กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะ (ขยะเป็น 0) เพื่อสร้างชุมชนสุขภาพดี ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

อสม. หมู่ที่ 5

บ้านกูวา หมู่ที่ 5

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศ ปี 2561 ประมาณ 27.04 ล้านตัน มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีเนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น และพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป จากปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศ รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย และได้ประกาศให้การจัดการขยะเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินการสร้างวินัยในการจัดการขยะ รพ.สต.ริโก๋ จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะ(ขยะเป็น 0) เพื่อสร้างชุมชนสุขภาพดีปี 2562 ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรต่างๆในการดำเนินงานด้านการจัดการขยะมูลฝอย โดยนำแนวคิด “Zero Waste” หรือ “การจัดการขยะเหลือศูนย์” ตามหลัก 3Rs คือ Reduce หรือ การลดปริมาณขยะ Reuse หรือ การใช้ซ้ำ และ Recycle หรือ การนำกลับมาใช้ใหม่ ส่งเสริมให้ชุมชนมีการจัดการขยะจากต้นทางแหล่งกำเนิดขยะ และใช้หลักการ 3 เก็บ 3 โรค เพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์พาหะ เช่น ยุง หนู เป็นต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน

 

50.00
2 เพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะทุกประเภท

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2019

กำหนดเสร็จ 31/07/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ และรณรงค์ 3 เก็บ 3 โรค

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ และรณรงค์ 3 เก็บ 3 โรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ 2. ประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการในพื้นที่รับผิดชอบ ขั้นดำเนินการ 1. อบรม ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย หัวหน้าครอบครัวหรือตัวแทน ครัวเรือนๆละ 1 คน เป้าหมาย 50 คน
2. รณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก และร่วมกันรณรงค์ 3 เก็บ 3 โรค จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลริโก๋ จำนวน9,800บาทรายละเอียดดังนี้ 1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท ๒.อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย 50 คน - อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท - อาหารกลางวัน จำนวน 50คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 50 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าวัสดุถังขยะเปียก จำนวน 60คนๆ ละ20 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท 3.ไวนิลอบรมโครงการ จำนวน 1 แผ่นเป็นเงิน 800 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,800 บาท ( เก้าพันแปดร้อยบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ปัญหาที่มีผลต่อสุขภาพของชุมชนลดลง
2.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะทุกประเภท
3.สร้างเสริมจิตสำนึกในการคัดแยกขยะและสามารถนำขยะไปใช้ในอนาคต
4.ลดมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน
5.จำนวนพาหะนำโรคลดลง


>