กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาแกะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ตำบลต้นแบบ ลูกสุขภาพแข็งแรงด้วยนมแม่ ประจำปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาแกะ

ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลตาแกะ

1. นายอิสมานซีเดะ
2. นายสมพงศ์ทองสังข์
3. นายมะกรีเปาะเยะ
4. นางสาวปาตีเมาะสาเล็ง
5. นายซุลฮิลมีดอเลาะ

โรงเรียนชุมชนบ้านตาแกะ หมู่ที่ 2 ตำบลตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เป็นศูนย์กลางการรวมตัวของประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน มีการบริหารจัดการและดำเนินการในรูปของคณะทำงานที่ประกอบด้วยตัวแทนของ
องค์กร กลุ่มประชาชน และเครือข่ายครอบครัวในชุมชน โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและการส่งเสริมสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐ
นมแม่หลัง 6 เดือนควรให้ลูกกินต่อหรือไม่ ?
เป็นคำถามในใจของแม่ลูกอ่อนที่เลียงลูกด้วยนมแม่ ที่ถามคุณหมอเด็กอยู่บ่อยๆ เพราะเมื่อลูกถึงวัย6เดือน ต้องเริ่มอาหารเสริมแล้ว นมแม่จะยังมีประโยชน์เทียบเท่ากับสารอาหารหรือไม่
และจำเป็นต้องหยุดให้นมแม่หรือไม่อย่างไร Mamaexpert มีคำแนะนำที่ถูกต้องมาฝากตังนี้
นมแม่หลัง 6 เดือนมีคุณค่าลดลงไหม ?
องค์การอนามัยโลก และโรงพยาบาลที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากทุกมุมโลก ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นมแม่หลัง6เดือน ยังจำเป็นต่อทารก ถึงแม่จะได้รับสารอาหารจากอาหารเสริมก็ตาม
และคุณค่าทางสารอาหารในน้ำนมแม่ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด ถึงแม่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลานาน1 ปี 2ปี หรือ3ปี น้ำนมแม่ยังคงคุณค่าอยู่เสมอแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารที่คุณแม่รับประทานด้วย
จากงานวิจัยพบว่า คุณค่าน้ำนมของแม่ในระยะเวลาต่างๆมีสารอาหารสำคัญดังนี้
งานวิจัยนมแม่หลัง 6 เดือนเป็นอย่างไร?
นมแม่หลัง 6 เดือนในงานวิจัยทำในน้ำนมแม่ในช่วงเวลา 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ ให้สารอาหารที่สำคัญในการบำรุงสมองและร่างกายในสัดส่วนดังนี้
นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 43% ของ โปรตีน ที่เด็กต้องการต่อวัน
นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 36% ของ แคลเซียม ที่เด็กต้องการต่อวัน
นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 75% ของ vitamin A ที่เด็กต้องการต่อวัน
นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 76% ของ โฟเลต ที่เด็กต้องการต่อวัน
นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 94% ของ vitamin B12 ที่เด็กต้องการต่อวัน
นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 60% ของ vitamin C ที่เด็กต้องการต่อวัน
นมแม่หลัง 6 เดือน ภูมิต้านทานลดลงจริงหรือไม่?
ภูมิต้านทานจากน้ำนมมีมากที่สุดในน้ำนมเหลือง Colostrum (โคลอสตรุ้ม) ส่วนน้ำนมธรรมดามีภูมิต้านทานเช่นกันและในนมแม่หลัง6เดือนลดลงจริงแต่ไม่ทั้งหมด เพราะมีภูมิต้านทานบางชนิดกลับเพิ่มมากขึ้น
หากให้นมแม่ในระยะเวลานานมากขึ้น
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลตาแกะ ได้ให้ความสำคัญในการรณรงค์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้สุขภาพของลูกเติบโตแข็งแรงจึงได้เสนอโครงการนมแม่ ดีต่อสุขภาพลูกอย่างไร
ประจำปีงบประมาณ 2562 เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตาแกะ ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คุณแม่รู้คุณค่าของน้ำนม

 

65.00 1.00
2 เพื่อให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรง เจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่

 

65.00 1.00
3 เพื่อให้มารดาได้รับรู้ประโยชน์ของนมแม่

 

65.00 1.00
4 เพื่อให้มารดาได้รับรู้การปฏิบัติตนหลังจากคลอดบุตร

 

65.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 65
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2019

กำหนดเสร็จ 31/05/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดฝึกอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดฝึกอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัว 2. ติดต่อประสานงาน สถานที่ ขอตัววิทยากร 3. จัดฝึกอบรมให้ความรู้ 4. สรุปผลการดำเนินโครงการ

กำหนดการ โครงการนมแม่ ดีต่อสุขภาพลูกอย่างไร ประจำปีงบประมาณ 2562 เวลา 08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน/เปิดโครงการ เวลา 09.00 – 12.00 น. คุณค่าน้ำนมแม่ โดย วิทยากรสาธารณสุข เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 13.00 -16.00 น. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
โดย วิทยากรสาธารณสุข เวลา 16.00 – 16.30 น. การซักถามและตอบคำตอบ
เวลา 16.30 น. สิ้นสุดการอบรม

ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตาแกะ เป็นเงิน 11,120 บาท รายละเอียด ดังนี้
1. ค่าจ้างทำป้ายโครงการ ขนาด 1.2*2.4 เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 720 บาท 2. ค่าอาหารว่าง จำนวน 65 คน ๆ ละ 25 บาท 1 วัน ๆ ละ 2 มื้อเป็นเงิน 3,250 บาท 3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 65 คน ๆ ละ 50 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 3,250 บาท 4. ค่าวิทยากรบรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
5. ค่าวัสดุ อุปกรณ์กระดาษปรุ๊ฟ ปากกาเคมี สมุด ปากกา สำหรับกิจกรรมสันทนาการเป็นเงิน300 บาท 5.1 กระดาษปรุ๊ฟ เป็นเงิน 80บาท 5.2 ปากกาเคมี เป็นเงิน 80 บาท 5.3 กระดาษ A 4 จำนวน 1 รีม เป็นเงิน 120 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,120 บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันหนึ่งร้อยยี่สิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้รับการอบรมได้รู้คุณค่าของนมแม่
  2. ผู้รับการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  3. ผู้รับการอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
  4. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11120.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,120.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทำให้หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร รู้คุณค่าของน้ำนมมากขึ้น
2. ให้ความสำคัญกับการให้นมบุตรจากมารดามากยิ่งขึ้น


>