กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอสม.รวมใจพิชิตภัยความดันโลหิตสูง ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 4 บ้านทอนไม้ไผ่

1.นายสมเกียรติ เรืองมณี
2.นางอารมภ์กลิ่นเขียว
3.นางนิภาวัลย์ แก้วประทุมวัน
4.นางสุพิญชญา ใจห้าว
5.นางทัศนีย์เรืองกูล

ตำบลคลองหลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และอันดับหนึ่งในประเทศไทย ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางสังคม เช่น การขยายตัวของสังคมเมือง กลยุทธ์ทางการตลาด ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิต ทั้งนี้ มาตรฐาน หลักเกณฑ์ และรูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อที่ดำเนินงานอยู่ยังไม่เพียงพอต่อการจัดการปัญหาและ ลดผลกระทบที่เกิดจากโรคไม่ติดต่อได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสำคัญให้มีการทบทวนและจัดทำแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ.2560-2564) ที่สอดคล้องภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ที่เน้นการพัฒนาศักยภาพชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย เป็น 1 ในกลยุทธ์หลักทั้ง 6 กลยุทธ์
ทั้งนี้ที่ผ่านมาชมรม อสม.ในตำบลคลองหลา ได้ดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหอยโข่งมาโดยตลอดโดยเฉพาะการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงให้แก่ประชากร 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ตำบลคลองหลา สามารถดำเนินการได้ครอบคลุมเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ ปี 2557 เป็นต้นมา ในปีงบประมาณ 2562 นี้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหอยโข่งได้จัดทำแผนปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ ระดับเขต และระดับจังหวัด ซึ่งประเด็นที่มุ่งเน้น 1 ใน 6 ประเด็น คือ การพัฒนาศักยภาพชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย ทั้งนี้กิจกรรมที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมหนึ่งในนั้น คือ การสอนให้มีการวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง หรือ บุคคลใกล้ชิดเป็นระยะเวลา 7 วันต่อคน ในกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และสามารถใช้ผลจากการวัดความดันโลหิตดังกล่าวเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคได้อีกด้วย จึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องวัดความดันโลหิตเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ชมรมอสม.หมู่ที่ 7 บ้านช่างแก้ว ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการอสม.รวมใจพิชิตภัยความดันวย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ออกให้บริการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
ออกให้บริการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1)  ประชุมสมาชิก ชมรม อสม.หมู่ที่ 7 เพื่อกำหนดแนวทาง/โครงการในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหอยโข่ง 2)  ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหอยโข่ง เพื่อขอคำปรึกษาในการจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต และจัดทำคู่มือบันทึกระดับความดันโลหิต และคำแนะนำในการปฏิบัติตัวของกลุ่มเป้าหมาย 3)  กำหนดผู้รับผิดชอบจัดทำทะเบียน และดูแลเครื่องมือ อุปกรณ์ของหมู่บ้านต่อเนื่องจากทะเบียนเดิมในปี 2561 4)  ประสานงานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหอยโข่ง เพื่อจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องการเฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตที่บ้าน (HMBP) การแปลผล และทักษะการสอนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนแก่ อสม. 5)  ออกให้บริการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 6)  ตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้านจำนวน 7 วัน/คน ในกลุ่มเสี่ยงสูงตามรายชื่อจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหอยโข่ง และติดตามวัดความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ รวมทั้งให้คำแนะนำ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11525.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,525.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>