กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลปันแต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพ เป็นมิติหนึ่งทางสุขภาพที่มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุข ในการส่งเสริมสุขภาพจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของมิติสุขภาพ เข้าใจหลักและวิธีปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง การที่ประชาชนจะหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองนั้นจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีความเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับตนเองแล้วเท่านั้น ซึ่งการปฏิบัติตัวแบบนี้เป็นการรักษาตนเองที่ปลายเหตุไม่มีทางที่จะใช้ชีวิตโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆได้ การจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพที่ต้นเหตุของปัญหาต่างหากที่จะสามารถรักษาร่างกายของมนุษย์ให้ดำรงชีวิตอยู่แบบปราศจากโรคภัย สาเหตุที่ทำให้ประชาชนเกิดปัญหาทางสุขภาพมากที่สุด คือการดำรงชีวิตในปัจจุบันที่ไม่รู้จักความเป็นอยู่ที่พอเพียง ทำให้ร่างการเกิดความเครียด วิตกกังวล การบริโภคอาหารที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ รวมไปถึงการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอและปัญหาต่าง ๆที่ตามมาอีกมากมาย การหันกลับมาสนใจการใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ การพึ่งพาธรรมชาติตามแนวคิดทฤษฏีการแพทย์แผนไทยที่มุ่งดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยมองมิติทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความสมดุลให้กับชีวิตมนุษย์ ดังนั้นการเพิ่มพูนความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้แกประชาชนและชุมชนให้สามารถดูแลตัวเองได้จึงนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพห่างไกลโรคที่แท้จริง การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกรวมถึงการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่นการรักษาโรคด้วยสมุนไพร การออกกำลังกายด้วยกายบริหารฤๅษีดัดตน การนวดและประคบด้วยสมุนไพร การรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติบำบัด การทำสมาธิบำบัด การฝึกโยคะเพื่อสุขภาพ เป็นต้น เมื่อมีการนำองค์ความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้วน่าจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพเองได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาสุขภาพของประชาชน และ ยังตอบสนองยุทธศาสตร์แห่งชาติในการรวมพลังสร้างสุขภาพเพื่อให้คนไทยแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรง ( Healthy Thailand )
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพและการนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย มาส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงอายุ ในพื้นที่ได้รับความรู้และฝึกทักษะต่างๆด้านการแพทย์แผนไทย เพื่อนำไปดูแลสุขภาพของตนเองและผู้อื่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

2.1 เพื่อจัดบริการการรักษาด้านการแพทย์แผนไทยเชิงรุกและให้ประชาชนนำมาใช้เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพตนเองมากยิ่งขึ้น
2.3เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายถ่ายทอดความรู้และทักษะที่ได้ให้กับชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1กิจกรรมการให้ความรู้และปฎิบัติ เรื่อง การทำลูกประคบสมุนไพร 2กิจกรรมให้ความรู้และปฎิบัติการทำยาหม่องไพล

ชื่อกิจกรรม
1กิจกรรมการให้ความรู้และปฎิบัติ เรื่อง การทำลูกประคบสมุนไพร 2กิจกรรมให้ความรู้และปฎิบัติการทำยาหม่องไพล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

6.1) กิจกรรมการให้ความรู้และปฎิบัติ เรื่อง การทำลูกประคบสมุนไพร
6.1.1 ค่าถ่ายเอกสารให้ความรู้เรื่องสมุนไพร ไทยและการทำลูกประคบ จำนวน 50แผ่น X1 บาท เป็นเงิน 50 บาท 6.1.2 ค่าอาหารว่างผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คนx 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท 6.1.3 ค่าวัสดุทำลูกประคบสมุนไพรดังนี้ -ไพล แก้ปวดเมื่อย5 กิโลกรัม X 250 บาทเป็นเงิน 1,250บาท - ขมิ้นชันแก้โรคผิวหนัง สมานแผล 5 กิโลกรัม x100 บาทเป็นเงิน 500บาท -ผิวมะกรูดแก้ลม วิงเวียนศีรษะ4 กิโลกรัม x 80 บาท เป็นเงิน 320บาท -ตะไคร้ ชะล้างสิ่งสกปรกบนผิวหนัง 5 มัด x70 บาทเป็นเงิน350 บาท -การบูรแต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ 2 กิโลกรัม x 480 บาท เป็นเงิน 960 บาท -ค่าอุปกรณ์ วัตถุดิบ ผ้าดิบ 5 ผืน x 50 บาท เป็นเงิน /250 บาท -เชือก ผูกลูกประคบ3 ม้วนx 20 บาท เป็นเงิน 60 บาท รวมเป็นเงิน 4,990 บาทถ้วน (สี่พันเก้าร้อยสิบบาทถ้วน) 6.2 กิจกรรมให้ความรู้และปฎิบัติการทำยาหม่องไพล 6.2.1 ค่าจัดทำคู่มือการทำยาหม่องไพล แผ่นละ1 บาท X 50 แผ่น เป็นเงิน50 บาท 6.2.2 ค่าอาหารว่างผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คนx 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน
1,250 บาท 6.2.3 ค่าวัสดุทำยาหม่องไพลดังนี้ -ขวด ขนาด 50 ซีซี X 3 บาท จำนวน 100 ขวด เป็นเงิน300 บาท -วาสลีน จำนวน5กิโลกรัม x 100 บาทเป็นเงิน 500 บาท
- พาราฟินจำนวน5กิโลกรัม x 75 บาทเป็นเงิน 375 บาท -ลาโนลีน5ถุง x 65 บาทเป็นเงิน 325 บาท -น้ำมันระกำ 2 ลิตรX 225 บาท เป็นเงิน 450บาท
- ยูคาลิปตัส1 ปอด์น x 65 บาท เป็นเงิน 65 บาท
- เมนทอล 1กิโลกรัมx 1,400 บาท เป็นเงิน 1,400บาท
- การบูร1กิโลกรัมx 240 บาท เป็นเงิน 240 บาท - น้ำมันไพล 250 CC x 1 บาท เป็นเงิน250บาท

รวมเงิน 5,205 บาท (ห้าพันสองร้อยห้าบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายถ่ายทอดความรู้และทักษะที่ได้ให้กับชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10195.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,195.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มเป้าหมายถ่ายทอดความรู้และทักษะที่ได้ให้กับชุมชน


>