กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลด ละ เลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ประจำปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

องค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา

อบต.ลำพะยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสภาพสังคมเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ประชาชนต้องการความ
สะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่าย ทำให้เกิดพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแผงมากับภาชนะบรรจุอาหาร “โฟม” ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก ราคาถูกและหาซื้อได้ง่าย จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า เมื่อนำกล่องโฟม (Potystyrene) ไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูง หรือที่มีไขมัน หรือน้ำมัน จะมีสารพิษออกมาปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (Corcinogen) ได้แก่สารสไตรีน (Styrene) ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซิน (Benzene)ออกฤทธิ์ทำลาย ไขกระดูก ทำให้โลหิตจาง และสารทาเลท (pnthalate) เป็นสารทำงายระบบสืบพันธุ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และจากการสำรวจปริมาณขยะตั้งแต่ปี 2552 – 2556 ของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 34 บ้านใบ/วัน เป็น 61 ล้านใบ/วัน หรือเพิ่มขึ้นลี่ย 1 ใบ/คน/วัน โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีประชาชนหนาแน่จะพบว่ามีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 450 ปี ซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัดเนื่องจากต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบ และขบวนการกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา จึงมีความจำเป็นที่จะจัดการอันตรายจากโฟมที่ใช้บรรจุอาหาร ในการเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และรณรงค์ ลด ละเลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา ให้ได้ในระดับที่น่าพอใจ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของรัฐ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในการลดความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่มีปลอดภัย จึงไดจัดทำโครงการฯ นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อบรมให้ความรู้แก่ประชาชน จำนวน 50 คน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม.x600 บาท = 3,600 บาท ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คน x 50 บาท = 2,500 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน x 25บาท x2 มื้อ = 2,500 บาท ค่าวัสดุในการจัดอบรม 4,500 บาท ป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 800 บาท รวมเป็นเงิน 13,900 บาท -อบรมให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน จำนวน 50 คน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม.x600 บาท = 3,600 บาท ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คน x 50 บาท = 2,500 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน x 25บาท x2 มื้อ = 2,500 บาท ค่าวัสดุในการจัดอบรม 4,500 บาท ป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 800 บาท รวมเป็นเงิน 13,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 100 คน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพกับการ ลด ละ เลิก ใช้โฟมบรรจุอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27800.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การรณรงค์ และประชาสัมพันธ์ โครงการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ค่าป้ายไวนิล รณรงค์และประชาสัมพันธ์จำนวน 6 ป้าย (ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร) ราคาผืนละ 800 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน x 25บาท = 1,250 บาท ค่าถุงผ้าเพื่อใช้ในการรณรงค์ จำนวน 500 ใบๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 25,000 บาท รวมเป็นเงิน 31,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถลดปริมาณขยะจากโฟมได้ในระดับหนุึ่่ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 58,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ด้านสุขภาพที่ดีเพิ่มขึ้น
2. ผู้เข้าอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพกับการ ลด ละ เลิก ใช้โฟมบรรจุอาหาร
3. สามารถลดปริมาณขยะจากโฟมได้ในระดับหนึ่ง


>