กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อาซ่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดี ไม่มีโรคความดัน เบาหวานปี2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อาซ่อง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลอาซ่อง

หมู่ที่ 1-6ตำบลอาซ่องอำเภอรามัน จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขต้องสูญเสียงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง และปัญหาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง พบว่าผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงขาดความรู้ในการดูแลตนเอง ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้คงที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องตรวจเลือด ไม่เคยได้รับการตรวจเท้าไม่รู้วิธีการดูแลสุขภาพตนเอง ขาดความตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง มีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่เหมาะสมทั้งเรื่องการรับประทานอาหาร การกินยาการออกกำลังกาย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและเกิดผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นทุกปี กลุ่มผู้ป่วยรายใหม่ในปี 2561 ของโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ตำบลอาซ่อง จำนวน .....14.... รายในจำนวนกลุ่มเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง 167 ราย และและโรคเบาหวานรายใหม่ในปี 2561ในพื้นที่ตำบลอาซ่อง จำนวน...2....รายในจำนวนกลุ่มเสียงของโรคเบาหวาน 130 ราย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้แกนนำ กลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหลอด เลือดและตระหนักถึงอันตราย

 

0.00
2 2.เพื่อให้แกนนำ กลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง นำความรู้มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเอง ตามหลัก 3 อ. 2 ส. การกินยา การตรวจสุขภาพตา ไต เท้า อย่างถูกต้อง

 

0.00
3 3.เพื่อสร้างระบบการดูแลผู้ป่วยความดัน เบาหวานในหน่วยงานแบบครบวงจร ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ (แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักโภชนากร นักสุขศึกษา เป็นต้น)

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูง เบาหวานโรคหลอดเลือด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูง เบาหวานโรคหลอดเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน 3.คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเชิงรุกโดยเจ้าหน้าที่และอสม. 4.ประชาสัมพันธ์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ 5.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุครุภัณฑ์ต่างๆในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน 6.ติดต่อวิทยากร อาหารสำหรับการจัดอบรม 7.จัดอบรมให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูง  เบาหวานโรคหลอดเลือด 8.มีทะเบียนผู้ป่วยรายโรค และแยกระดับผู้ป่วยในการรักษาในเขตรับผิดชอบ ระดับA (70-130)สีเขียว   B (130-180)สีเหลือง  C (181 ขึ้นไป)สีแดง
9.ติดตามเยี่ยมบ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.แกนนำ กลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานร้อยละ 90
2.แกนนำกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ. 2 ส. การรับประทาน
ยา การตรวจ ตา ไต เท้า ถูกต้องเหมาะสมอย่างต่อเนื่องร้อยละ 85
3.มีระบบการดูแลผู้ป่วยความดัน เบาหวาน ในหน่วยงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ


>