กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ

1.นายเปรมหมวกสังข์หมู่ที่ 3ประธาน
2.นางเตื่อนใจเกลี้ยงทองหมู่ที่ 3
3.นางฉลวยวัตรุจีกฤตหมู่ที่ 3
4.นางสุคนธ์พิทักษ์กิจหมู่ที่ 9
5.นางจ้องสุขทองหมุ่ที่ 8

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณและหมู่ที่ 1/2/3/8และ 9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผุ้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกๆปี ซึ่งแบ่งได้เป็นผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่เป็นภาระพึ่งพิง และอีกส่วนต้องการได้รับการดูแลจากคนในครอบครัว ชุมชน สถานพยาบาล เพื่อรักษาและฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ ซึ่งผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดีช่วยเหลือตัวเองได้ จึงจำเ

 

55.00

ตามที่มีการคาดการว่า ในปี 2568 มีผู็สูงอายุเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นร้อยละ 21.2(ข้อมูลจากสำนักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ซึ่งในจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นทุกปีนี้ จะมีผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่เป็นภาระพึ่งพิงเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลจากคนในครอบครัว ชุมชน และสถานพยาบาล เพื่อรักษาและฟื้นฟูสภาพร่างกาย รวมทั้งประคับประคองช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตให้ดีที่สุด และในการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันสมองเสื่อมของผู้อายุ เพื่อให้สมองได้ทำหน้าที่ต่างๆจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เพราะสมองมนุษย์เป็นระบบที่มีความซับซ้อนและมีพลังมากที่สุด การทำงานของสมองจึงปรากฎให้เห็นในลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะต่างๆ เช่น การทำงาน การใช้ความคิด การเล่นกีฬา การเต้นรำ การร้องเพลง การเล่นดนตรี การแก้ปัญหาต่างๆ การรับรู้ที่ก่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึก ได้ตามความต้องการของเจ้าของสมอง ถ้าหากการทำงานของสมองเป็นปกติสมองก็จะสามารถสั่งการให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ถ้ามีความผิดปกติหรือสมองเสื่อมจะส่งผลทำให้ไม่สามารถกำหนดการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นไปตามที่ต้องการหรือเกิดอาการกระตุกเกร็งขณะขยับเขยื้อนร่างกาย ซึ่งความเสื่อมส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับอายุ แต่อย่างไรก็ตามเซลของสมองสามารถพัฒนาได้เรื่อยๆถ้าสมองทั้ง 8 ส่วนได้มีการทำงานอย่างสมดุล ซึ่งสมอง 8 ส่วนประกอบด้วย สมองด้านการคิด สมองด้านอารมณ์ สมองด้านการสื่อสาร สมองด้านการเคลื่อนไหว สมองด้านความเข้าใจ สมองด้านการได้ยิน สมองด้านการมองเห็น และสมองด้านการจดจำ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการทำงานของสมอง เพื่อป้องกันสมองเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการรองรับโครงสร้างของประชากรผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง จะเปลี่ยนเป็นสภาพเป็นผู้สูงอายุที่ต้อง จะเปลี่ยนสภาพเป็นผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงได้ก่อนเวลาอันควรกิจกรรมของศูนย์ฯเป็นการเน้นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การชะลอความเสื่อมของสมอง เน้นกิจกรรมการกระตุ้นการทำงานของสมอง 8 ส่วน สร้างคุณค่าและการดูแลสุขภาพตนเองแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ ซึงจากการสำรวจความต้องการ การรับบริการด้านการดูแลผู้สูงอายุซึ่งจากการสำรวจความต้องการรับบริการจากศูนญ์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 26 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 86.6 กลุ่มสมาชิกศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการทำงานของสมอง และกิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ทั้งนี้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุและชะลอการเสื่อมของร่างกายก่อนวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผูัสูงอายุในพื้นที่ มีสุขภาพร่างกาย จิตใจแข็งแรง มีสมาธิในการทำกิจกรรม มีความรู้และทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพเกี่ยวกับการทำงานของสมอง

ผู้สูงอายุสุขภาพแข็งแรง คะแนนความสุขและคะแนนการทำงานของสมองเพิ่มขึ้น

0.00
2 ผู้สูงอายุในพื้นที่ รู้สึก อบอุ่นใจที่มีคนมาเยี่ยม รู้สึกมีคุณค่า

การสะท้อนคิดของผู้สูงอายุ ว่ารู้สึกอบอุ่นใจ รู้สึกมีคุณค่าและมีความพึงพอใจในการเยี่ยมบ้าน 3.5 ใน 5 คะแนน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะกาย-จิต

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะกาย-จิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะกาย-จิต - ออกกำลังกายเต้นบาสโลบ โยคะและลงพื้นที่ทุกหมู่ๆละ1ครั้ง -ค่าป้ายโครงการ 1*3 เมตร@150.- -ค่าอาหารว่าง/น้ำดื่ม 20 คน 20 ครั้ง ๆละ10.-/คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4450.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-กิจกรรมบริหารสมอง/การจัดการความเครียด กระบวนการสนทรียสนทนา เน้นฟัง พูด/ภาวะผู้นำและใช้ชีวิตในสังคม -กิจกรรมใช้สื่อเทคโนโลยีและการสื่อสาร ค่าวัสดุ 20คน@90.- -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20คน@25.- /ครั้ง จำนวน 4 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุในพื้นที่มีสุขภาพร่างกาย จิตใจแข็งแรง มีสมาธิในการทำกิจกรรม มีความรุ้และทักษะในการสร้างเสิรมสุขภาพเกี่ยวกับการทำงานของสมอง
2.ผุ้สูงอายุรู้สึกอบอุ่น มีคุณค่า มีความสุข
3.สามารถพัฒนาการทำงานของสมอง ไม่เสื่อมและการรวมกลุ่มกันของผุ้สุงอายุทำให้ไม่เหงา ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว มีการรับฟังความคิดเห็นของผุ้อื่น
4.สามารถสต้างแกนนำส่งเสริมสุขภาพการทำงานของสมองในชุมชนได้


>