กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ่อทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ่อทอง

ศาลาอเนกประสงค์เทศบาลตำบลบ่อทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบบการจัดการด้านสุขภาพ หมายถึง การที่ชุมชนมีกระบวนการร่วมกันคิด วิเคราะห์ถึงสภาพความเป็นอยู่และร่วมกันสร้างกิจกรรมการดำเนินงานด้านสุขภาพ ของหมู่บ้านที่จะมีระบบการจัดการสุขภาพที่สมบูรณ์และดำเนินไปสู่ความสำเร็จได้ นั้นมีหลายๆ ปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง การจะทำให้ประชาชนมีจิตสำนึกและแสดงบทบาทในการดูแลตนเองและพัฒนาสุขภาพของคน ในครอบครัวและชุมชนได้นั้น สามารถทำได้ด้วยการสร้างกระบวนการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และ เสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม ภายใต้การตัดสินใจและความต้องการของประชาชนและชุมชนตามศักยภาพของท้องถิ่น โดยประชาชนและชุมชนมีอำนาจเต็มที่ คนในชุมชนรวมตัวกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมใจกันบริหารจัดการคน ทุนและความรู้ของชุมชน เพื่อให้เกิดโครงการของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชนในชุมชน ที่เน้นการพัฒนาคนในชุมชนให้เข้าใจปัญหาของตนและชุมชน คิดเป็น มีทักษะวางแผนในการแก้ปัญหาเองได้ มีอิสระในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ปัญหาชุมชนร่วมกัน โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เชื่อมประสานและกระตุ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และภาคีเครือข่ายสนับสนุนทรัพยากร เพื่อสื่อสารให้ประชาชนผู้สนใจหันมามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของชุมชน ด้วยการเป็นแกนนำประจำครอบครัว ผู้รับผิดชอบดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนตลอดจนสภาวะแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพดี ทั้งนี้ไม่เพียงแต่ใช้เทคนิคและกระบวนการสร้างความครอบคลุมประชากรจำนวนมาก ด้วยยุทธศาสตร์ใช้ระบบผู้นำการ เปลี่ยนแปลง(อสม. หรือเครือข่ายสร้างสุขภาพ )โดยที่ทุกส่วนก็ต้องร่วมมือร่วมใจที่จะสร้างชุมชมให้แข็งแรง ภายใต้ระบบการจัดการที่ดีเหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเอง
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นตัวแทนของคนในคุ้มของหมู่บ้าน โดย 1 คนรับผิดชอบ1 – 15 ครัวเรือน ซึ่งจะต้องมีความรู้ความเข้าใจรวมถึงมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนในชุมชนได้ ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะการจัดการระบบสุขภาพในหมู่บ้านซึ่งเป็นกลวิธีหนึ่งที่จะทำให้ชุมชนได้เรียนรู้สุขภาพของคนในชุมชน เริ่มต้นจากการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยการปรับทัศนคติและบทบาท สร้างจิตสำนึก ศรัทธา ความรัก ความสามัคคี เสริมสร้างและพัฒนาผู้นำให้มีศักยภาพ ในการส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนสามารถจัดการสุขภาพด้วยตนเอง อย่างเป็นที่ยอมรับของสังคม ด้วยการสร้างความเป็นผู้นำที่มีผลงานสูงสร้างมาตรฐานแนวปฏิบัติและ ให้ความสำคัญต่อกระบวนการเสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็งของโครงสร้างชุมชนที่เอื้อต่อการจัดการระบบ สุขภาพภาคประชาชน ผ่านตามกระบวนการการเรียนรู้ต่างๆอย่างเป็นระบบตามโครงสร้างของชุมชน ทำให้เกิดเวทีประชาคมสุขภาพของชุมชน และศูนย์การเรียนรู้ สังเคราะห์บทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสุขภาพชุมชน จากประสบการณ์จริง สร้างกิจกรรมให้เกิดความเคยชินส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่ถูกต้องเกิดการดูแลสุขภาพโดยชุมชนเพื่อชุมชนของตนเอง กลุ่มผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีเข้าใจในความสำคัญ ในบทบาทหน้าที่และความรับผิด ชอบของตน มีบทบาทในการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของคนในครัวเรือน รวมทั้งเป็นต้นแบบการดูแลสุขภาพของครอบครัว ประสานระหว่างบุคคลในครอบครัวกับชุมชน ในการร่วมกิจกรรมของชุมชน และปฏิบัติต่อสภาวะแวดล้อมอย่างเหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ อสม. มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน
2 เพื่อให้ อสม.ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานด้านการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดในชุมชน
3 เพื่อให้ อสม. สร้างกระแสการดูแลสุขภาพ รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค เปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมจัดอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมจัดอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 125 คน ๆ ละ 70บาท/มื้อ x 5 วัน เป็นเงิน 43,750 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 125 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ x 5 วัน เป็นเงิน31,250 บาท
  • ค่าพาหนะสำหรับ อสม. จำนวน 120 คน ๆ ละ 50 บาท x 5 วัน เป็นเงิน 30,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท x 5 วันเป็นเงิน 30,000 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 2 เมตร x 2 เมตร เป็นเงิน1,000 บาท
  • ค่าวัสดุในการอบรม (แฟ้มใส่เอกสาร สมุด ปากกาจำนวน 120 ชุด x 25 บาท)เป็นเงิน3,000 บาท
  • ค่าวัสดุประกอบการอบรม เป็นเงิน 11,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
150000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 150,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>