กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ”เฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด-72 เดือน ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่

ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 5 บ้านตาเซะเหนือ ต.สุไหงปาดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 พบปัญหาภาวะทุพโภชนาการในพื้นที่ พ.ศ 2558-2561 คิดเป็นร้อยละ 15-17 %

 

50.00
2 พบปัญหาเด็กกินนมแม่อย่างเดียวไม่ครบ 6 เดือน

 

25.00
3 ตรวจคัดกรองพัฒนาเด็กด้วยเครื่อง DSPM พบเด็กพัฒนาการส่งสัยล่าช้าคิดเป็นร้อยละ 20

 

5.00

เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน พ.ศ ๒๕๕๘–๒๕๖๑ พบว่า เด็ก มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ ๑๗.๕๐ ,๑๘.๔ , ๑๗.๘๔ และ ๑๕.๘๓ ตามลำดับ และพบว่าผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กตามกลุ่มวัย ๙,๑๘,๓๐และ ๔๒ เดือน พศ, ๒๕๕๘ – ๒๕๖๑ พบพัฒนาการสงสัยล่าช้าร้อยละ ๒๑.๔๓ ,๒๑.๒๑,๑๙.๒๒และ ๒๑.๖๙ ตามลำดับ พัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาล และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ จึงได้จัดทำโครงการ”เฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด-๗๒เดือน ปี ๒๕๕๖๒ ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด – 72 เดือน

ร้อยละของเด็กแรกเกิด - 72  เดือนมีส่วนสูงระดับดีและมีรูปร่างสมส่วนไม่น้อยกว่า  70

50.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการ เด็กแรกเกิด - 72 เดือน

ร้อยละพัฒนาการสมวัย > 85

50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2019

กำหนดเสร็จ 31/03/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด - 72 เดือนเรื่องอาหารและโภชนาการ พัฒนาการ การดูแลช่องปาก การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและโรคติดต่อที่ป้องได้ด้วยวัคซีน

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด - 72 เดือนเรื่องอาหารและโภชนาการ พัฒนาการ การดูแลช่องปาก การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและโรคติดต่อที่ป้องได้ด้วยวัคซีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานโภชนาการและพัฒนาการ เพื่อรับทราบโครงการ 2ประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน แม่อาสา อสม. และผู้ปกครอง 3ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 4จัดประชุมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองเด็กแรกเกิด-๗๒ เดือนในเรื่องต่างๆดังต่อไปนี้ 4.1 อาหารและโภชนาการ 4.2 การส่งเสริมพัฒนาการตามวัย 4.3 การสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรค 4.4 การดูแลช่องปาก 5 สาธิตอาหารตามช่วงวัยโดยนักแนะแนวโภชนาการ

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในโครงการฯ จำนวน80 คน จำนวน 2 มื้อ x25 บาทเป็นเงิน4000.-บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน80คน จำนวน 1 มื้อ x 50 บาท เป็นเงิน 4000- บาท. 3 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน1 คน3 ชั่วโมงๆ x600.- บาท เป็นเงิน 1800- บาท
  2. ค่าไวนิล ขนาด 2.4 x1.2m จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน720.-บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,520.- บาท(หนึ่งหมื่นห้าร้อยยี่สิบบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กแรกเกิด - 72เดือนมีส่วนสูงระดับดีและมีรูปร่างสมส่วนไม่น้อยกว่า85

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10520.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ให้เด็กแรกเกิด –72 เดือน มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 70
๒.ให้เด็กแรกเกิด – 72 เดือน มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม คิดเป็นร้อยละ 85
๓..ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 72 เดือน


>