กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการการแก้ไขปัญหาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ปี 2562

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการแก้ไขปัญหาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจโดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลดอาหารที่มีรสหวานมันเค็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้นมีการออกกำลังกายเป็นประจำลดภาวะน้ำหนักเกิน
ประชาชนในเขตรับผิดชอบ ของรพ.สต.บ้านโคกมือบา ต.โฆษิต มีภาวะการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น บูดู ปลาเค็ม และเนื้อหมัก ซึ่งจะมีรสชาติที่เค็มมาก และยังนิยมบริโภคอาหารที่มีรสหวาน รสมัน และพฤติกรรมการบริโภคน้ำชา กาแฟ เป็นกิจวัตประจำวัน ประกอบกับการขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้องตามรูปแบบ และยังมีพฤติกรรมที่ไม่นิยมรับประทานผัก จึงส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีภาวะป่วยด้วยโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของตนเอง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคหัวใจและหลอดเลือดขาดการป้องกันโรค รอจนป่วย แล้วค่อยเยียวยารักษา ขณะเดียวกันผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย ยังไม่ตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ถูกตัดแขน ขา กลายเป็นผู้พิการ กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง เป็นภาระแก่บุคคลในครอบครัว และชุมชน ซึ่งกลุ่มป่วยในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านโคกมือบา ทั้งสามหมู่บ้าน มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นในแต่ละปี เช่น เบาหวานขึ้นตา ถูกตัดขา แผลเรื้อรัง มีภาวะของโรคโรคหัวใจและหลอดเลือดกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง และยังมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย ที่รับการรักษาไม่ต่อเนื่อง รับประทานยาบ้างไม่รับประทานยาบ้าง หรือรับประทานยา แต่ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอื่นๆ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีภาวะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆสูงมาก
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเหล่านี้มาหลายปี แต่ยังไม่สามารถ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งกลุ่มป่วย และกลุ่มเสี่ยงได้ จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1เพื่อตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
ข้อที่ 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและการป้องกันตนเอง จากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ข้อที่ 3. เพื่อให้ผู้ที่ตรวจคัดกรองพบภาวะเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
ข้อที่ 4.เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้ในกลุ่มเป้าหมาย 1.1 กิจกรรมย่อย จัดกิจกรรมให้ความแก่กลุ่มเป้าหมายแบ่งเป็นกลุ่มๆละไม่เกิน 50 คน 2.การตรวจคัดกรองภาวะของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2.1 กิจกรรมย่อย      ตรวจคัดกรองภาวะน้ำตาลในเลือดโดยการหาค่า FBS (เจาะเลือดจากปลายนิ้วกลุ่มเป้าหมาย) 2.2 กิจกรรมย่อย ตรวจวัดค่าความดันโลหิตในกลุ่มเป้าหมาย 2.3 กิจกรรมย่อย คัดแยกกลุ่มคัดกรองเป็น   1 กลุ่มปกติ   2.กลุ่มเสี่ยง   3.กลุ่มป่วย 3 กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3.1 กิจกรรมย่อย ให้ความรู้เรื่อง 3 อ  2ส. ในกลุ่มป่วย และกลุ่มเสี่ยง ให้ผู้เข้าร่วมโครงการ อ่านฉลาดปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่ม 3.2 กิจกรรมย่อย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ในกลุ่มเสี่ยง 3.3 กิจกรรมย่อย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ในกลุ่มป่วย
4.ส่งต่อผู้ที่มีภาวะเสี่ยงพบแพทย์ 4.1 กิจกรรมย่อย ส่งต่อผู้ที่มีภาวะเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานพบแพทย์ 5.ติดตามการรักษาของกลุ่มป่วย 5.1 กิจกรรมย่อย ติดตามผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาตามแพทย์นัดทุกครั้ง 5.2 กิจกรรมย่อย ติดตามค่าความดันโลหิต และค่าน้ำตาลในเลือด 5.3.ตรวจประเมินภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยตามเกณฑ์

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในเรื่องโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 80 3.ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 50 4.ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองซ้ำอย่างน้อย 2 ครั้งร้อยละ 50 5.ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการส่งพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องร้อยละ 80 6.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องร้อยละ80 7.อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนรายใหม่ลดลงร้อยละ10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,500.00 บาท

หมายเหตุ :
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จำนวน 300 คนx25บาทx1ครั้ง =7,500.-บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จำนวน 50คนx 25บาท x 2 ครั้ง
=2,500.-บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จำนวน 50คนx 25บาท x 2 ครั้ง
=2,500.-บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือดร้อยละ 90
2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ได้รับความรู้ในการปฏิบัติตัวและป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและ
โรคเบาหวาน รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนจากโรคดังกล่าว
3.ผู้ที่ตรวจคัดกรองพบความเสี่ยงได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์วินิจฉัยและรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
4.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน
5.ลดภาวะแทรกซ้อนใหม่ในกลุ่มป่วย


>