บาท -ค่าอาหารว่าง 25.บ.x 50 คน x2มื้อ = 2,500 บาท -ค่าสมุดบันทึกความรู้/วัสดุเอกสาร   20 บ.x 50 คน  =   1,000 บาท -ค่าถ่ายเอกสาร,ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์   = 500บ . -ค่าไวนิล 500 บาท รวมเงิน  10,500    บาท -ค่าวิทยากรให้ความรู้500.บ.x6 ชั่วโมง x 1คน =  3,000 บ. -ค่าอาหารกลางวัน 60.บ.x 50 คน x1 มื้อ = 3,000 บาท -ค่าอาหารว่าง 25.บ.x 50 คน x2มื้อ = 2,500 บาท -ค่าวัสดุสาธิต สมุนไพรลูกประคบ รายการดังนี้ 1.  ผ้าขาวดิบ             800  บาท 2.  เชือก 1 ม้วน          300  บาท 3.  เหง้าไพล             800  บาท 4.  เหง้าขมิ้นชัน         200  บาท 5.  ตะไคร้บ้าน           200  บาท 6.  ผิวมะกรูด            200  บาท 7.  ใบมะขาม               00  บาท 8.  ใบส้มป่อย             800  บาท 9.  เกลือ                   100  บาท 10. การบูร              1,000  บาท รวมเงิน = 4,400  บาท -ค่าอื่นๆที่จำเป็นในการฝึกอบรม = 200.-บาท รวมเงิน  13,100    บาท -ค่าวิทยากรให้ความรู้500.บ.x6ชั่วโมง x 1คน =  3,000 บ. -ค่าอาหารกลางวัน60.บ.x 50 คน x1มื้อ = 3,000 บาท -ค่าอาหารว่าง 25.บ.x 50 คน x2มื้อ = 2,500 บาท -ค่าแผ่นบอร์ด/กระดาษโฟรชาร์ต   20 บ.x 5 กลุ่ม  =   100 บาท -ค่าปากกาเมจิกเพื่อการเขียนที่เห็นได้ชัด 50 บ.x 5 กลุ่ม  =   250 บาท -ค่าไวนิล 500.-บาท รวมเงิน =9,350 บาท

รวมเงินทั้งสิ้น.....32,950...............บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพ ออกกำลังกายและได้รับความรู้ในการดูแลตนเอง
2.ผู้สูงอายุมีความมั่นใจตนเอง กล้าแสดงออก รู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเอง
3.การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
4.ลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ


>