กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อาหารปลอดภัย เกษตรใส่ใจ ห่วงใย "คนมูโนะ"

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

ครอบครัวดาหลารักบ้านเกิด

1………นางสาวไลดา แวมะ ประธาน
2………นางสาวอัญชุลี สะมาแอ รองประธาน
3………นางสาวไลลา เจ๊ะอูมา กรรมการ
4………นางสาวนูรีฮะ สือนิ กรรมการ
5………นางสาวลีเยาะหามะ เหรัญญิก

ตำบลมูโนะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

20.00

จากการที่ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ ได้ออกสำรวจสุ่มตรวจอาหาร ในตำบลพบว่า ร้านขายอาหาร แผงลอยและร้านขายของชำ ในตำบล เกือบทุกร้านค้ามีสารอาหารที่ปนเปื้อน ซึ่งอาหารเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรง อาหารที่ร่างกายได้รับจึงต้องเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ได้มาตรฐานและปราศจากสารพิษปนเปื้อนในอาหาร เช่นสารบอแร็กซ์สารฟอร์มาลีนสารฟอกขาวสารกันรา ยาฆ่าแมลงและเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสู.ซึ่งสารดังกล่าวถ้าเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดอันตราย และถ้าเกิดการสะสมในร่างกายนานๆจะทำให้เกิดโรคมะเร็งตามมาดังนั้นสถานประกอบการร้านค้าที่จำหน่ายอาหาร หรือประกอบอาหารจำหน่ายให้กับประชาชน จึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐานปราศจากสารปนเปื้อนในอาหารและจากข้อมูลสถานประกอบการด้านอาหารในพื้นที่ตำบลมูโนะ พบ โรงอาหารในโรงเรียน จำนวน 4 แห่ง ศพด. 4 แห่ง และร้านขายของชำจำนวน 30 ร้าน ว่ามีแผงลอยจำหน่ายอาหารจำนวน 22 ร้าน ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวถ้าสถานประกอบการทุกแห่ง มีความรู้ในการเลือกซื้ออาหารที่ปราศจากสารปนเปื้อนมาจำหน่าย หรือนำมาประกอบเป็นอาหาร และทางโรงเรียนมีการประกอบอาหารให้นักเรียนทานโดยใช้วัตถุดิบทางตลาด รวมทั้งผู้บริโภค ถ้ามีความรู้ความเข้าใจถึงพิษภัยอันตรายที่เกิดจากสารปนเปื้อนในอาหาร และสามารถเลือกแหล่งจำหน่ายอาหารที่ได้มาตรฐานปราศจากสารปนเปื้อนมาบริโภคก็จะห่างไกลจากโรคต่างๆที่จะตามมา ดังนั้นในการกำกับ ดูแล และให้คำแนะนำที่ถูกต้อง เพื่อให้สถานประกอบการทุกแห่งในพื้นที่จำหน่ายอาหารที่ได้มาตรฐานและปราศจากสาปนเปื้อน รวมทั้งให้ประชาชนรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาหารและผลิตภัณฑ์ ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลมูโนะ จึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ 2562 โดยได้ดำเนินการออกตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร และตรวจสอบฉลากอาหารและผลิตภัณฑ์ที่นำมาจำหน่าย ตามร้านค้าทุกแห่งในพื้นที่ตำบลมูโนะ เมื่อพบปัญหา เช่นตรวจพบสารปนเปื้อนในอาหารก็จะมีพูดคุยกับผู้ประกอบการร้านค้า เพื่อปรับปรุงแก้ไข และแจ้งให้องค์กรบริหารส่วนตำบลและประชาชนทราบ เพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6  ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

0.00
2 2 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ร้อยละสารเคมีในเลือดของเกษตรกรลดลง

0.00
3 3ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละสารที่ปนเปื้อนในอาหารลดลง

0.00
4 4.ส่งเสริมการปลูกผักในโรงเรียน

ร้อยละ100ของนักเรียนมีการปลูกผักในโรงเรียน และทานผักที่ปลูกเอง

0.00
5 5.ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน และภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย

ร้อยละ40  ชุมชนปลอดโรค ผู้ป่วยโรคเรื้อรังลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 239
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 800
กลุ่มวัยทำงาน 2,500
กลุ่มผู้สูงอายุ 650
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/05/2019

กำหนดเสร็จ 30/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน โรงเรียน และสถานประกอบการด้านอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน โรงเรียน และสถานประกอบการด้านอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าแผ่นพับประชาสัมพันธ์ 0.5บาท x 2000แผ่น เป็นเงิน 1000 บาท
-ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ 5 แผ่น X 900 บาท 4500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในตำบลได้รับทราบโครงการที่จะดำเนินการในหมู๋บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 2 คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเกษตรกร/กลุ่มครูและนักเรียน/อสม./ รพ.สต/ อสม./กลุ่มป่วยโรคเรื้อรังในตำบล

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมชี้แจง และถ่ายทอดความรู้

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจง และถ่ายทอดความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 200 คน X25 บาท X2มื้อเป็นเงิน 10000 บาท ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 200 คน X 50 บาท เป็นเงิน 10000 บาท ค่าเอกสารประกอบการประชุม 4000 บาท เป็นเงิน 4000 บาท ค่าวิทยากร 600 บาท X 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้กระบวนการดำเนินกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมทางการเกษตร/ชุมชน/โรงเรียน /รพ.สต

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมทางการเกษตร/ชุมชน/โรงเรียน /รพ.สต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เกษตร - วัสดุทางการเกษตร
โรงเรียน - ค่าเมล็ดพันธ์ทางการเกษตร รพ.สต   - ตรวจการคงสภาพแหล่งจำหน่ายอาหารตามมารฐาน CFGT และร้านจำหน่ายอาหารสด              ตามมาตรฐาน FS และตลาดนัดในชุมชน จำนวน 3000 บาท              -จัดซื้อชุดรวจสำหรับตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและตรวจสารพิษตกค้างในผัก จำนวน 2000 บาท              - ค่าวัสดุประกอบกิจกรรม 2000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ได้ผักปลอดสารพิษในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>