กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมการใช้สมุนไพรลดเบาหวานความดัน และสารพิษตกค้าง ม.๑๑ บ้านทุ่งสลำ ต.เขาชัยสน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

อสม.หมู่ที่ ๑๑

๑.นายสวัสดิ์ หนูคง
๒.นางสุมาลี ทองต้ง
๓.นางจินตนา หีมเกตุ
๔.นางสุภาพร ชูแสง
๕.นางละมัย คล้ายน่วม

บ้านทุ่งสลัม ม.๑๑ ต.เขาชัยสน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

50.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

50.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

30.00

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีอัตราป่วยและอัตราตายเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มันจัดเค็มจัดหวานจัด รวมทั้งกินผักผลไม้ไม่เพียงพอความเครียดการสูบบุหรี่และดื่มสุราเป็นต้นจึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับเพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย3 -5 วันๆละ 30 นาที ร่วมกับรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัม หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลดอาหารไขมัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดได้
ดังนั้น ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลเขาชัยสน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพดี โดยใช้หลัก 3 อ. ซึ่งประกอบด้วย การส่งเสริมให้รับประทานอาหารที่ถูกหลัก ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม เติมเต็มผัก ผลไม้ การส่งเสริมการออกกำลังกาย/ออกแรงเป็นประจำ โดยเลือกวิธีการ/การออกกำลังกายที่มีความเหมาะสมในแต่ละบุคคลในแต่ละวัย การส่งเสริมด้านอารมณ์ที่จะต้องควบคุมกำหนดจิตใจให้มีความแน่วแน่ตั้งใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลักๆ คือ การรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ภายใต้เครือข่ายภาคีร่วมใจ คนไทย ไร้พุง รวมทั้งมีการจัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวและส่งผลให้ประชาชนมีการสร้างสุขภาพที่ยั่งยืนและมีสุขภาพแข็งแรง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

50.00 70.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

50.00 70.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

30.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพร

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต -ครัวเรือนใช้สมุนไพรลดโรค ร้อยละ ๕๐ ผลลัพธ์-อัตราการป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในรายใหม่ลดลง ร้อยละ ๕๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ปลูกสมุนไพรลดโรคฯ

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ปลูกสมุนไพรลดโรคฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ปลูกสมุนไพรลดโรคฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต-ครัวเรือนมีสมุนไพรไว้บริโภค ผลลัพธ์-สามารถควบคุมอาการเบาหวานความดันโลหิตสูงได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีความรู้เรื่องความเข้าใจการใช้สมุนไพร ลดโรค


>