กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนเท่ห์กินผัก คนน่ารักกินผลไม้

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

องค์การบริหารส่วนตำบลปูโยะ

ศพด.วาตอนียะห์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การบริโภคอาหารอย่างพอเพียงและถูกต้องตามหลักโภชนาการ นับเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนัก และดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง เพื่อการมีสุขภาพที่ดี แต่ทุกวันนี้ประเทศไทยกลับมีปัญหาด้านโภชนาการสมวัยเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเด็กไทยในวันนี้น่าห่วง เพราะต้องเผชิญปัญหาอ้วน เตี้ย ผอม ส่งผลโง่ เรียนรู้ช้า ภูมิต้านทานต่ำ เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุมาจากพฤติกรรมโภชนาการไม่ถูกต้อง เด็กที่มีภาวะอ้วน เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น สาเหตุสำคัญส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจากการสำรวจโภชนาการเด็กไทยพบว่า เด็กกินผักเพียงวันละ 1.5 ช้อนโต๊ะ ทั้งที่ควรกินไม่ต่ำกว่าวันละ 12 ช้อนโต๊ะ กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่ม รสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4ส่งผลให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน โรคผอมเกินไป ขาดสารอาหาร และโรคอ้วนหรือภาวะโภชนาการเกินในเด็กมีผลกระทบต่อทั้งพัฒนาการทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ปัจจัยสำคัญของภาวะโภชนาการขาดและเกิน คือ การบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนและมีปริมาณไม่เหมาะสม ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้เด็กวัยเรียนมีแนวโน้มเป็นโรคขาดสารอาหารหรือโรคอ้วนเพิ่มขึ้นทุกปีซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก1 ) เด็กกินไม่เป็น เพราะไม่มีความรู้ด้านโภชนาการ ทำให้กินไม่เพียงพอ กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ใน 1 วัน ชอบกินอาหารฟาสฟู๊ด ที่มีรสหวานจัด มันจัด และเค็มจัดกินผักและผลไม้น้อยกว่าสัดส่วนมาตรฐานที่กำหนด2) การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตการหาอยู่หากินของครอบครัว ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ในเรื่องอาหารการกินของเด็ก อีกทั้งประกอบอาหารเองลดลงโดยเฉพาะสภาพครอบครัวในชนบทซึ่งเป็นครอบครัวฟันหลอ เด็กอาศัยกับปู่ย่าตายาย ในขณะที่พ่อแม่ไปทำงานต่างถิ่น จึงปล่อยให้เด็กเลือกกินอาหารเองตามสื่อโฆษณาชวนเชื่อ เช่น จากร้านสะดวกซื้อ หรือตามตลาดนัด3) ผักและผลไม้บางชนิดมีราคาแพง ประกอบกับครอบครัวมีรายได้น้อย จึงไม่สามารถหาซื้อมาให้ลูกหลานกินเป็นประจำได้อีกทั้งผักผลไม้ตามท้องตลาดไม่ปลอดภัยจากสารพิษซึ่งจากการสำรวจในปี 2555 พบผักและผลไม้สดในห้างสรรพสินค้า ตลาดสด และรถเร่ขายของตามหมู่บ้าน โดยเฉลี่ยมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างสูงกว่ามาตรฐาน EU ร้อยละ 404) แหล่งซื้ออาหารสุขภาพในโรงเรียนและชุมชนมีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่ที่พบมีการจำหน่ายสินค้าจำพวกขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมในสหกรณ์และร้านค้า 5)เมนูอาหารกลางวันที่โรงเรียนจัดบริการให้นักเรียนที่โรงเรียนนั้นไม่ถูกหลักโภชนาการ เนื่องจากมีสารอาหารประเภทโปรตีนและผักผลไม้ไม่เพียงพอตามคำแนะนำของกองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข การที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้นั้น ส่วนหนึ่งควรจะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันในระดับครอบครัวก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองถือว่าเป็นผู้ดูแลอบรมเลี้ยงดูเด็ก เป็นผู้ประกอบอาหารหรือจัดการอาหารในบ้าน รวมทั้งภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องซึ่งมีบทบาทสำคัญที่จะสนับสนุน ผลักดันระดับครอบครัวอีกทอดหนึ่ง

ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวาตอนียะห์ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปูโยะ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการที่จะทำให้เด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวาตอนียะห์มีสุขภาพดี แข็งแรงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย จึงได้จัดทำโครงการ “คนเท่ห์กินผัก คนน่ารักกินผลไม้” ประจำปี 2562 นั้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกระตุ้นให้เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กินผักและผลไม้เพิ่มขึ้น

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้อยละ 80 กินผักและผลไม้เพิ่มขึ้น

80.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และทักษะจากการลงมือปฏิบัติจริงให้ผักและผลไม้น่าทาน

ครูและผู้ปกครอง ร้อยละ 80 คิดค้นเมนูผักและผลไม้ใหม่ๆให้น่าทาน

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 123
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปลูกผักและผลไม้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปลูกผักและผลไม้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ฝึกทำแปลงสาธิตเพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับผู้ปกครอง 2.ปลูกผักเพื่อใช้ในการประกอบอาหารสำหรับเด็กใน ศพด. - ค่าจัดซื้อเมล็ดพันธุ์พืช ผลไม้และปุ๋ยพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้กินผักและผลไม้เพิ่มขึ้น เช่น ปลูกผักเพื่อประกอบอาหารเที้ยง ปลูกข้าวโพดเพื่อใช้ทำอาหารว่าง ปลูกกล้วยและแตงโมเพื่อใช้เป็นอาหารว่างมื้อเที้ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพัฒนาเมนูผักและผลไม้ ให้กับแม่บ้านปรุงอาหาร ศพด. และผู้ปกครองเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาเมนูผักและผลไม้ ให้กับแม่บ้านปรุงอาหาร ศพด. และผู้ปกครองเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมเกี่ยวกับโภชนาการอาหาร อาหารที่เสริมสร้างสุขภาพของเด็ก 2.สาธิตเมนูอาหารสำหรับปรุงให้เด็กรับประทาน -ค่าวิทยากร
จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ x 600 บาท = 3,600 บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คน x 25 บาท x 2 มื้อ = 6,000 บ. -ค่าอาหารกลางวัน
จำนวน 120 คน x 50 บาท
= 6,000 บ. -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ
(ไวนิล) จำนวน 1 ผืน x 1,000 บาท = 720 บ. -ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการฝึกอบรม = 4,300 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครูและผู้ปกครอง ได้คิดค้นเมนูผักและผลไม้ใหม่ๆให้น่าทาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20620.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามผลและประเมิน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามผลและประเมิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เก็บปริมาณการกินผักและผลไม้ 2.วัดน้ำหนักเด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ภาวะโภชนาการของเด็กดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,620.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้กินผักและผลไม้เพิ่มขึ้น และเรียนรู้กับเกษตรปลอดสารพิษ
2.ครู ผู้ปกครองและแม่บ้านปรุงอาหาร ศพด. ได้คิดค้นเมนูผักและผลไม้ใหม่ๆให้น่าทาน


>