กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนโฆษิตห่างไกลโรคติดต่อประจำถิ่นตำบลโฆษิต ปี2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปเพิ่มจำนวนในร่างกาย อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเป็นจากตัวเชื้อโรคเอง หรือพิษที่เชื้อโรคนั้นปล่อยออกมา เชื้อโรคจะติดต่อถ่ายทอดจากผู้ป่วยโดยตรงหรือโดยอ้อมไปสู่คนปกติ บางครั้งเรียกว่า โรคติดเชื้อแทนคำว่า โรคติดต่อ สำหรับในเขตร้อน อากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัดตลอดปี และมีฝนตกชุก มีความชื้นสูง เป็นผลให้เชื้อโรคต่างๆ ชุกชุม เมื่อมีการติดต่อถ่ายทอดไปยังผู้อื่น ก็จะทำให้เกิด
โรคติดต่อสามารถป้องกันได้ หรือลดความรุนแรงได้ด้วยวิธีการป้องกันควบคุมโรคอย่างเป็นระบบ ถูกวิธี รวดเร็ว และด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โรคติดต่อมีความสำคัญ เพราะนอกจากทำให้เจ็บป่วยเสียชีวิตแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้าง ในแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวกับโรคต่างๆ ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินจำนวนมากเช่น โรคไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย ไข้มาลาเรีย โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอุจาระร่วง วัณโรค และโรคอื่นที่ อุบัติใหม่ ฯลฯ เป็นต้น ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันโรคติดต่อมีแนวโน้มที่จะพบการแพร่ระบาดของโรคมากขึ้น ความรุนแรงเพิ่มขึ้น และมีโรคชนิดใหม่ๆ มากขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น เห็นได้จากจำนวนบ้านที่มากขึ้น เขตเมืองมีประชากรหนาแน่น และมีชุมชนแออัดขึ้น ประชาชนจึงติดโรคง่าย แต่ป้องกันโรคยากกว่าเดิม การคมนาคมสะดวกรวดเร็วขึ้น ทั้งถนนหนทางที่ทันสมัยและการเดินทางโดยเครื่องบิน ทำให้เชื้อโรคสายพันธ์ใหม่จากต่างประเทศ สามารถเข้าถึงหมู่บ้านเล็กๆ ได้ ภายในไม่กี่วัน จากเดิมต้องใช้เวลาหลายเดือน หรือเป็นปี มีแหล่งรังโรคร่วมกันมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด ชัดเจน และมีมาตรฐาน
ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคติดต่อ จากการวิเคราะห์สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง จากข้อมูล รง. 506 ของงานระบาดวิทยา พบว่าโรคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ โรคอุจาระร่วง โรคไข้เลือดออก และวัณโรค ตามลำดับ โดยโรคอุจาระร่วง มีอัตราป่วยสูงสุด ในปี 2561 พบผู้ป่วยจำนวน 61 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 1,424.90 ต่อประชากรแสนคน และโรคที่เป็นปัญหารองลงมา คือวัณโรค พบผู้ป่วยจำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 163.51 ต่อประชากรแสนคนและโรคไข้เลือดออก ซึ่งพบผู้ป่วยยืนยันและผู้ป่วยที่สงสัย พบผู้ป่วยจำนวน 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 140.15 ต่อประชากรแสนคน และ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคที่สำคัญที่สุด คือ ความตระหนักของประชาชนในการมีสุขลักษณะส่วนบุคคล ความตระหนักและความเอาใจใส่ในการร่วมรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน และความร่วมมือกันของประชาชนทุกครัวเรือนในชุมชนในการทำกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย ยังไม่จริงจังและขาดความต่อเนื่อง และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคยังไม่มีความชัดเจน
จากสภาพปัญหาดังกล่าว งานระบาดวิทยาและควบคุมโรคติดต่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา ได้เห็นความสำคัญที่จะลดปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการคนโฆษิตห่างไกลโรคติดต่อประจำถิ่นตำบลโฆษิต ปี 2562ขึ้น เพื่อให้การดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1.เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ
ข้อที่ 2.เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน
ข้อที่ 3.เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดลำดับโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่ 2.วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของการเกิดโรค 3.ประชุมชี้แจง  อสม. และแกนนำหมู่บ้านเพื่อวางแผนการทำงานร่วมกัน 3.1 กิจกรรมย่อย ประชุม  อสม. และแกนนำหมู่บ้านเพื่อวางแผนการทำงานร่วมกัน 3.2 กิจกรรมย่อย มอบหมายบทบาทหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละฝ่าย 4.จัดทำโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโฆษิต 4.1 กิจกรรมย่อย      คืนข้อมูลสถานการณ์ภาวะโรคติดต่อในพื้นที่ 4.2 กิจกรรมย่อย     ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการจัดทำโครงการครั้งนี้ 5.จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ /โรคระบาดที่มักเกิดขึ้นกับในชุมชน 5.1 กิจกรรมย่อย     ให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอด,โรคไข้เลือดออก,เรื้อน,ไข้ปวดข้อยุงลาย 6.จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ 6.1 กิจกรรมย่อย       จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ เกี่ยวกับวัณโรคปอด,โรคไข้เลือดออก,ไข้ปวดข้อยุงลาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อได้ร้อยละ 50 2.สามารถสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชนได้ร้อยละ 50 3.ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการองกันและควบคุมโรคติดต่อร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,600.00 บาท

หมายเหตุ :
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100คน x25บาท x2มื้อ = 5,000.-บาท-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100คนx50บาท =5,000.-บาท
-ค่าป้ายไวนิลขนาด 100ซม.*200ซม.
-โรคไข้เลือดออก จำนวน 2 ป้ายx400บาท =800.-บาท
-ไข้ปวดข้อยุงลาย จำนวน 1 ป้ายx400บาท =400.-บาท
-วัณโรคปอด จำนวน 1 ป้ายx400บาท =400.-บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อได้
2.สามารถสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน
3.ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ


>