กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชนกลุ่มเสี่ยงจากหมอกควันข้ามพรมแดน ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ ประจำปี 2562

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชนกลุ่มเสี่ยงจากหมอกควันข้ามพรมแดน ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ ประจำปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

งานป้องกันควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะหมอกควันไฟใหม้ป่า(คน)

 

46,000.00

จากเหตุการณ์ไฟไหม้บนเกาะสุมาตราประเทศอินโดนีเซียส่งผลให้กลุ่มหมอกควันดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้านเช่นประเทศสิงคโปร์ประเทศมาเลเซียและทางตอนใต้ของประเทศไทยได้แก่จังหวัดนราธิวาสปัตตานียะลาสงขลาและสตูลสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16สงขลาเตือนฝุ่นควัน PM2.5 ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเนื่องจากผลจากแบบจำลอง ECMWF พยากรณ์ทิศทางลมที่ระดับความสูง 900hpa ระบุว่าในวันที่ 18-20 กันยายน 2562 ทิศทางลมจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ โดยลมดังกล่าวจะพัดผ่านแหล่งกำเนิดฝุ่นควันในหมู่เกาะสุมาตราซึ่งยังคงมีความรุนแรงอยู่เข้าสู่พื้นที่ภาคใต้ตอนล่างอีกครั้งประกอบกับข้อมูลจำนวนจุดเผาไหม้ (hotspot) ในหมู่เกาะสุมาตราในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดการณ์ได้ว่า จากปัจจัยต่างเหล่าๆนี้ อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณความเข้มข้นฝุ่นละอองในบรรยากาศพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะใน จ.สตูล จ.สงขลา และบริเวณโดยรอบ ในช่วงเวลาดังกล่าวมีค่าสูงขึ้นทำให้คุณภาพอากาศในพื้นที่อยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะประชาชนกลุ่มดังต่อไปนี้ได้แก่ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจโรคภูมิแพ้หอบหืดโรคถุงลมโป่งพองโรคหัวใจเด็กเล็กสตรีมีครรภ์และผู้สูงอายุจึงขอให้ประชาชนในพื้นที่ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด งดกิจกรรมกลางแจ้งการทำงานที่ต้องออกแรงมากๆปิดประตูหน้าต่างป้องกันหมอกควันเข้าไปในอาคารดื่มน้ำบ่อยๆสวมหน้ากากอนามัยป้องกันโรคหากมีอาการระคายเคืองตาแสบตาแสบจมูกน้ำมูกไหลตาแดงไอคอแห้งหายใจลำบากอึดอัดแน่นหน้าอกปวดศีรษะคลื่นไส้อาเจียนให้รีบพบแพทย์
จากผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างในวันที่ 22 กันยายน 2562 พบว่า
1. ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 21 - 92 ไมโครกรัมต่อลูกบากก์เมตร ปริมาณฝุ่นละออง PM10 เพิ่มสูงขึ้นกว่าวันก่อนหน้าเกือบทุกสถานี
2. ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 9 - 79 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 เพิ่มสูงขึ้นกว่าวันก่อนหน้าเกือบทุกสถานี
คุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในระดับ คุณภาพอากาศดีมาก ถึง เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่า 92 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐาน PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่า 79 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐาน PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) สรุปว่า ระดับคุณภาพอากาศของตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็กต่อสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์

จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เขตเทศบาลเมืองคอหงส์ที่ได้รับการป้องกันการได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้การปฏิบัติตนที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองจากภาวะหมอกควันข้ามพรมแดน

จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ได้รับการความรู้ในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องจากภาวะหมอกควันจากอาสาสมัครสาธารณสุข

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/09/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจสอบสถานการณ์หมอกควันภาคใต้

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสอบสถานการณ์หมอกควันภาคใต้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสอบถานการณ์หมอกควันภาคใต้ จากเวปไซต์กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบสถานการณ์หมอกควันภาคใต้ โดยเฉพาะพื้นที่เขตเทศบาลเมืองคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่/ทราบค่า PM2.5, ค่า PM10/นำไปสู่การกำหนดมาตรการ/แนวทางในการบรรเทาปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองคอหงส์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งสนับสนุนหน้ากากป้องกันให้กับประชาชน

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งสนับสนุนหน้ากากป้องกันให้กับประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องพร้อมทั้งสนับสนุนหน้ากากป้องกันหมอกควันให้กับประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์
- ค่าใช้จ่าย
1. ค่าหน้ากากอนามมัย จำนวน 120 กล่องๆ ละ100 บาท เป็นเงิน12,000บาท 2. จัดทำสื่อ/แผ่นพับ จำนวน 1000 ชุดๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท 3. ไวนิลให้ความรู้ จำนวน 1 แผ่นๆ ละ 675 บาท
4. ค่าน้ำดื่มสำหรับการออกรณรงค์ของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุข วันละ 30 คน*7 วันๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท รวมเป็นเงิน34,775 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ได้รับการบรรเทาผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพจากหมอกควันไฟป่าอินโดนีเซียร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34775.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,775.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนในพื้นที่ได้รับการบรรเทาผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพจากหมอกควันไฟป่าอินโดนีเซียร้อยละ 100


>