กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาตูม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาตูม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาตูม

1.นางสาวสารีผะมะเกะ
2.นางเจ๊ะมัยซันเต๊ะ
3.นายอับดุลเลาะดาแม
4.นางนิฮัสนะห์ฮิเล
5.นางซากีมะห์. ตอแก

ตำบลเขาตูม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์(คน)

 

150.00
2 จำนวนหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง(คน)

 

150.00
3 หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด

 

60.00

ในปัจจุบัน พบปัญหาอัตราการเกิดและการมีชีวิตอยู่รอดของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ระดับประเทศตั้งเป้าหมาย ไม่เกินร้อยละ 5 แต่พบว่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนอยู่ที่ ร้อยละ 15 พบว่ามีค่าที่เกิดอยู่ 3 เท่า ขณะที่องค์การอนามัยโลกกำหนดอยู่ที่ร้อยละ 2.5 นับเป็นจุดตั้งต้นที่สำคัญของการทำงานด้านสาธารณสุข ดังนั้นงานอนามัยของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ จึงเป็นตัวบ่งชี้สภาวะสุขภาพที่มักถูกหยิบยกขึ้นเป็นตัวสะท้อนการพัฒนาด้านสุขภาพของประเทศอยู่เสมอ เพราะส่วนหนึ่ง การเสียชีวิตของแม่ที่คลอดบุตรเป็นตัวบ่งบอกความเป็นอยู่ของแม่และเด็ก ของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และการเข้าถึงบริการด้าน สุขภาพ รวมถึงความเพียงพอของสถานบริการด้านสุขภาพด้วย สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กในเขตพื้นที่ภาคใต้ปี 2559 โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีความน่าเป็นห่วง เข้าขั้นวิกฤตอยู่มาก เหตุเพราะอัตราส่วนการตายของมารดายังเป็นปัญหาสาธารณสุขในระดับพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง โดยพบสูงสุด ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส คิดเป็นร้อยละ 82.81, 67.43 และ 63.93 ต่อแสนคนในการเกิดมี ชีวิต ตามลำดับ (เกณฑ์มาตรฐาน ไม่ควรเกิน ร้อยละ 5 ต่อแสนคนในการเกิดมีชีวิต) นอกจากนี้ ยังพบว่า มารดาขาดสารอาหาร และมีภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์ โดยในปี 2556 ภาพรวมของประเทศ พบว่า มารดาที่มีภาวะโลหิตจางในขณะตั้งครรภ์ คิดเป็นร้อยละ 17.1 โดยพบสูงสุดที่จังหวัดปัตตานี ร้อยละ 98.4 รองลงมาได้แก่ นราธิวาส 17.2 และยะลา 16.1 ตามลำดับ (เป้าหมายที่กำหนด ไม่ควรเกินร้อยละ 10) ส่งผลต่อทารกแรกคลอด อาจทำให้เกิดการ คลอดก่อนกำหนดและคลอดมาแล้วน้ำหนักน้อย ส่วนสถานการณ์ทารกแรกคลอดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ยังมีทารกจำนวนมากที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า เกณฑ์ปกติอย่างมาก (เกณฑ์น้ำหนักแรกคลอดต้องไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม) ซึ่งภาพรวมของประเทศ ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม อยู่ที่ร้อยละ 7.8 โดยอัตราสูงสุดอยู่ที่จังหวัดยะลา ร้อยละ 9.5 รองลงมาได้แก่ นราธิวาส 7.4 และปัตตานี 6.7 ทั้งนี้ สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ในบริบทของสูติศาสตร์สมัยใหม่ และมีเพียงน้อยรายที่เกิดจากเหตุ สุดวิสัย จากสถานการณ์สถิติที่น่าเป็นห่วง สะท้อนถึงปัญหางานอนามัยแม่และเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ควรได้รับการ แก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ถึงแม้ว่าตำบลเขาตูมยังไม่พบอัตราการตายของมารดาและทารก แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลถึงความปลอดภัยของอนามัยแม่และได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์

พบภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ไม่เกินร้อยละ 20

120.00

เพื่อลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์โดยไม่เกินร้อยละ 20

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 150
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สามีของหญิงตั้งครรภ์ 150

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการและให้ความรู้อสม.

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการและให้ความรู้อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการและให้ความรู้ อสม.เกี่ยวกับการให้คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ -ค่าอาหาร และอาหารว่าง จำนวน 100 บาท x 143 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทะเบียนรายชื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการและอสม.ตำบลเขาตูมเข้าร่วมการประชุม 2.รายงานการประชุม 3.บทบาทหน้าที่ของผู้เข้าร่วมประชุม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14300.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์โครงการโดยการติดป้ายไวนิล 3 จุด เพื่อให้เกิดการกระตุ้นฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ -ไวนิลเรื่องฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าท้อง รับของที่ระลึกฟรี ขนาด 2 x 3 เมตร x 3 ผื่นx 180 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงการประชาสัมพันธ์โครงการผ่านป้ายไวนิล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3240.00

กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามี ไตรมาศที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามี ไตรมาศที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามีในระยะตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 1 -ค่าอาหาร และอาหารว่าง จำนวน 75 บาท x 50 คน x 6 รุ่น เป็นเงิน 22,500 บาท -ค่าวิทยากร 600 บาท x 1คน x 3 ชม. x 6 ครั้ง เป็นเงิน 10,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทะเบียนรายชื่อกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 2.ข้อมูลสรุปจำนวนผู้ที่มีความรู้ถูกต้องหลังดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ 3.ข้อมูลสรุประดับความพึงพอใจหลังดำเนินกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33300.00

กิจกรรมที่ 4 ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามี ไตรมาศที่ 3

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามี ไตรมาศที่ 3
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามีในระยะตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 1 -ค่าอาหาร และอาหารว่าง จำนวน 75 บาท x 50 คน x 6 รุ่น เป็นเงิน 22,500 บาท -ค่าวิทยากร 600 บาท x 3 ชม. x 6 ครั้ง เป็นเงิน 10,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทะเบียนรายชื่อกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 2.ข้อมูลสรุปจำนวนผู้ที่มีความรู้ถูกต้องหลังดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ 3.ข้อมูลสรุประดับความพึงพอใจหลังดำเนินกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33300.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด เพื่อตรวจความเข้มข้นเลือดโดยตรวจจากเจาะปลายนิ้วที่ รพ.สต. เดือนละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทะเบียนรายชื่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดแยก ไตรมาศ 1 และ 3 2.ทะเบี่ยนติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดแยกไตรมาศ 1 และ 3

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปและประเมินโครงการ ฯ

ชื่อกิจกรรม
สรุปและประเมินโครงการ ฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปและประเมินโครงการ ฯ 1.ประเมินตามตัวชี้วัดของโครงการ ฯ ที่ตั้งไว้ 2.วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคของที่ขัดขวางความสำเร็จของโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดหลังดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 84,140.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์มีความเข้าในในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์
2.หญิงตั้งครรภ์ตระหนักถึงความสำคัญของการกินยาเสริมธาตุเหล็ก
3.หญิงตั้งครรภ์รู้สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้อง
4.หญิงตั้งครรภ์ตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์


>