กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการใส่ใจลูกรัก ป้องกันโรคด้วยวัคซีน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

กลุ่มงานเวชศาสตร์ชุมชนฯ โรงพยาบาลหนองจิก

ตำบลตุยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน)

 

140.00

จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี พบว่า ผลการดำเนินงานในภาพรวมของตำบลตุยง 8 หมู่บ้าน ปีงบประมาณ 2561 พบว่า ผลของความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็กอายุครบ 1 ปี ได้แก่ วัคซีน BCG ร้อยละ 99.20 , HBV1 ร้อยละ99.20 , DTB-HB3OPV3 ร้อยละ 62.40 และ MMR1 74.40 , IPV1 ร้อยละ 20 , เด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีน DTP4 , OPV4 ร้อยละ 61.17และJE161.17 , เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีน JE2 ร้อยละ 61.54 , MMR2 ร้อยละ 61.54และเด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับวัคซีน DTP5 , OPV5 ร้อยละ 57.52 ตามลำดับ (ข้อมูลจาก HDC จากจังหวัดเดือนตุลาคม 2561) จากรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไม่ครบถ้วนตามเกณฑ์ในแต่ละช่วงอายุหรือบางรายไม่ได้รับวัคซีน ทำให้มีโอกาสเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนขึ้น ได้แก่ โรคคอตีบ โรคหัด และโรคไอกรน เป็นต้น จากสถานการณ์โรคหัดในเขต อบต.ตุยง ช่วงระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2561 พบว่า เด็กในกลุ่มต่ำกว่า 12 ปี เกิดป่วยด้วยโรคหัด จำนวน 7 ราย จากการไม่ได้รับวัคซีนหรือบางรายได้รับไม่ครบ ต้องเข้ารับการรักษานอนในโรงพยาบาลระยะเวลา 4-8 วัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หูชั้นกลางอักเสบ และปวดบวม ผู้ปกครองต้องดูแลบุตรอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนต้องป้องกันตนเองเพื่อไม่ให้ได้รับการติดต่อโรคหัดจากลูกโดยการใส่ผ้าปิดจมูกและรับบริการฉีดวัคซีนหัด คางทูม ในฐานะเป็นผู้สัมผัสและคนในครอบครัวทุกคน จากเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล
จากการวิเคราะห์และสอบถามข้อมูลจากผู้ปกครอง พบว่า สาเหตุการได้รับวัคซีนในเด็กไม่ครบตามเกณฑ์หรือไม่ได้รับ มีหลายสาเหตุ ได้แก่ กลัวบุตรจะมีไข้ทำให้ผู้ปกครองต้องหยุดงานและขาดรายได้ , ผู้ปกครองขาดความตระหนักในการพาบุตรมารับบริการวัคซีน ณ สถานบริการสาธารณสุข , ผู้ปกครองไปประกอบอาชีพชายแดนมาเลเซียหรือต่างจังหวัด ทำให้เด็กขาดนัดการได้รับวัคซีนหรือไม่ได้ฉีด เด็กอาศัยอยู่กับญาติผู้ใหญ่ ซึ่งมีความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการได้รับวัคซีนทำให้ไม่พาบุตรหลานมาฉีด จากปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบในระยะยาวต่อกลุ่มเป้าหมายเด็กในชุมชนตำบลตุยง ดังนั้นคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของตำบลตุยงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี และลดอัตราป่วยการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ได้แก่ เพื่อพัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยการติดตามเด็กที่ฉีดวัคซีนไม่ครบหรือไม่ได้รับ รวมทั้งสำรวจเด็กที่เกิดใหม่หรือย้ายเข้าและย้ายออกเพื่อจัดทำฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อความสะดวกในการติดตามและให้ได้วัคซีนครบตามเกณฑ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ในเขต อบต.ตุยง ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

อัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปีครบตามเกณฑ์มาตรฐาน เป้าหมายไม่ต่ำกว่า 90%

60.00 90.00
2 อัตราการเกิดโรคป้องกันได้ด้วยวัคซีนในตำบลตุยงลดน้อยลงจากเดิม

ลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ได้แก่ โรคคอตีบ เป้าหมาย ไม่เกิน 0.015 ต่อประชากรแสนคน และโรคหัดในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ เป้าหมาย ไม่เกิน 3 ต่อประชากรล้านคน

0.00 0.00
3 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบมีการติดตามเด็กส่งโรงพยาบาลหรือให้บริการเชิงรุกพร้อมกับเจ้าหน้าที่ในรายที่ไม่สามารถมารับวัคซีนได้ในพื้นที่

อัตราการติดตามเด็กขาดนัดโดย อสม.ในพื้นที่ครบทุกราย เป้าหมาย 100%

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 140
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบของ อบต.ตุยง เพื่อรับทราบข้อมูลและติดตามเด็กขาดนัดหรือไม่ได้รับวัคซีนในแต่ละไตรมาส จำนวน 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบของ อบต.ตุยง เพื่อรับทราบข้อมูลและติดตามเด็กขาดนัดหรือไม่ได้รับวัคซีนในแต่ละไตรมาส จำนวน 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน
    20 คน x 50 บาท x 3 ครั้ง
    เป็นเงิน  3,000.-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
    20 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 3 ครั้ง
    เป็นเงิน  3,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.รับทราบ และเข้าใจแผนการปฏิบัติงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมผู้ปกครองเด็กในเขต อบต.ตุยง พร้อมกับเจ้าหน้าที่ให้บริการวัคซีนเชิงรุกในรายที่ไม่สามารถมาสถานบริการสาธารณสุขได้ จำนวน 4 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมผู้ปกครองเด็กในเขต อบต.ตุยง พร้อมกับเจ้าหน้าที่ให้บริการวัคซีนเชิงรุกในรายที่ไม่สามารถมาสถานบริการสาธารณสุขได้ จำนวน 4 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน
    35 คน X 50 บาท x 4 ครั้ง
    เป็นเงิน   7,000  บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
    25 บาท x 2 มื้อ x 35 คน x 4 ครั้ง เป็นเงิน  7,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความตระหนัก เข้าใจเรื่องวัคซ๊น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีในชุมชนเขต อบต.ตุยง ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และอัตราการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนน้อยลงจากเดิม
2. ผู้ปกครองมีความตระหนักในการพาบุตรมารับบริการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นและอาสาสมัครสาธารณสุขมีระบบในการติดตามเด็กเป็นรายพื้นที่รับผิดชอบ


>