กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปลูกผักปลอดสารพิษตำบลบูกิต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

กลุ่มปลูกผักเพื่อสุขภาพ

1. นางสาวมารียานี วานิ
2. นายมือลี อีแต
3. นายดือราแมมูดออาแซ
4. นายบือรอเฮ็ง บองอแม
5. นายซัมซูเด็นวานิ

บ้านบือราแง หมู่ที่ 9 ตำบลบูกิต อ.เจาะไอร้อง จ. นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

 

40.00
2 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

20.00

หลักการและเหตุผล
ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ ที่สำคัญมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี หรือ ผัก-ผลไม้ที่ไม่ปลอดสารพิษ เพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืช อย่างไม่ถูกวิธีเพื่อเหตุผลทางการค้าและพาณิชย์ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้น ตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุ แบบยั่งยืน คือการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน การปลูกผักรับประทานเองแบบผักอินทรีย์ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยใช้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์อย่างแท้จริง
ทางกลุ่มปลูกผักเพื่อสุขภาพ ตำบลบูกิต เห็นความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเอง ซึ่งมีทั้งความปลอดภัยจากสารเคมี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปลูกผักปลอดสารพิษขึ้น เพื่อส่งเสริม และให้ความรู้ในการบริโภคผักปลอดสารพิษ เพื่อพิชิตโรค และเป็นการให้ชุมชน หันกลับมาดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในการป้องกันโรค เน้นในด้านการป้องกันโรคมากกว่าการรักษาพยาบาล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน เพิ่มขึ้น

40.00 40.00
2 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

20.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจผู้ที่ทำเกษตรอินทรีย์ไม่ไช่สารเคมี

ชื่อกิจกรรม
สำรวจผู้ที่ทำเกษตรอินทรีย์ไม่ไช่สารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเพื่อวางแผนและลงพื้นที่สำรวจผู้ที่ทำเกษตร ไม่ใช้สารเคมี - ค่าอาหารกลางวัน+เครื่องดื่ม จำนวน 10 คน x 60 บาทx 1 มื้อ         = 600 บาท - ค่าอาหารว่าง+เครื่องดื่ม จำนวน 10 คน x 25 บาท x 2 มื้อ              = 500 บาท - ค่าเอกสารประกอบการสำรวจ  จำนวน 10 คน x 10 บาท                 = 100 บาท
                                          รวม 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลงสำรวจ /ได้ข้อมูลจำนวนผู้ที่ทำเกษตรอินทรีย์ไม่ไช่สารเคมี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ เรื่อง ผักปลอดสารพิษกับประโยชน์ในการป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่อง ผักปลอดสารพิษกับประโยชน์ในการป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้ เรื่อง ผักปลอดสารพิษกับประโยชน์ในการป้องกันโรค กลุ่มปลูกผักเพื่อสุขภาพ  ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการปลูก ดูแลรักษา และการปลูกผักที่ปลอดสารพิษ
  • อบรมการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ การทำ EM ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
  • กิจกรรม ให้ความรู้พร้อมสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ ป้องกันโรค
  • ดำเนินกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ ป้องกันโรค
    เป้าหมาย  ประชาชน บ้านบือราแง หมู่ที่ 9 ตำบลบูกิต อ.เจาะไอร้อง จ. นราธิวาส
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อบรม,สร้างความตระหนัก , สาธิต การทำปุ๋ย / ประชาชนไปเกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11070.00

กิจกรรมที่ 3 เลือกแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ 1 แห่ง เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ของกลุ่ม ในการปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
เลือกแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ 1 แห่ง เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ของกลุ่ม ในการปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะกรรมการกลุ่มคัดเลือกแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ 1 แห่ง เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ของกลุ่ม ในการปลูกผักปลอดสารพิษ
ไม่มีงบประมารณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ 1 แห่ง เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ของกลุ่ม ในการปลูกผักปลอดสารพิษ  /ประชาชน ได้รับประทานผักไม่มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,270.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ
1. ประชุมชี้แจงโครงการประชาสัมพันธ์
2. เสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
3. เตรียมสถานที่ในการอบรม พร้อมทั้งเครื่องเสียง สื่อ เอกสาร วัสดุ อุบปกรณ์ในการฝึกในการอบรม
4. ดำเนินการจัดกิจกรรม ดังนี้
4.1. กิจกรรม สำรวจผู้ที่ทำเกษตรอินทรีย์ไม่ไช่สารเคมีประชาสัมพันธ์โครงการ
- ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น รพ.สต., อบต., อสม., เกษตรอำเภอ
- รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ
- จัดทำทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ
4.2. กิจกรรม อบรมให้ความรู้ เรื่อง ผักปลอดสารพิษกับประโยชน์ในการป้องกันโรค
- ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการปลูก ดูแลรักษา และประโยชน์ของผัก การปลูกผักที่ปลอดภัย
- อบรมการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ การทำ EM ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
- กิจกรรม ให้ความรู้พร้อมสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ ป้องกันโรค
จำนวน 50 ครัวเรือน
4.3 - เลือกแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ 1 แห่ง เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ของกลุ่ม ในการปลูกผักปลอดสารพิษ
5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล บูกิต

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ในชุมชนในตำบลบูกิต สัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมด
2. เกษตรกรและผู้บริโภค ไม่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย
3. ประชาชนมีความรู้ในเรื่องการรับประทานอาหารปลอดสารพิษและมีภาวะสุขภาพที่ดี
4. ประชาชนมีการปลูกผักปลอดสารพิษ รับประทานเองในครัวเรือน


>