กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา

มัสยิดอัลอิกรอม หมู่ที่ 6บ้านซรายอออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากปัญหาสาธารณสุขไทยได้เปลี่ยนไปตามการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจากสังคมเกษตรสู่สังคมอุตสาหกรรมส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนเช่นการบริโภคเปลี่ยนไปมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบออกกำลังกายน้อยลงและมีความเครียดเพิ่มขึ้นสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นจากสถิติปัญหาสาธารณสุขไทยมีอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้น5อันดับแรก ของผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาลล้วนเป็นโรคไม่ติดต่อเช่นโรคมะเร็งโรคหัวใจและหลอดเลือดอุบัติเหตุโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
จากข้อมูลผลลัพธ์ในการดูแลด้านสุขภาพของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เบาหวานและความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ ปี2561 พบอัตราการเพิ่มขั้นทั้งในกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเรื้อรัง เบาหวานและความดันโลหิตสูง และเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอ้างอิงจากผลตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพเชิงรุกปีงบประมาณ 2561 ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุ35ปีขึ้นไปที่ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน พบกลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.99เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.87พบผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.12ส่วนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.47โดยในปี 2561 มีกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 117คน กลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด226 คน รับการรักษาต่อเนื่องและสามารถติดตามได้257คน คิดเป็นร้อยละ 75
ซึงเป็นผลอันเนื่องมาจากการความล้มเหลวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูง รวมทั้งจากความเสื่อมของร่างกายและภาวะความเป็นไปของโรค ที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งทางตา หัวใจและหลอดเลือด ทางไต และทางเท้า เพื่อการรักษาและดูแลตนเองของผู้ป่วยให้ทันท่วงที อนึ่ง พฤติกรรมการดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสมก็สามารถส่งผลต่อการดูแลรักษาก็ส่งผลต่อการดำเนินของโรค ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วย สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมครอบครัวชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืนดังนั้นชมรมอาสาสมัคสาธารณสุขหมู่ที่ 6บ้านซรายอออก ตำบลปาเสมัสจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปีงบประมาณ 2562ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00
2 กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติได้

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำม.6 23

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 15/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองประชากรที่มีอายุ 35 ปี ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จริง

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองประชากรที่มีอายุ 35 ปี ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จริง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิลในการดำเนินงาน ขนาด 1.2 X 2.4 เมตร เป็นเงิน 700.-บาท
  • เครื่องชั่งน้ำหนักระบบดิจิตอลจำนวน 1 เครื่องเป็นเงิน 1,800.-บาท
  • เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 1,000'-บาท
  • เครื่องวัดความดันโลหิตระบบดิจิตอลจำนวน 1 เครื่องเป็นเงิน 1,700'-บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารจำนวน 2,500 แผ่นละ 0.4 บาทเป็นเงิน1,000'- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6200.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไวนิล ขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน 4 แผ่น ๆละ 500 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับการอบรม จำนวน 40 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับการอบรม จำนวน 40 คน คนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 400 บาท จำนวน 3 คน จำนวน 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 2,400 บาท
  • วัสดุในการดำเนินงาน เป็นเงิน 1,600 บาท
  1. แฟ้มเอกสารจำนวน 40 อัน x 20 บาทเป็นเงิน800บาท
  2. สมุดปกอ่อนจำนวน 40 เล่ม x 10 บาทเป็นเงิน 400บาท
  3. ปากกาจำนวน 40 ด้าม x 10 บาท เป็นเงิน400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับการอบรม จำนวน 40 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน 1,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายรู้เท่าทันโรคและมีความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อที่สามารถป้องกันได้
2. กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
3. มีแกนนำ/คนต้นแบบในการดูแลตนเองในกลุ่มป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสุขภาพในชุมชน


>