กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมพลัง สร้างสุขภาพจิต ในชุมชน ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

อสม.รพ.สต.บ้านลากอ

อสม.รพใสต.บ้านลากอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ อำเภอยะหาจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1. ร้อยละ 90 ของอาสาสมัครสาธารณสุข และแกนนำครอบครัวมีความรู้ สามารถ ประเมินและคัดกรองภาวะ สุขภาพจิตระดับต้นได้ 2. ร้อยละ 80 ของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคซึมเศร้า 3. ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการ

 

75.00
2 1. ร้อยละ 90 ของอาสาสมัครสาธารณสุข และแกนนำครอบครัวมีความรู้ สามารถ ประเมินและคัดกรองภาวะ สุขภาพจิตระดับต้นได้ 2. ร้อยละ 80 ของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคซึมเศร้า 3. ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการ

 

75.00

ปัญหาสุขภาพจิตของบุคคลจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิตอาจพบได้บ่อย ในกลุ่ม ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เป็นต้น เนื่องจากข้อจำกัดในการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึ้นกว่าบุคคลทั่วไป จึงทำให้เกิดความเครียดหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป การส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับกลุ่มเสี่ยงเป็นส่วนสำคัญที่จะป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตให้ลดน้อยลงได้ ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิตกลายเป็นอีกปัญหาที่สำคัญของประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างจากเดิม ทำให้บุคคลมีวิถีชีวิตที่ต้องเร่งรีบ แก่งแย่งแข่งขัน ประกอบกับเผชิญกับปัญหาสถานการณ์การความไม่สงบส่งผลต่อการดำรงชีวิต ทำให้บุคคลเกิดความเครียดได้ง่ายและเจ็บป่วยทางจิต สถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช 5 อันดับแรกที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคจิตเวชเนื่องมาจากสารเสพติด และโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ตามลำดับการเจ็บป่วยทางจิตเวชถือว่าเป็นโรคเรื้อรังประเภทหนึ่ง บุคคลที่ป่วยทางจิต จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่องบประมาณของประเทศในการบำบัดรักษาและการดูแลที่ต่อเนื่อง ทั้งนี้เน้นให้ประชาชนได้รับบริการทางสุขภาพ ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกัน การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ อย่างได้มาตรฐาน เสมอภาคและเท่าเทียมกัน
การป้องกันหรือลดโอกาสในการเกิดปัญหาสุขภาพจิตหรือการเจ็บป่วยทางจิตจึงเป็นสิ่งที่ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องต้องตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ รับผิดชอบทั้งหมด 4 หมู่บ้าน จากการการศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิตเวชในชุมชน พบว่ามีผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด จำนวน 13 คน เป็นผู้ป่วยโรคจิตเภท ผู้ป่วยโรคจิตจากสุราและสารเสพติด ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,387
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเสริมพลัง สร้างสุขภาพจิต ในชุมชน ปี 2562

ชื่อกิจกรรม
โครงการเสริมพลัง สร้างสุขภาพจิต ในชุมชน ปี 2562
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 ประชุม เจ้าหน้าที่ ทุกภาคส่วนเครือข่ายประชาชน แกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน สมาชิก อบต. ในพื้นที่ เพื่อชี้แจงโครงการและจัดทำหลักสูตรการอบรม  คัดเลือกแกนนำ และเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน  ประสานงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และติดต่อวิทยากร  จัด กิจกรรมอบรมแกนนำ เครือข่าย อสม. เพื่อสร้างเครือข่ายการช่วยเหลือในระดับหมู่บ้าน กิจกรรมที่ 2กิจกรรมการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิตในชุมชน  เครือข่าย อสม.ออกดำเนินการเฝ้าระวังตามระบบคัดกรอง ภาวะซึมเศร้าใน อายุ 15 ปี ขึ้นไป เพื่อค้นหาภาวะเสี่ยง แล้วแยกกลุ่ม ดี เสี่ยง ป่วย  จัดกิจกรรม กลุ่มเสี่ยง โดยการให้ความรู้เป็นรายกรณีโดยจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในเรื่องการจัดการกับความเครียด  ติดไวนิลประชาสัมพันธ์ที่ มัสยิด ร้านค้าให้ประชาชนรับทราบ วิธีการคลายเครียด การส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน กิจกรรมที่ 3กิจกรรมการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยและญาติในชุมชน  เครือข่ายออกดำเนินการเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วยเพื่อ ติดตามการรักษาและคอยเป็นพี่เลี้ยงในการกินยาตามแผนการรักษาของแพทย์  จัดตั้ง “ชมรมรักษ์ใจ”เพื่อเยี่ยมให้ กำลังใจผู้ป่วยจิตเวชและกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน  ประสานงานพัฒนาชุมชน สนับสนุนการเรียนรู้เรื่องอาชีพเสริมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยและครอบครัว  ร่วมหาแหล่งทุนสนับสนุนเพื่อจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชและครอบครัว ในการดูแลแบบองค์รวม ทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ สังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนความเป็นอยู่ของครอบครัว จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา จำนวน21,000 บาท (สองหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน)รายละเอียดดังนี้

1.ค่าป้ายไวนิลชื่อโครงการจำนวน 1 ผืนๆละ800 บาท เป็นเงิน800บาท 2. ค่าจัดอบรมแกนนำ เครือข่าย อสม. จำนวน100คน วิทยากร+จนท 4 คน -ค่าอาหารกลางวัน104 คน x 50บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 5,200บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 104คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 5,200บาท 3.ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ จำนวน 6 ผืนๆละ 800 บาทเป็นเงิน 4,800 บาท 4 ค่าวัสดุในการจัดอบรม เป็นเงิน2,000บาท
5. ค่าตอบแทนวิทยากร5 ชม.x 600 บาทเป็นเงิน3,000บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 21,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อาสาสมัครสาธารณสุข และแกนนำครอบครัวมีความรู้ สามารถ ประเมินและคัดกรองภาวะ สุขภาพจิตเบื้องต้นได้
  2. ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคซึมเศร้า
  3. ผู้ป่วยจิตเวชได้เข้าถึงบริการ ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและไม่มีการกลับเป็นซ้ำ
  4. ชุมชนเห็นความสำคัญ มีทัศนคติที่ดีและให้การยอมรับต่อผู้ป่วย  พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ ผู้ป่วยและครอบครัวในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อาสาสมัครสาธารณสุข และแกนนำครอบครัวมีความรู้ สามารถ ประเมินและคัดกรองภาวะ สุขภาพจิตเบื้องต้นได้
2. ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคซึมเศร้า
3. ผู้ป่วยจิตเวชได้เข้าถึงบริการ ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและไม่มีการกลับเป็นซ้ำ
4. ชุมชนเห็นความสำคัญ มีทัศนคติที่ดีและให้การยอมรับต่อผู้ป่วยพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ
ผู้ป่วยและครอบครัวในชุมชน


>