กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีไทยห่างไกลมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ

ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากรายงานทางระบาดวิทยาของมะเร็งในประเทศไทย ฉบับล่าสุดปี พ.ศ. 2553 ซึ่งรวบรวมข้อมูลในระหว่างปี พ.ศ. 2544-2546 พบว่า อัตราอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกที่ปรับตามโครงสร้างมาตรฐานอายุ หรือ Age-Standardized incidence Rate (ASR) คิดเป็น 18.1 ราย ต่อประชากร 100,000 ราย จัดเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับสองในสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านม (ASR 20.9 ราย ต่อประชากร 100,000 ราย)
จากข้อมูลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในปีพ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๖๑ กลุ่มเป้าหมายจำนวน ๓,๔๙๒คนพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้ว ๔ คน เป็นมะเร็งเต้านมแล้ว 39 คน ในกลุ่มดังกล่าวพบว่าภายในระยะเวลา ๕ปี ยังไม่เคยได้รับการตรวจคัดกรองมะร็งปากมดลูกเลยจำนวน ๖๔๗ คนมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่ผลการรักษาดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวินิจฉัยได้ในระยะเริ่มแรกเช่นกัน การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง มีความหมายในการค้นหาโรคในระยะแรกก่อนที่จะมีการแพร่กระจายลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่นๆ (ศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลสงขลานครินทร์, ๒๕๕๔) กระทรวงสาธารณสุ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีนโยบายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรี อายุระหว่าง ๓๐-๗๐ ปี เพื่อค้นหาเซลล์มะเร็งในระยะเริ่มแรก เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี และหายขาด สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข จึงเน้นการจัดบริการให้สตรีทุกกลุ่มพื้นที่ ได้เข้ารับบริการครอบคลุมมากที่สุด
ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ งานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) ในสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี และคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี ในเขตศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำขึ้น เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เพื่อลดสภาวการณ์ความรุนแรงของโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมลง รวมทั้งส่งเสริมให้สตรีทุกคนได้มีความรู้มีความตระหนัก สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง และแนะนำผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม และทันเวลา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ได้รับการตรวจ มะเร็งปากมดลูก

สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก อย่างน้อยร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐ - ๗๐ ปี ได้รับการตรวจเต้านม

สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐ - ๗๐ ปี ได้รับการตรวจเต้านม  อย่างน้อยร้อยละ  ๘๐

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา

กลุ่มที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาร้อยละ ๑๐๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตรียมงานก่อนดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
เตรียมงานก่อนดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1เตรียมงานก่อนดำเนินการ

1.ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่ อสม.แกนนำชุมชนและเจ้าหน้าที่ประจำชุมชน

2.จัดทำแผนการออกคัดกรอง

3.จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายเตรียมเอกสารแผ่นพับความรู้การส่งเสริมสุขภาพ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์

4.ประชาสัมพันธ์แผนงานโครงการ


งบประมาณ

1.ค่าถ่ายเอกสารหนังสือเชิญ 200 ใบๆ ละ0.4บาท เป็นเงิน80บาท

2.ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับความรู้เรื่องโรคจำนวน 100 ใบ (ใบละ 0.8 บาท) เป็นเงิน 80บาท

3.ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน 1ป้าย เป็นเงิน900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดเตรียมเอกสารและประชุมชี้แจงการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1060.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองและให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองและให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2ตรวจคัดกรองและให้ความรู้

1.กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรค สอนการตรวจเต้านมด้วย ตนเอง


งบประมาณ

1.ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงละ600บาทจำนวน 4 ชั่วโมง เป็นเงิน2,400บาท

2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าประชุมจำนวน1มื้อๆละ25บาท จำนวน 100 คน เป็นเงิน 2,500บาท

3.กางเกงตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 80ตัวๆละ250 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการอบรมให้ความรู้ และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24900.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ ๓ สรุปผลงาน
1.สรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,160.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพพร้อมทั้งรับรู้สถานะสุขภาพของตนเอง
2. ประชาชนเห็นความสำคัญของการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและสามารถดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลใกล้เคียงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
3. ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น กลุ่มผิดปกติได้รับการดูแล และรักษาตามมาตรฐาน


>