กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสาวโฆษิตพิชิตมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ประจำปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต

รพ.สต.บ้านโคกมือบา

รพ.สต.บ้านโคกมือบา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง ๓ คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๐ - ๕๐ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และหากทำทุก ๒ ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ ๙๒ % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smearจากสถิติ รายงานว่า 30% ของผู้หญิงไทย ไม่เคยได้เข้ารับการตรวจแปปสเมียร์เพื่อคัดกรองหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกเลย เพราะจากความประมาทเพราะคิดว่าตนเองไม่มีความเสี่ยง แล้วจะเป็นโรคนี้ได้อย่างไร?แต่ในความเป็นจริงผู้หญิงทุกคนที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้วมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ทั้งสิ้นแม้จะเป็นเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ตาม !!
ข่าวดี ก็คือ!! มะเร็งปากมดลูก สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ก่อนจะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม (ข้อมูลจากสถาบันเซลล์ วิทยา 17 พ.ย.2560)
เป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้คือสตรีอายุ 30 – 60 ปีต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ในรอบ 5 ปี ครบร้อยละ 100จากผลการดำเนินงานของจังหวัดนราธิวาสสามารถดำเนินการได้น้อยมาก ซึ่งไม่ต่างจากอำเภอตากใบที่ดำเนินการได้ร้อยละ 51.93 ในรอบ 5 ปี และ และรพ.สต.บ้านโคกมือบาดำเนินการได้เพียงร้อยละ 73.65 ในรอบ 5 ปี ซึ่งเป้าหมายต้องได้ร้อยละ 100 ในรอบ 5 ปี
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมและการป้องกันโรคให้กับประชาชน เพื่อ ลดค่าใช้จ่ายในการักษาโรค ตลอดจนทรัพยากรที่จะต้องใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตำบลโฆษิต ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1.เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ยังไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี ที่ผ่านมา มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก
ข้อที่ 2.เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ยังไม่รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี ที่ผ่านมา ให้ความร่วมมือในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ข้อที่ 3.เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 70 ปี มีความรู้และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ในเบื้องตน
ข้อที่ 4 เพื่อให้สตรีที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับส่งพบแพทย์และรับการรักษาที่ถูกต้อง
ข้อที่ 5 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะรุนแรง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่เคยได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก และสตรีกลุ่มเป้าหมายรายใหม่

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่เคยได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก และสตรีกลุ่มเป้าหมายรายใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 สำรวจและจัดทำทะเบียน
กิจกรรมย่อย 1.1 สำรวจสตรีอายุ 30-60 ปี ที่เคยเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมา
1.2 จัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีอายุ 30-60 ปี ที่เคยเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมา
1.3  สำรวจสตรีอายุ 30-60 ปี ที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่เขตรับผิดชอบของ รพ.สต. บ้านโคกมือบา 1.4 จัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีอายุ 30-60 ปี จากคลังข้อมูล HDC ที่ยังไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมา 2 จัดทำโครงการเสนอประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโฆษิต กิจกรรมย่อย 2.1 คืนข้อมูลสถานการณ์ของโรคโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 2.2 ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการจัดทำโครงการครั้งนี้ 3.ให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 ปีขึ้นไปเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก กิจกรรมย่อย 3.1 ให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 3.2 สาธิตการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและให้ให้สตรีกลุ่มเป้าหมายฝึกการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง 3.3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่เคยได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก และสตรีกลุ่มเป้าหมายรายใหม่ 4. ติดตามสตรีกลุ่มเป้าหมายรับการตรวจมะเร็งปากมดลูก 4.1 กิจกรรมย่อย      ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆเช่น ป้ายประชาสัมพันธ์

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการตรวจเต้านมเป็นประจำทุกเดือนด้วยตนเองได้
2.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามเกณฑ์กำหนด
3.สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อเมื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการเกิด โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะรุนแรงลดลง


>