กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2562

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน

1…นายวัฒนชัย ไชยจิตต์………
2…นางรสนา บินหมาน………………………
3…นางสาวมารียา สุขสง่า………………………………
4…นางอภิยา เหตุทอง………………………………..
5…นางวนิดา ศรีริภาพ…………………………………..

หมู่ที่ 1 2 3 4 ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด(คน)

 

5.00
2 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

1.00
3 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรีย(คน)

 

0.00

ปัญหาโรคติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ(ไข้หวัดใหญ่)โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ(ไข้เลือดออก)โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ(อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือ เท้า ปากฉี่หนู) โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรคโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยโรคเรื้อรังการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็วทันเหตุการณ์จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาคประชาชนวางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ โดยการดำเนินงานในลักษณะ“ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเอง หน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของพื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน เพื่อส่งเสริมแกนนำสุขภาพประจำบ้านและผู้สนใจสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพต่อไปโดยมีกระบวนการทำงานคือประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่จัดเสวนากลุ่มให้ความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสมและขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายรวมทั้งจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำโลชั่นทากันยุงแก่นักจัดการสุขภาพและผู้ที่สนใจ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด(คน)

ร้อยละของการแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด(คน)

5.00 5.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(คน)

1.00 0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพประจำบ้านมีความรู้ มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้

 

0.00
4 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/07/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง,โรคฉี่หนู และโรคมือ เท้า ปาก การปรับปรุงสุขาภิบาลอาหาร อนามัยสิ่งแวดล้อม และการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การล้างมือสะอาดปราศจากโรค แก่แกนนำสุขภาพและผู้สนใจจำนวน 50 คน 1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 2,500บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคติดต่อและการดูแลสุขภาพที่ทันเหตุการณ์ สามารถดูแลสุขภาพตนเองครอบครัว และคนชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่ด้แก่ โรคอุจจาระร่วง,โรคฉี่หนู และโรคมือ เท้า ปาก การปรับปรุงสุขาภิบาลอาหาร อนามัยสิ่งแวดล้อม และการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การล้างมือสะอาดปราศจากโรคแก่ครู นักเรียนโรงเรียนสอนศาสนา จำนวน 20 คน 1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 1,000บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคติดต่อและการดูแลสุขภาพที่ทันเหตุการณ์ สามารถดูแลสุขภาพตนเอง  ครอบครัว และคนชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 3 จัดเสวนากลุ่มให้ความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 4 หมู่บ้าน2ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
จัดเสวนากลุ่มให้ความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 4 หมู่บ้าน2ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเสวนากลุ่มให้ความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม และดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลายในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1-4 ตำบลวังประจัน 2 ครั้ง/ปี บ้าน จำนวน 804 หลังคาเรือน
โรงเรียน จำนวน 2 แห่ง มัสยิด จำนวน 4 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน1แห่ง 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม หมู่ละ 20 คน4 หมู่2 ครั้ง มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ให้เหลือไม่เกิน  ๕๐  ต่อแสนประชากร
  2. โรงเรียนและชุมชนมีการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมเชิงปฏิบัตการจัดทำโลชั่นทากันยุง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัตการจัดทำโลชั่นทากันยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำโลชั่นทากันยุง แก่นักจัดการสุขภาพและผู้สนใจ จำนวน 50 คน 1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 2,500บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1200 บาท เป็นเงิน 6,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ให้เหลือไม่เกิน๕๐ต่อแสนประชากร
๒. ประชาชน และแกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
๓. ทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
4. โรงเรียนและชุมชนมีการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ


>