กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โต๊ะเด็ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และแกนนำชุมชน ตำบลโต๊ะเด็ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โต๊ะเด็ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็ง

ในเขตรับผิดชอบตำบลโต๊ะเด็ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนมาอย่างยาวนาน เห็นได้ชัดจากนโยบายแผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 4 ที่กล่าวไว้ว่า “ทำให้ประชาชนทุกคนทุกครอบครัวทุกชุมชนมีสุขภาพที่ดี ซึ่งกลยุทธ์เพื่อสู่เป้าหมายที่วางไว้นั้น คือ จะให้ความสำคัญกับการพัฒนา “คน” เป็นทั้ง “เป้าหมาย” และ “อุปกรณ์” ในการพัฒนาที่สำคัญที่สุด” ในการพัฒนาคนของกระทรวงสาธารณสุขนั้น นอกจากจะให้ความสำคัญกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขแล้วยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของกำลังคนที่เป็นประชาชนทั่วไปในชุมชนหรือพลังของ “ภาคประชาชน” ว่าจะเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการที่จะทำให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดีได้ตามเป้าหมายที่กำหนด เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองและเพื่อนบ้านในรูปแบบอาสาสมัคร จากพื้นฐานแนวคิดดังกล่าวจึงได้มีการพัฒนาจัดตั้ง “อาสาสมัครสาธารณสุข” หรือที่เรียกขานทั่วไปว่า “อสม” ขึ้นในหมู่บ้านและชุมชน เพื่อแปรนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผล โดยทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ ส่งเสริมกิจกรรมและการบริการด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานของชุมชน ตลอดจนทำหน้าที่ในการประสานและดำเนินงานเคียงคู่กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ตำบลโต๊ะเด็งโต๊ะเด็ง มีจำนวนอสม.ทั้งสิ้น ๕๙คนเพื่อให้การดำเนินงานของ อสม.บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้จึงจำเป็นจะต้องมีการอบรมฟื้นฟูความรู้ให้ความรู้สำหรับ อสม.และแกนนำชุมชน เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและรู้บทบาทหน้าที่ของ อสม. มากขึ้น ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็งจึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)และแกนนำชุมชน ตำบลโต๊ะเด็ง” ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้ อสม.และแกนนำชุมชนมีความรู้ ในการดูแลพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพเพื่อนำไปสู่หมู่บ้านจัดการสุขภาพได้

 

100.00
2 ๒.เพื่อให้ อสม.และแกนนำชุมชนมีศักยภาพสามารถคัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยงป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้

 

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำชุมชน 100

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/02/2019

กำหนดเสร็จ 28/06/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมฟื้นฟูความรู้ให้ความรู้สำหรับ อสม.และแกนนำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมฟื้นฟูความรู้ให้ความรู้สำหรับ อสม.และแกนนำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ ๕๐ บาท จำนวน ๑๐๐ คน x ๓ ครั้ง  เป็นเงิน    ๑๕,๐๐๐   บาท
  2. ค่าอาหารว่าง วันละ ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท  จำนวน ๑๐๐ คน x ๓ ครั้ง  เป็นเงิน    ๑๕,๐๐๐   บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.เพื่อให้ อสม.และแกนนำชุมชนมีความรู้ ในการดูแลพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพเพื่อนำไปสู่หมู่บ้านจัดการสุขภาพได้ ๒.เพื่อให้ อสม.และแกนนำชุมชนมีศักยภาพสามารถคัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยงป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.สามารถคัดกรอง โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในประชาชน อายุ ๓๕ ปีขึ้นไปร้อยละ ๙๐
๒.อัตราการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในประชากรกลุ่มเสี่ยงลดลง
๓.อัตราภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคเรื้อรังลดลง


>