กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี ๒๕๖๒

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม. ม.4)

1.นางอบ พรมมูล ประธานกรรมการ
2.นางพัชรี ทองหวาน กรรมการ
3.ฉัตรชยา ปิ่นจา กรรมการ
4.เพลินพิศรักชน กรรมการ
5.แก้วตายอดแก้ว เลขานุการ

ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ ๔บ้านเจาะกด ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชากรป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ฆ่าตัวตายสำเร็จ ๒ ราย

 

2.00

การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนประชากรเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร ซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอันดับหนึ่งของประเทศไทย เนื่องมาจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให้เกิดพฤติกรรมการสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล (ทานหวาน มัน เค็ม มากเกินไป และทานผัก ผลไม้น้อยไป) การเคลื่อนไหวทางกายน้อย การบริโภคยาสูบ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพรวมถึงภาวะเครียด
จากการสำรวจประชากรกลุ่มอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปในหมู่ที่ ๔ ต.สุไหงปาดี อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาสพบว่า อัตราความชุกของโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็น ร้อยละ ๑๔ โรคเบาหวาน ร้อยละ๗ ประชากรกลุ่มอายุ ๑๕ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคซึมเศร้าร้อยละ ๔๑ ในช่วง ๓ ปีที่ผ่านมา พบผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้า ฆ่าตัวตายสำเร็จ๒ ราย ซึ่งกลุ่มที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคมะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง และไตวายเรื้อรัง จะป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่ากลุ่มที่ไม่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังถึง ร้อยละ 20-25 กลุ่มที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจึงมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้า จึงเป็นกลุ่มที่ได้รับการให้ความสนใจและ จะพบว่าผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังทางกายและโรคซึมเศร้าจะทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยมากกว่ากลุ่มอื่นๆมีการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและค่าใช่จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และสังคมที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ตามมา จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นอสม.หมู่ที่ ๔ รพ.สต.บ้านใหม่ ตำบลสุไหงปาดีอำเภอสุไหงปาดีจังหวัดนราธิวาส ได้เล็งเห็นปัญหาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงได้ร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ กลุ่มองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ในการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเข้าใจถึงการเผชิญกับโรคที่เป็นอยู่และดูแลตนเองได้

ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเข้าใจเข้าใจถึงการเผชิญกับโรคที่เป็นอยู่และดูแลตนเองได้ ๙๐%

90.00 40.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรู้จักการผ่อนคลายความเครียดด้วยตนเองได้

ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรู้จักวิธีการผ่อนคลายความเครียดได้ด้วยตนเอง ๙๐%

90.00 40.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ๙๐%

90.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2019

กำหนดเสร็จ 30/06/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์แก่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์แก่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์แก่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในเรื่อง โรคเรื้อรัง
1.งบประมาณ๑.ค่าอาหารว่างในโครงการฯจำนวน 2 มื้อX 25 บาทx จำนวน60คน เป็นเงิน 3,000 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อ ๆละ 50 บาทจำนวน 60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2คนๆละ2ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน2,400 บาท 4.ค่าจัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ ในการจัดโครงการ ชุดละ 40 บาท จำนวน 60 ชุด เป็นเงิน2,400 บาท 5.ค่าไวนิล ขนาด 1 X 2 เมตร เป็นเงิน720 บาท รวมเป็นเงิน 11,520 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจและสามารถเผชิญกับโรคที่เป็นอยู่และดูแลตนเองได้ ๒.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11520.00

กิจกรรมที่ 2 การออกกำลังกายคลายเครียด

ชื่อกิจกรรม
การออกกำลังกายคลายเครียด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-การออกกำลังกาย (การบริหารร่างกาย)คลายเครียด - การนวดคลายเครียด

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรู้จักวิธีการผ่อนคลายความเครียดได้ด้วยตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจและสามารถเผชิญกับโรคที่เป็นอยู่และดูแลตนเองได้
๒.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า
๓.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรู้จักวิธีการผ่อนคลายความเครียดได้ด้วยตนเอง


>