กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมเฝ้าระวังโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

อสม.รพ.สต.บ้านลากอ

อสม.รพ.สต.บ้านลากอ

ห้องประชุม โรงเรียนบ้านลากอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลัการและเหตตุผล
จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ งวดที่ 1 (ตุลาคม 61 – ธันวาคม 61)เด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ ร้อยละ 9.26 มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งเด็กในวัยดังกล่าวกำลังมีการเจริญ เติบโตของสมอง สารอาหารโปรตีนมีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านสมองหากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญาของเด็ก ซึ่งจะเป็นกำลังของประเทศชาติในอนาคต สาเหตุของปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความรู้ด้านโภชนศึกษาของผู้ปกครองเป็นผลให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนและมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ในการดำเนินการที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้มีการติดตามเยี่ยมผู้ปกครอง แต่การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เป็นเรื่องที่ยังมีความจำเป็น
เพื่อเป็นการลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-5 ปีในเขตรับผิดชอบ ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอจึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ 0-5 ปี ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็ก 0- 5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ 2. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย 3. เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี 4. เพื่อให้เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์
  1. ร้อยละ 90 เด็กแรกเกิด – 5 ปี ได้รับการประเมินโภชนาการ และพัฒนาการ
  2. ร้อยละ 85 เด็กแรกเกิด - 5 ปี มีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์
  3. ร้อยละ 90 เด็กแรกเกิด - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
  4. ร้อยละ 100 เด็กแรกเกิด - 5 ปีที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการ  ทีสมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
75.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมเฝ้าระวังโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมเฝ้าระวังโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก 0 -5 ปี ลดลง
  2. ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 0 - 5 ปีจำนวน 4 หมู่บ้าน
  3. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสมุดทะเบียนเด็ก พร้อมแปรผลและแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ
  4. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ
  5. เชิญผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอมเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการในการดูแลน้ำหนักเด็ก
  6. จัดซื้ออาหารเสริมที่มีโปรตีนและพลังงานสูงแก่เด็กขาดสารอาหาร
  7. ติดตามเยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 3 - 6 เดือน และแนะนำผู้ปกครองให้ดำเนินการต่อเนื่อง จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา จำนวน27,300 บาท (สองหมื่นเจ็ดพันสามร้อยบาทถ้วน) รายละเอียด ดังนี้ อบรมเชิงปฎิบัติการแก่ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

- ค่าอาหารเสริมที่มีโปรตีนและพลังงานสูงแก่เด็กขาดสารอาหาร (นม)
จำนวน 50 คนๆละ 300บาทเป็นเงิน15,000บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้รับการอบรม วิทยากรและผู้จัดอบรม ( เจ้าหน้าที่ ) 25 บาท55 คน2 มื้อ เป็นเงิน2,750 บาท - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้รับการอบรม วิทยากรและผู้จัดอบรม( เจ้าหน้าที่ ) 50 บาท *55 คน *1 มื้อเป็นเงิน2,750 บาท - ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน3,000 บาท - ค่าวิทยากร 5 ชม.ๆ 600 บาท เป็นเงิน3,000 บาท - ค่าป้ายไวนิล ชื่อโครงการ จำนวน 1 ผืนๆละ 800 บาท เป็นเงิน 800บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 27,300บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 90 เด็กแรกเกิด – 5 ปี ได้รับการประเมินโภชนาการ และพัฒนาการ
  2. ร้อยละ 85 เด็กแรกเกิด - 5 ปี มีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์
  3. ร้อยละ 90 เด็กแรกเกิด - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
  4. ร้อยละ 100 เด็กแรกเกิด - 5 ปีที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการ   ทีสมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก 0 - 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการครอบคลุม
2. ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก 0 -5 ปี ลดลง
3. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก


>