กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ สุขภาพดีเริ่มที่อาหารปลอดภัย ชุมชนน้ำขาวห่วงใย ส่งเสริมคนไทยสุขภาพดี ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5ตำบลน้ำขาว

1. นางล้อมทองด้วง
2. นางประไพชัยศรี
3. นางสุมาลีเอมเอก
4. นางสุวรรณาแก้วหวาน
5. นางสำเรียงอารมณ์ฤทธิ์

หมู่ที่ 1 , 3 , 5 , 6 , 9 , 10 และ โรงเรียนชุมชนวัดน้ำขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนร้านชำที่จำหน่ายยาที่ไม่ใช่ยาสมัญประจำบ้าน

 

10.00
2 ร้านชำที่จำหน่ายเครื่องสำอางค์ที่มีสเตียรอยด์

 

1.00
3 จำนวนแผงจำหน่ายอาหารสด พบสารปนเปื้อน

 

1.00
4 จำนวนผักที่พบสารปนเปื้อนตกค้าง

 

6.00

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่นยาผสมสารสเตียรอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยมีปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ การให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้ แก่ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยจำหน่วยอาหาร แกนนำนักเรียนและอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร ยา และเครื่องสำอาง
  1. ร้อยละ 80 ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยจำหน่วยอาหาร แกนนำนักเรียนและอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร ยา และเครื่องสำอาง
80.00 64.00
2 2. เพื่อพัฒนาร้านชำ แผงลอยจำหน่ายให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพ
  1. ร้อยละ 100 ของร้านอาหาร/แผงลอย/ร้านชำในพื้นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้านชำและสุขาภิบาลอาหาร
25.00 25.00
3 3. เพื่อสร้างเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน
  1. เครือข่าย อย.น้อยขึ้นในโรงเรียนเพื่อช่วยเหลือในกิจกรรมต่างๆในงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน
1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,563
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมรุ่นที่ 1 อบรมผู้ประกอบการร้านชำ แผงจำหน่ายอาหาร และ อาสาสมัครสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมรุ่นที่ 1 อบรมผู้ประกอบการร้านชำ แผงจำหน่ายอาหาร และ อาสาสมัครสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้ เรื่อง งานคุ้มครองผู้บริโภค, การเลือกซื้ออาหาร , การดูฉลากสินค้า , รู้จัก อย.และผลิตภัณฑ์ที่ อย.รับผิดชอบ ,ผลิตภัณฑ์ยา , ยาสมาัญประจำบ้าน และการใช้ยาอย่างสมเหตุผล,ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ,ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้าน ,ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์,ผลิตภัณฑ์วัตถุเสพติด,ผลิตภัณฑ์อาหาร , โรคขาดสารไอโอดีน, ความสำคัญของไอโอดีน , การทดสอบเกลือเพื่อดูปริมาณไอโอดีน
    • ค่าอาหารกลางวัน50 บาท x 60 คน x 1 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท
    • ค่าอาหารว่่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 60 คน x 2 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท
    • ค่าวิทยากร300 บาท x 6 ช.ม.เป็นเงิน 1,800 บาท
    • ค่าวัสดุ 200 บาท (หมายเหตุ - ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ประกอบการร้านขายของชำ แผงลอย และ อสม ได้รับความรู้
  2. ร้านชำและแผงลอยผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้านชำและสุขาภิบาลอาหาร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรม รุ่นที่ 2 อบรม อย.น้อย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม รุ่นที่ 2 อบรม อย.น้อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมครูและแกนนำนักเรียน โรงเรียนชุมชนวัดน้ำขาว  จำนวน 20 คน      - ค่าอาหารว่่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 20 คน x 2 มื้อ  เป็นเงิน 1,000 บาท      - ค่าวิทยากร  300 บาท x 6 ช.ม.  เป็นเงิน 1,800 บาท      - ค่าวัสดุ 200 บาท (หมายเหตุ - ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ประกอบการร้านขายของชำ แผงลอย และ อสม ได้รับความรู้
  2. ร้านชำและแผงลอยผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้านชำและสุขาภิบาลอาหาร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจเยี่ยมร้านชำและแผลจำหน่ายอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจเยี่ยมร้านชำและแผลจำหน่ายอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ภาคีเครือข่ายร่วมออกเยี่ยมร้านชำและแผงจำหน่วยอาหาร      - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับทีมที่ออกปฏิบัติงาน  25 บาท x 12 คน x 2 ครั้ง  เป็นเงิน 600 บาท      - ค่าวัสดุ / แผ่นพับ / ใบปลิว / เป็นเงิน 400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 100 ของ ร้านชำและแผงลอย ได้รับการตรวจเยี่ยม
  2. ร้อยละ 100 ของ ร้านชำและแผงลอย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้านชำและสุขาภิบาลอาหาร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมสุ่มตรวจเกลือไอโอดีนในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสุ่มตรวจเกลือไอโอดีนในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สุ่มตรวจเกลือในชุมชน  หมู่บ้านละ 20 หลังคาเรือน
         - ค่าชุดน้ำยาทดสอบไอโอดีน (I-Kit)  250 บาท x 2 ชุด  เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 100  ของครัวเรือนผ่านเกณฑ์เกลือบริโภคที่ได้มาตรฐาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,500.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้านชำผ่านเกณฑ์ร้านชำติดดาว
2. แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร
3. อาหารสดไม่มีสารปนเปื่อนตกค้าง


>