กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

บำบัดกลุ่มเสี่ยงสารเคมีด้วยวิธีการอบสมุนไพร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่นการรักษาโรคด้วยสมุนไพร การออกกำลังกายด้วยกายบริหารฤๅษีดัดตน การนวด อบ และประคบด้วยสมุนไพร การรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติบำบัด การทำสมาธิบำบัด การฝึกโยคะเพื่อสุขภาพ เป็นต้น เมื่อมีการนำองค์ความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้วน่าจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพเองได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาสุขภาพของประชาชน และ ยังตอบสนองยุทธศาสตร์แห่งชาติในการรวมพลังสร้างสุขภาพเพื่อให้คนไทยแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรง ( Healthy Thailand ) การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกำลังได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนทั่วไป โดยได้เปิดให้บริการการแพทย์แผนไทยหลายรูปแบบ ปัจจุบันงานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ได้เปิดให้บริการ นวดรักษาโรค,นวดเพื่อสุขภาพ,ประคบสมุนไพร,อบสมุนไพร, ดูแลแม่หลังคลอด บริการประชาชน ผู้รับบริการส่วนใหญ่จะมีปัญหาระบบกล้ามเนื้อ ข้อต่อต่างๆ แต่ยังมีกลุ่มผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าจะได้รับการดูแลด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยโดยวิธีการอบสมุนไพร คือ กลุ่มผู้ป่วยที่พบอัตราเสี่ยงสารเคมีในเลือด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรง และสูง ในปีงบประมาณ 2561ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตได้มีการเจาะเลือดเกษตรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ร้อยละ ๖๗.๙๖ เจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๑ พบว่า ปกติ ร้อยละ ๗.๑๔ ปลอดภัย ร้อยละ ๑๗.๑๔ เสี่ยง ร้อยละ ๔๕.๗๒ และไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๓๐.๐๐ กรณีพบว่า เสี่ยงและไม่ปลอดภัยในครั้งที่ ๑ เจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๒ พบว่า ปกติ ร้อยละ ๑๓.๓๓ ปลอดภัย ร้อยละ ๒๖.๖๗ เสี่ยง ร้อยละ ๕๓.๓๓ และไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๖.๖๗
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต เห็นว่า เป็นสิ่งสำคัญในการบำบัดผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยให้ผู้ป่วยเลือกใช้บริการรักษาด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย เพื่อเป็นการลดค่ารักษาพยาบาลในหน่วยรับบริการสาธารณสุข นอกจากนี้ยังเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูการใช้ภูมิปัญญาของคนไทย เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

2.1 ผู้เข้าร่วมโรงการได้รับการบำบัดโดยวิธีการอบสมุนไพร ร้อยละ 80
2.2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนให้หันมาสนใจสุขภาพให้มากขึ้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1) กิจกรรมการให้ความรู้ เรื่อง อยู่อย่างไรไห้ปลอดสารเคมี 1.1 จัดอบรมเรื่องอยู่อย่างไรให้ปลอดสารเคมี วิธีการล้างพักผลไม้ให้ปลอดภัย2) บำบัดกลุ่มเสี่ยงโดยวิธีการอบสมุนไพร2.1 บำบัดกลุ่มที่อยู่ในกลุ่มไม่ปลอดภัยหมู่ละ3คน คนละ3ครั้งและติดตามผล

ชื่อกิจกรรม
1) กิจกรรมการให้ความรู้ เรื่อง อยู่อย่างไรไห้ปลอดสารเคมี 1.1 จัดอบรมเรื่องอยู่อย่างไรให้ปลอดสารเคมี วิธีการล้างพักผลไม้ให้ปลอดภัย2) บำบัดกลุ่มเสี่ยงโดยวิธีการอบสมุนไพร2.1 บำบัดกลุ่มที่อยู่ในกลุ่มไม่ปลอดภัยหมู่ละ3คน คนละ3ครั้งและติดตามผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

6.1) กิจกรรมการให้ความรู้ เรื่อง อยู่อย่างไรไห้ปลอดสารเคมี 6.1.1 ค่าจัดทำคู่มือ อยู่อย่างไร ให้ปลอดสารเคมี และอันตรายจากการเสี่ยงสารเคมี แผ่นละ  1 บาท X 100 เล่ม เป็นเงิน  100 บาท 6.1.2 ค่าอาหารว่างผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน  x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท          6.2) บำบัดกลุ่มเสี่ยงโดยวิธีการอบสมุนไพร 
            6.2.1 ชุดยาอบสมุนไพร จำนวน 150  ชุด x 65  บาท  9,750  บาท           6.2.2 ค่าจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 2.5 x 1.5 เมตร
จำนวน 1 ป้าย x 600 บาท เป็นเงิน   600 บาท         6.2.3 ตู้อบสมุนไพร จำนวน 1 ตู้ X 30,000 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
41700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,700.00 บาท

หมายเหตุ :
41700

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้เข้าร่วมโรงการได้รับการบำบัดโดยวิธีการอบสมุนไพร ร้อยละ 80
กลุ่มเสี่ยงสารเคมีที่อยู่ในระดับไม่ปลอดภัย ลดระดับลงอย่างน้อย1 ระดับ


>