กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดและคัดแยกขยะก่อนทิ้ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

กลุ่มงานสุขาภิบาล กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพัทลุง

เขตเทศบาลเมืองพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขยะทุกวันนี้คนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้างขยะได้มากถึง 14 ล้านตันต่อปี แต่ความสามารถ ในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง 70 % ของขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ
1. อากาศเสีย เกิดจากการเผามูลฝอยกลางแจ้งทำให้เกิดควันและสารมลพิษทางอากาศ
2. น้ำเสีย เกิดจากการกองมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้นเมื่อฝนตกจะเกิดน้ำเสียซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำทำให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำ
3. แหล่งพาหะนำโรค จากมูลฝอยตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
4. เหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมดทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน
จากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “ภาวะโลกร้อน” (Global warming) ซึ่งเกิดจากการใช้ถุงพลาสติก ยิ่งมีการใช้ถุงพลาสติกมากเท่าไร ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยสู้ชั้นบรรยากาศโลก จากการเผาไหม้ในกิจกรรมการผลิต และเผาทำลายถุงพลาสติกก็จะยิ่งสูงมากขึ้น ตามมาด้วยปัญหามากมายจากมลพิษ เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะ
โลกร้อน
การแก้ปัญหาขยะมูลฝอย
1.ก่อนจะทิ้งขยะ เราจะสามารถลดปริมาณขยะและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้ มีแนวคิดอยู่ 3R คือ
- REUSE การนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่นใช้ถุงผ้าไปช็อปปิ้งแทนถุงก๊อบแก๊บ
- RECYCLE การแยกขยะที่ยังใช้ประโยชน์ได้ให้ง่ายต่อการจัดเก็บและส่งแปรรูป เช่น บรรจุภัณฑ์ พลาสติก แก้ว กระป๋องเครื่องดื่มต่าง ๆ
- REDUCE การลดการบริโภคและหาทางเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ
2. ทิ้งขยะในที่ที่จัดไว้ให้
3. ควรมีการคัดแยกขยะและแยกทิ้งลงในถังรอง
สำนักงานเทศบาลเมืองพัทลุง จึงจัดทำโครงการลดและคัดแยกขยะก่อนทิ้ง โดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้ประชาชนในเทศบาลเมืองพัทลุง มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ วิธีการลดปริมาณขยะ สาธิตการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่การกำจัดขยะอย่างถูกวิธี รวมทั้งขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง และการลดปริมาณขยะจากการที่ประชาชนนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติคัดแยกขยะจากต้นทาง นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนการใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกซึ่งเป็นแนวทางการลดขยะที่ต้นทางและมีการดำเนินการแจกถุงผ้าภายในการดำเนินโครงการ ดังนั้น หากมีการจัดการขยะที่ดีจะส่งผลให้มีสิ่งแวดล้อมดีและเป็นปัจจัยสำคัญทำให้มีสุขภาพดีตามมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมาย 500 คนในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงมีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ

ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงมีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

0.00
2 เพื่อให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมาย 500 คนในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยกและการนำกลับมาใช้ใหม่

ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยกและการนำกลับมาใช้ใหม่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

0.00
3 เพื่อให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมาย 500 คนในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการกำจัดขยะประเภทต่างๆ อย่างถูกวิธี

ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการกำจัดขยะประเภทต่างๆ อย่างถูกวิธี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ สาธิตวิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่และวิธีการกำจัดขยะประเภทต่างๆ อย่างถูกวิธีและรณรงค์การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกแก่ประชาชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ สาธิตวิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่และวิธีการกำจัดขยะประเภทต่างๆ อย่างถูกวิธีและรณรงค์การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกแก่ประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าถุงผ้า 500 ใบ ใบละ 51บาท เป็นเงิน 25,500 บาท 2.ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 500 ชุดชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 12,500 บาท 3.ค่าแผ่นพับประชาสัมพันธ์และสื่อการประเมินผล เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงมีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ
  2. ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่
  3. ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการกำจัดขยะประเภทต่างๆอย่างถูกวิธี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงมีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ
2. ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่
3. ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการกำจัดขยะประเภทต่างๆอย่างถูกวิธี


>