กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กในเด็กแรกเกิด – 72 เดือน ปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส และที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 4 หมู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเสด็จฯ แปรพระราชฐาน ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส และเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในชนบทห่างไกลและทุรกันดาร พระองค์ได้ทรงมีพระราชปรารภแสดงถึงความห่วงใยสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยเฉพาะเด็กเล็กที่อยู่ในภาวะของการขาดสารอาหาร จึงมีพระราชดำริให้มีโครงการปรับปรุงภาวะโภชนาการของเด็กแรกเกิด – 72 เดือนตั้งแต่พ.ศ.2531 เป็นต้นมา
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ตอบสนอง และดำเนินงานตามพระราชดำริ และให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งเป็นภาวะที่ทารกและเด็กบริโภคอาหาร และได้รับกำลังงานสารอาหารไม่ถูกต้องทั้งปริมาณ ชนิด และคุณภาพ ซึ่งอาจจะได้รับมากเกินความต้องการจนกลายเป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน หรืออาจได้รับน้อยเกินไปจนเกิดภาวะขาดโภชนาการ ซึ่งอาจรุนแรงจนเกิดภาวะขาดโปรตีนและกำลังงานสารอาหาร
เด็กต้องการอาหารโปรตีนและกำลังงานสารอาหารมากกว่าวัยอื่น เพราะต้องใช้โปรตีน และกำลังงานสารอาหารในการเจริญเติบโต และมีพัฒนาการตามวัย
จากรายงานการเฝ้าระวัง และติดตามภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิด – 72 เดือนโดยการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส ในปีงบประมาณ 2561 เด็กทั้งหมด จำนวน 594 คน ได้รับการเฝ้าระวัง จำนวน 437 คนคิดเป็นร้อยละ 90.40 พบอัตราเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 1.30 และเด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อย จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 6.89 จะเห็นได้ว่าภาวะทุพโภชนาการเด็กแรกเกิด – 72 เดือน ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องดำเนินการแก้ไขต่อไป
จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 72 เดือน ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและหมู่บ้าน ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-72เดือน

อัตราความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-72เดือน ร้อยละ90

0.00
2 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครองให้มีความรู้และมีพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่เหมาะสม

อัตราเด็ก0-72 เดือนมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนมากกว่าร้อยละ54

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ0-72เดือน

อัตราเด็กอายุ0-72เดือนมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มีภาวะโภชนาการดีขึ้นร้อยละ10

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 400
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มผู้ปกครองเด็ก 30
ผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 30
แกนนำชุมชน 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้และติดตามน้ำหนัก/ส่วนสูง พัฒนาการและวัคซีนในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
การให้ความรู้และติดตามน้ำหนัก/ส่วนสูง พัฒนาการและวัคซีนในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.ให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข/แกนนำ/ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด-72เดือนในเรื่องของโภชนาการ พัฒนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและสุขภาพปากและฟัน

2.ติดตามประเมินการเจริญเติบโตของเด็กโดยการ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศรีษะ ทุก3เดือน

3.ตรวจพัฒนาการและส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการในรายที่ล่าช้า

4.ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันให้คำแนะนำที่ถูกต้อง

5.ติดตามการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์มาตรฐาน

7.ติดตามเยี่ยมบ้านเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เด็กพัฒนาการล่าช้าและเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุทุก1เดือน

งบประมาณ - เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล(สำหรับใช้ในหมู่บ้าน)หมู่บ้านละ 1 เครื่อง เครื่องละ 1,100 บาท จำนวน 4 เครื่อง เป็นเงิน 4,400 บาท - นมกล่องสำหรับแจกเด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ กล่องละ 5 บาท จำนวน 400 กล่อง จำนวน 2 ครั้ง(ทุก3เดือน) เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ปกครองเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และสาธิตอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ปกครองเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และสาธิตอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กที่มีบุตรน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์/อาสาสมัครสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็กในชุมชน จำนวน 44 คน

2.ติดตาม/ประเมินหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการทุก1เดือน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 44 คน คน ละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 2200 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 44 คนคนละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาทเป็นเงิน 2200 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คน คน ละ2 ชั่วโมงๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 500บาท
  • ไวนิลให้ความรู้ ขนาด 80x180 ซม. แผ่นละ 350 บาท จำนวน 3 แผ่น เป็นเงิน 1,050 บาท
  • ค่าวัสดุ (สำหรับการสาธิต) เช่น ข้าวสาร, ไข่, แครอท,ข้าวโพด,น้ำมันพืช ฯลฯ เป็นเงิน 3,000 บาท
  • วงล้อพัฒนาการและวัคซีน0-72เดือน จำนวน 1ชิ้นเป็นเงิน 1,490 บาท
  • ค่าอาหารเสริมสำหรับเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (นมกล่องสำหรับเด็กอายุ1ปีขึ้นไป)ขนาด 180 มล.จำนวน 44 คน คนละ 90 กล่อง กล่องละ10 บาท เป็นเงิน 39,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
51640.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,040.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีความครอบคลุมในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ/พัฒนาการและการได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมึคุ้มกันโรคในเด็ก0-72เดือน
2.ผู้ปกครองเห็นความสำคัญในการดูแลบุตรหลาน
3.เด็กอายุ 0-72เดือน มีน้ำหนักดีขึ้นตามเกณฑ์


>