กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองทรายขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชาชนปลอดภัย ลดใช้สารเคมีปราบศตรูพืช ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองทรายขาว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ

1. นายธีรพจน์พงศ์ดารา
2. นางสารภีหรนจันทร์
3. นางฐิติยา รักษาแก้ว
4. นางสุพัตราคะโมระวงค์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช (Pesticides) เข้ามามีบทบาท และใช้ในด้านการเกษตรอย่างกว้างขวางและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าสารเคมีดังกล่าวจะมีหลักฐานและข้อมูลทางวิชาการแสดงถึงความเป็นพิษต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน และทุกคนมีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับสัมผัสได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีโดยตรง หรือกลุ่มผู้บริโภคพืชผักที่มีสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในพืชผักจำนวนมาก การแก้ไขปัญหาและการควบคุมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อคุ้มครองสุขภาพทั้งเกษตรกร และผู้บริโภคเป็นบทบาทที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการลดปริมาณการใช้ และการเฝ้าระวังการได้รับพิษจากสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เป็นสิ่งสำคัญที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำข้อมูลไปให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไป สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ส่วนใหญ่มีผลต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งจากข้อมูลปริมาณการนำเข้าและการตรวจพบสารตกค้างในพืชผักดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพทั้งเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภค ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับสัมผัสสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีแนวโน้มความเสี่ยงรุนแรงมากขึ้น ในแต่ละปีมีการรายงานผู้ป่วยและเสียชีวิตจากการได้รับพิษจากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทั้งที่เกิดจากความตั้งใจ และไม่ตั้งใจ อย่างต่อเนื่องทุกๆปี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ ๘๐ ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนาทำไร่ ทำสวนผลไม้และสวนยางพาราผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่และจากการตรวจเลือดเกษตรกรปี ๒๕๖๑มีจำนวนผู้เข้ารับการตรวจ จำนวน๓๑ คนพบว่ามีผลการตรวจ ไม่ปลอดภัย จำนวน ๖ คนมีความเสี่ยง จำนวน ๑๓ คนปลอดภัย จำนวน ๑๑ คน และปกติ จำนวน ๑ คน
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพ และการบริโภคสารเคมีจากพืช ผัก ผลไม้ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ ๘๐

1.00
2 เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรและผู้จำหน่าย ผู้บริโภคได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจหาปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด 100%

1.00
3 เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและดีขึ้น

เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 80

1.00
4 เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ

ผู้บริโภคได้บริโภคผัก ผลไม้ปลอดสารพิษคิดเป็นร้อยละ 80

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2019

กำหนดเสร็จ 15/07/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและร้านค้าในชุมชนที่รับผลผลิตไปจำหน่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อมูลเกษตรกร และร้านค้าในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 เขียนโครงการ

ชื่อกิจกรรม
เขียนโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้โครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประสานงาน

ชื่อกิจกรรม
ประสานงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสานกลุ่มเป้าหมายการเข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้เป้าหมายมาเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แจ้งประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เป้าหมายได้รับข่าวสารในการทำกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 อบรมให้ความรู้และตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และตรวจสารเคมีตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ 1
ค่าอาหารกลางวัน 60 บ. X 60 คน = 3,600 บ. ค่าอาหารว่าง 25บ. X 2 มื้อ X 60 คน =  3,000 บ. ค่าชุดทดสอบโคลีเอสเตอเรส จำนวน ๑ ชุด (ได้รับสนับสนุนจาก สสอ.กงหรา) ค่าวิทยากร 300 บ. X 2ชม. X 1 คน = 600 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภคมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ ๘๐ เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจหาปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด 100%

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

กิจกรรมที่ 6 แจ้งผล

ชื่อกิจกรรม
แจ้งผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แจ้งผลการตรวจเป็นรายบุคคลแยกประเภทกลุ่ม และจัดทำทะเบียนตามผลการตรวจ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเกษตรกรได้ทราบผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นำกลุ่มเสี่ยง เข้าร่วมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 8 ตรวจสารเคมี ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสารเคมี ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสารเคมีตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ 2 ค่าอาหารว่าง 25บ. X 1มื้อ X 60 คน =  1,500 บาท ค่าชุดทดสอบโคลีเอสเตอเรส จำนวน ๑ ชุด(ได้รับสนับสนุนจาก สสอ.กงหรา)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจหาปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด 100%

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 9 แจ้งผล

ชื่อกิจกรรม
แจ้งผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แจ้งผลการตรวจเป็นรายบุคคล

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเกษตรกรได้ทราบผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 10 เก็บตัวอย่างผัก ผลไม้ ไปตรวจหายาฆ่าแมลง

ชื่อกิจกรรม
เก็บตัวอย่างผัก ผลไม้ ไปตรวจหายาฆ่าแมลง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงสำรวจร้านค้าในชุมชนที่รับผลผลิตไปจำหน่าย พร้อมเก็บตัวอย่างผัก ผลไม้ ไปตรวจหายาฆ่าแมลง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านค้าได้รับการลงเยี่ยม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 11 แจ้งผล

ชื่อกิจกรรม
แจ้งผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แจ้งผลการตรวจตัวอย่างผัก ผลไม้ แก่ผู้จำหน่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านค้าในชุมชน ทราบผลการตรวจหายาฆ่าแมลงในผัก ผลไม้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 12 สรุปผล

ชื่อกิจกรรม
สรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปและประเมินผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ผลสรุปจากการทำโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มเกษตรกรและผู้จำหน่าย ผู้บริโภคมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง รวมทั้งร้านค้าในชุมชนมีผัก ผลไม้ปลอดสารพิษจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค


>