กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประจำปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

ชมรม อสม.บ้านท่าจีน

1. นายทวีบัวชื่น
2. นายมนัส เชื้อพราหมณ์
3.นางวาด ธรรมสะโร
4. นางวิไล สินแก้ว
5. นางรีมาลากุล

ชมรม อสม.บ้านท่าจีน/รพสต.บ้านท่าจีน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยมีความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรค

 

129.00

สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีจำนวนสูงมากขึ้น ซึ่งจัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ นำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าและโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 3-8 เท่า และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลต่ำกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ขณะที่รายที่มีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเพิ่มขึ้น อาทิ ความเสื่อมสภาพของหลอดเลือดสมอง หัวใจ ตา ไต และเท้า เป็นต้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้นนำไปสู่การสิ้นเปลืองด้านทรัพยากร งบประมาณ อุปกรณ์ ตลอดจนเวชภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาและการจัดการกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
การลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว จะต้องควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายสำหรับกลุ่มป่วยดังกล่าว และเข้าถึงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน แต่เนื่องด้วยผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิตและมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเบื่อหน่าย ขาดความใส่ใจในการรักษา ไม่ร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการควบคุมอาการของโรค กระทบต่อผู้ป่วยโดยตรงจากการกำเริบอาการของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าจีนเปิดให้บริการคลินิกโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหอบหืดทุกวันจันทร์มีจำนวนกลุ่มป่วยที่รับยาที่ รพสต. ตั้งแต่ปี 2559 - 2561 จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน 20 คน ความดันโลหิตสูง 161 คนเบาหวานและความดันโลหิตสูง 48 คน ทั้งสิ้น 229 รายพบว่า อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับ HbA1c น้อยกว่า 7 % ร้อยละ 28.21 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์< 140/90 มม.ปรอท ร้อยละ 18.93และจากสถิติผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่วนใหญ่พบป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและหอบหืดเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตในแต่ละปีผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลและตรวจสุขภาพประจำปีตามเกณฑ์มาตรฐาน
จากข้อมูลข้างต้น การหาแนวทางในการป้องกันภาวะแทรกซ้อน และลดความรุนแรงของโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในกลุ่มป่วยดังกล่าว จึงมีความจำเป็นและควรเริ่มต้นจากการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ป่วยเอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าจีน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประจำปี 2562 ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความรู้ และมีความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและเข้าถึงการรับบริการตามสิทธิประโยชน์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรค
  1. กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (อัตราควบคุมโรคได้เพิ่มขึ้น)
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 129
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/04/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 1.1 ประชุมวางแผนปฏิบัติการร่วมกับอสม. เพื่อมอบหมายกลุ่มเป้าหมายในการติดตามกลุ่มป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง 1.2 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง - ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จำนวน 129 คน - ผู้

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 1.1 ประชุมวางแผนปฏิบัติการร่วมกับอสม. เพื่อมอบหมายกลุ่มเป้าหมายในการติดตามกลุ่มป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง 1.2 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง - ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จำนวน 129 คน - ผู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x105 คน =  2,625 บาท
  • ค่าวิทยากร500 บาท x 6 ชม. x 1 คน =  3,000บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x135คน = 8,100 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(เช้า) 25 บาท x138 คนx =  3,450บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(บ่าย ) 25 บาท x135 คนx =  3,375บาท
  • ค่าจ้างจัดทำป้ายไวนิลโครงการ
    ขนาด 1.5 เมตร x 2.5 เมตรx 1แผ่น   =  562 บาท
  • ค่าวิทยากร500 บาท x 6 ชม. x 1 คน =  3,000บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(เช้า) 25 บาท x135 คนx =  3,375บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(บ่าย ) 25 บาท x135 คนx =  3,375บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x135คน = 8,100 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x25 คน = 625 บาท รวม  39,587 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39587.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,587.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนและอัตราการควบคุมโรคได้ดีเพิ่มขึ้น


>