กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ สตรีวัยเจริญพันธ์รู้เท่าทันการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาในเรื่องของวัยเจริญ มีมากมายหลายกลุ่ม หลายรูปแบ สำหรับกลุ่มวัยรุ่น วัยเรียน มักจะเชื่อมโยงกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยาย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าเช่น สื่อลามกในโลกอินเตอร์เน็ตสิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ ทางเพศของตนเองเยาวชนจึงมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม และขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา จึงส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน
อีกกลุ่มที่มีปัญหาในเรื่องของการตั้งครรภ์ คือกลุ่มที่แต่งงานแล้วมีครอบครัว แต่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีควารู้ในการดูแลครรภ์น้อย มีโอกาสที่จะได้รับอันตรายจาการตั้งครรภ์และการคลอด โดยเฉพาะมารดาที่มีความเสี่ยงสูงจากโรคและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การได้รับการดูแลให้การตั้งครรภ์มีคุณภาพปลอดภัยจากโรคและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ หรือไม่รุนแรงจนเป็นอันตรายต่อมารดาและทารก ตลอดจนการเตรียมสุขภาพกายและจิตใจของมารดา ให้สมบูรณ์เพียงพอต่อการคลอดแล้ว ก็สามารถลดอันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดลดลงไปได้มาก
ภาวะเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับมารดารและทารกในครรภ์อาจเกิดอันตรายหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ และขณะคลอดได้และอาจถึงขั้นการสูญเสียชีวิต เช่น มารดาอายุน้อยกว่า 20 ปี หรือมากกว่า 35 ปี ,เคยคลอดบุตรมากกว่า 4 คนขึ้นไป, มีเลือดออกระหว่างการตั้งครรภ์ การเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด โรคความดันโลหิตสูง(ภาวะ pre-eclampsia(ภาวะครรภ์เป็นพิษ) และ eclampsia (ภาวะครรภ์เป็นพิษและมีอาการชัก) โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ธัยรอยด์ ครรภ์แฝด ทารกมีความพิการแต่กำเนิด ทารกตายในครรภ์ได้
ดังนั้นการที่หญิงวัยเจริญพันธุ์มีการตั้งครรภ์ในช่วงวัยที่เหมาะสมและหญิงที่ตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ตั้งแต่เนินจะช่วยลดระดับความรุนแรงของภาวะเสี่ยงต่างๆลงได้ รวมไปถึงบุคคลใกล้ชิดหญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในภาวะอันตรายต่างๆที่มีต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกและจำเป็นต้องช่วยกันดูแลหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งนั้นคือจุดมุ่งหมายของการบริการฝากครรภ์ “ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย”ทาง รพ.สต.บ้านโคกมือบาจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว การดูแลครรภ์ขณะ ตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อที่ 2.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
ข้อที่ 3.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพชีวิตของมารดาและทารก
ข้อที่ 4.เพื่อลดภาวะเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์คลอดและทารกในครรภ์ขณะคลอด
ข้อที่ 5. เพื่อให้วัยเจริญพันธุ์หรือวัยรุ่นมีการตั้งครรภ์เมื่อพร้อม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหญิงตั้งครรภ์ ครรภ์แรก และครรภ์หลังพร้อมด้วยสามีหรือญาติ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหญิงตั้งครรภ์ ครรภ์แรก และครรภ์หลังพร้อมด้วยสามีหรือญาติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์รายใหม่พร้อมสามีหรือญาติเป็นรายกลุ่ม 1.1 กิจกรรมย่อย จัดกิจกรรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหญิงตั้งครรภ์ ครรภ์แรก และครรภ์หลัง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ และการแก้ไขปัญหาของแต่ละคน 1.2 กิจกรรมย่อย .ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์รายใหม่พร้อมด้วยสามีหรือญาติ ของแต่ละเดือนเดือนละครั้ง 1.3 กิจกรรมย่อย ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์พร้อมด้วยสามีหรือญาติ เมื่ออายุครรภ์ครบ 32 สัปดาห์ 1.4 กิจกรรมย่อย ให้ความรู้แก่วัยเจริญพันธุ์/วัยรุ่น เรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ 2 บริการตรวจครรภ์หญิงตั้งครรภ์ทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ 2.1 กิจกรรมย่อย ตรวจสุขภาพโดยทั่วไปของหญิงตั้งครรภ์ 2.2 กิจกรรมย่อย บริการเจาะเลือดตามหลักเกณฑ์ของการฝากครรภ์ (ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ และเมื่ออายุครรภ์ครบ  32  สัปดาห์) 2.3 กิจกรรมย่อย ให้คำแนะนำตามสภาพปัญหาของแต่ละคน 3 ติดตามเยี่ยมบ้าน 3.1 กิจกรรมย่อย ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงทุกราย

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติตนได้ถูกต้องร้อยละ90 2.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ >ร้อยละ 80 3.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์>ร้อยละ90 4.หญิงตั้งครรภ์คลอดลูกปลอดภัยทั้งแม่และลูกร้อยละ100 5.หญิงวัยเจริญพันธุ์ตั้งครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุไม่น้อยกว่า 20 ปี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน x 25 บาท x 6 มื้อ =7,500.-บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน x 25 บาท x 6 มื้อ =7,500.-บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน x25 บาท x 2 มื้อ =2,500.-บาท
-ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คน x50 บาท x 1 มื้อ =2,500.-บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติ มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
2.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขครั้งแรกกอายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3.หญิงตั้งครรภ์ไดรับการดูแลครรภ์โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อย่างน้อย 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพของการฝากครรภ์ไม่
น้อยกว่าร้อยละ 90
4.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการตรวจโดยแพทย์ร้อยละ 100
5.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลป้องกันการเกิดภาวะซีดขณะคลอดน้อยกว่าร้อยละ 10


>