กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการห่วงใย ใส่ใจ แก้ไขปัญหาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

รพ.สต.บ้านกวาลอซีรา

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากปัญหาสาธารณสุขไทยได้เปลี่ยนไปตามการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจากสังคมเกษตรสู่สังคมอุตสาหกรรมส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนเช่นการบริโภคเปลี่ยนไปมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบออกกำลังกายน้อยลงและมีความเครียดเพิ่มขึ้นสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นจากสถิติปัญหาสาธารณสุขไทยมีอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้น๕อันดับแรก ของผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาลล้วนเป็นโรคไม่ติดต่อเช่นโรคมะเร็งโรคหัวใจและหลอดเลือดอุบัติเหตุโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายในการถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ โดยส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายมีความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๒ ด้าน คือ พฤติกรรมการออกกำลังกายโดยการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วันๆละ อย่างน้อย ๓๐ นาที และพฤติกรรมการกินผัก ผลไม้สด และลดอาหารมัน ประกอบกับนโยบายหลักประกันสุขภาพ ช่วยคนไทยห่างไกลโรค มีเป้าหมายสำคัญ คือ สร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว
จากข้อมูลผลลัพธ์ในการดูแลด้านสุขภาพของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เบาหวานและความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ ปี 2559 และ 2560 พบอัตราการเพิ่มขั้นทั้งในกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเรื้อรัง เบาหวานและความดันโลหิตสูง และเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอ้างอิงจากผลตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพเชิงรุก ปีงบประมาณ ๒๕๕9 และ ปี 2560 ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุ๓๕ปีขึ้นไป ที่ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน พบกลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวานเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ ๓.๓๖ เป็นร้อยละ 3.99เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 42.11 เป็น ร้อยละ 46.87พบผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้นจาก ๐.๑๕ เป็นร้อยละ 1.12 ส่วนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ0.32 เป็นร้อยละ 3.47ในปี 2559 และ 2560 ตามลำดับ
นอกจากนี้ยังพบข้อมูลจากการดูแลสุขภาพของกลุ่มป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น โดยในปี 2560 มีกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 242 คน รับการรักษาต่อเนื่อง และสามารถติดตามได้ผลการรักษาได้ 201 คน คิดเป็นร้อยละ 83.05 คน และในจำนวนนี้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ 53 คน คิดเป็นร้อยละ 26.36และมีภาวะแทรกซ้อนแล้วจำนวน 159 คน คิดเป็นร้อยละ 65.70 ส่วนกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 614 คน รับการรักษาต่อเนื่องและสามารถติดตามได้433 คน คิดเป็นร้อยละ 70.52 และในจำนวนนี้สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ 205 คน คิดเป็นร้อยละ 47.34 และมีภาวะแทรกซ้อนแล้วจำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 6.35 ซึงเป็นผลอันเนื่องมาจากการความล้มเหลวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูง รวมทั้งจากความเสื่อมของร่างกายและภาวะความเป็นไปของโรค ที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งทางตา หัวใจและหลอดเลือด ทางไต และทางเท้า เพื่อการรักษาและดูแลตนเองของผู้ป่วยให้ทันท่วงที อนึ่ง พฤติกรรมการดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสมก็สามารถส่งผลต่อการดูแลรักษาก็ส่งผลต่อการดำเนินของโรค ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วย สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมครอบครัวชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืนดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีราจึงได้จัดทำ โครงการห่วงใย ใส่ใจ แก้ไขปัญหาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2561 ขึ้น โดยเน้นกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองในกลุ่มเสี่ยงและการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.กลุ่มป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและควบคุมระดับเบาหวานได้

1.ไม่น้อยกว่าร้อยละ  ๕๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 428
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2019

กำหนดเสร็จ 30/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>