กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ติดตาม กระตุ้น พัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋อำเภอสุไหงปาดีจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กแรกเกิด - 5 ปี ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัมนาการล่าช้า

 

100.00

หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด ถึง 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต พัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย การสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 4 ล้านคน จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี (โดยประเมินช่วงอายุ 4 วัย 9 เดือน 18 เดือน 30 เดือน 42 เดือน รวมจำนวน 254 คน ) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋ ได้รับการประเมิน ทั้งหมด 249 คน คิดเป็นร้อยละ 98.03 พบเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่า จำนวน 4 คนคิดเป็นร้อยละ 1.61 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็กเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี กว่าร้อยละ ๗๐ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมิน ส่งเสริม และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ
ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋ ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ติดตาม กระตุ้น พัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ปี 2562 ขึ้นโดยบูรนาการร่วมกับชุมชน ด้วยการพัฒนาความรู้ให้ผู้ปกครองช่วยเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุเพื่อช่วยค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติด้านต่างๆ เร็วขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย

ส่งเสริมให้เด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย ร้อยละ 90

100.00
2 เพื่อให้เด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการส่งต่อรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติ

ส่งเสริมให้เด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการส่งต่อรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติ ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2019

กำหนดเสร็จ 30/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ และติดตามพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ และติดตามพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ 2. ประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการในพื้นที่รับผิดชอบ ขั้นดำเนินการ 1. อบรม ให้ความรู้ ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก อายุ แรกเกิด ถึง 5 ปี จำนวน 2 รุ่นๆละ 50 คน รวมจำนวน 100 คน
2. ติดตามตรวจพัฒนาการเด็กทุกวันพุธที่ รพ.สต.ริโก๋ 3. ติดตามตรวจพัฒนาการเด็ก ในเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ภายใน 1 เดือน ที่ รพ.สต.ริโก๋

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลริโก๋ จำนวน  14,000  บาท  รายละเอียด  ดังนี้ 1.  อบรม ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลของเด็กอายุแรกเกิด ถึง 5 ปี  2 รุ่นๆละ 50 คน  รวมเป็น 100 คน ในเดือน เมษายน 2562           - อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท           - อาหารกลางวัน จำนวน 100  คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 50 บาท  เป็นเงิน 5,000 บาท           - ค่าวัสดุการอบรม จำนวน 100 คนๆ ละ 30 บาท        เป็นเงิน 3,000 บาท     2.  ไวนิลอบรมโครงการ จำนวน 1 แผ่น              เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,000 บาท ( หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็ก แรกเกิด ถึง 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ ที่ถูกต้องตามวัย คิดเป็นร้อยละ 90
2.เด็ก แรกเกิด ถึง 5 ปี มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ได้รับการกระตุ้น ภายใน 1 เดือน เป็นร้อยละ 100
3.เด็ก แรกเกิด ถึง 5 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
4.ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก แรกเกิด ถึง 5 ปี


>