กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บางขุด

1……นางสาวรูสลีซา นิแม……..…
2……นางสาวฮามีละห์ มือลี.........…
3……นางซารีฟะห์ยูโซ๊ะ…….…
4……นางแยนะ สุหลง.……...
5……นางรอฟีอะห์เจ๊ะอาแว.....

ตำบลฆอเลาะ อ.แว้ง จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กอายุ 0-72 เดือนมีภาวะโภชนาการตำ่กว่าเกณฑ์

 

45.00

การรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ มีความสำคัญแก่การเจริญเติบโด พัฒนาการของวัยต่างๆ เด็กที่ได้รับการดูแลและส่งเสริมด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี หมายถึง ความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติในอนาคต ในสภาวะปัจจุบันประเทศชาติกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติทั่งในด้านเศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิต ประชาชนต้องดิ้นรนทุกวิธีทางเพื่อความอยู่รอด และในบางครั้งยังมีชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดารชีวิตความเป็นอยู่ไม่ค่อยดีนัก ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน การเข้าถึงสถานบริการและองค์ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการไม่ทั่วถึงและการเลี้ยงดูเด็กยังได้รับการปฏิบัติทางโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก รวมทั้งหญิงมีครรภ์และประชาชนทั่วไปซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนา วิวัฒนาการของกลุ่มดังกล่าวได้
ดังนั้นทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำสุขภาพตำบลฆอเลาะเล็งเห็นความสำคัญต่อการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของกลุ่มดังกล่าว รวมทั้งผลกระทบที่จะตามมา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ทางโภชนาการ และนำไปปรุงอาหารสำหรับเด็ก 0 – 72 เดือน ให้เหมาะสมตามวัย

1.ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ในการปรุงอาหาร ร้อยละ 80

45.00 80.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้ปกครองร่วมกันเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการของเด็ก 0 – 72 เดือน

1.ผู้เข้ารับการอบรม มีการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ร้อยละ 100 2. ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ทุกเดือน

45.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมการจัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมการจัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 – 72 เดือน  เรื่อง การเลือกซื้ออาหารที่สมวัย พัฒนาการแต่ละช่วงอายุของเด็ก    0 – 72 เดือน

  1. ไวนิลโครงการขนาด  1X4  เมตร     ป้ายละ  1,000  บาท  จำนวน 1 ป้าย
  2. ค่าจัดซื้อวัสดุในการอบรม ๔,๐๐๐ บาท
  3. ค่าวิทยากร 300 บาท x  6 ชั่วโมง     เป็นเงิน 1,800 บาท
  4. ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 1๐0 คนๆ ละ
    50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,๐00 บาท และค่าอาหารว่าง จำนวน 1๐0 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,๐00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16800.00

กิจกรรมที่ 2 สาธิต

ชื่อกิจกรรม
สาธิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสาธิตอาหาร สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม สามารถนำไปปรุง อาหารแก่เด็ก 0 – 72 เดือน ได้อย่างถูกหลักโภชนาการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการสาธิตอาหาร เป็นเงิน 3,000บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เข้ารับการอบรมมีความรู้และสามารถเลือกอาหารนำมาปรุงอาหารในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและมีน้ำหนักดีขึ้น


>