กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ลดเสี่ยงลดโรค หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งแจ้

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ที่ 7ตำบลหารเทา

หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งแจ้ ตำบลหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา การมีสุขภาพที่ดีมิได้หมายถึงเพียงการมีหลักประกันในการเข้าถึงบริการสุขภาพเท่านั้น ประชาชนต้องรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะโรคบางโรค เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง ไขมันในเลือดสูง อ้วน หัวใจและหลอดเลือด สาเหตุเกิดมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง เช่น ขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งสาเหตุดังกล่าวสามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่เหมาะสม ดีกว่าการรอให้เกิดการเจ็บป่วยแล้วรักษา จะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรและงบประมาณในการดูแลรักษาจำนวนมาก การที่คนเรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดี ดังนั้นประชาชนจึงควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ตนเองมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ประชาชนในหมู่ที่ 7 บ้านทุ่งแจ้ เป็นประชาชนกลุ่มหนึ่งที่มีปัญหาสุขภาพดังกล่าว ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ที่ 7ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จึงได้หาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าวเพื่อลดโรคต่างๆในชุมชน ให้หมดไปจากหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการ ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ลดเสี่ยงลดโรค หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งแจ้ เพื่อให้ประชาชนและแกนนำในชุมชนมีความรู้ มีทักษะในการออกกำลังกาย และสร้างแกนนำในการออกกำลังกายในระดับชุมชน เพื่อส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ประชาชนและแกนนำในชุมชนมีความรู้และทักษะใน การออกกำลังกายและเล่นกีฬา
  1. ประชาชนมีความรู้และทักษะในการออกำลังกาย ร้อยละ 80
0.00
2 2 เพื่อสร้างแกนนำในการออกกำลังกายในระดับชุมชน
  1. มีแกนนำในการออกกำลังกาย อย่างน้อย 5 คน
0.00
3 3 เพื่อส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
  1. ประชาชนมีการออกกำลังกายต่อเนื่องสัปดาห์ละ  3 ครั้งละไม่น้อยกว่า 30 นาที
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิก

ชื่อกิจกรรม
1.ออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนวิทยากรนำเต้นแอโรบิก สัปดาห์ละ 3 วัน(จำนวน 60วัน)วันละ 1 ชม.ๆละ 100 บาท เป็นเงิน 6,000บาท
  2. ค่าทำแผนซีดี จำนวน 2 แผ่นๆละ 100 บาท เป็นเงิน 200 บาท
  3. ค่าทำป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท
  4. จัดซื้อชุดเครื่องเสียง จำนวน 1 เป็นเงิน 10,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
๒. ผู้เข้าร่วมโครงการให้ความสนใจในการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
๓. ผู้เข้าร่วมโครงการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
๔. ผู้เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีความสามัคคี
๕. เป็นแบบอย่างการส่งเสริมสุขภาพแก่ชุมชน ในพื้นที่เทศบาลตำบลหารเทา


>