กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ ส่งเสริมเด็กอายุ แรกเกิด – 60 เดือนรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2562

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ส่งเสริมเด็กอายุ แรกเกิด – 60 เดือนรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

นโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ดำเนินไปโดยมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด การยึดแนวทางในการปฏิบัติงานการได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย ซึ่งหากเด็กกลุ่มวัยดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้วหมู่บ้านชุมชนและประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไรในอนาคตฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไปงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะพยายามป้องกันประชาชนจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากโรคที่สุด โดยการเพิ่มชนิดของวัคซีนที่ใช้ ทั้งนี้โดยความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรค และกำลังทรัพยากรด้านสาธารณสุขของประเทศและต้องดำเนินการในทุกพื้นที่ โดยประสานสอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการด้านสาธารณสุขด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา พบว่าในปี 2561 ที่ผ่านมาปรากฏว่า เด็กอายุครบ 1 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 97.06 เด็กอายุครบ 2 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 98.31 เด็กอายุครบ 3 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 94.03 และเด็กอายุครบ 5 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 96.88 ซึ่งสาเหตุการได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ตามช่วงอายุดังกล่าวเกิดจาก ผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญของการได้รับวัคซีนผู้ปกครองย้ายที่อยู่อาศัยตามการประกอบอาชีพ บางครอบครัวบอกว่าฉีดยาแล้วมีไข้ บางครอบครัวปฏิเสธการรับวัคซีนถึงแม้ว่าทราบข้อมูลที่จำเป็นที่ต้องฉีดวัคซีนจากเจ้าหน้าที่แล้ว
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนงานและเด็ก0-5 ปี ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบทุกคนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา จึงจำเป็นต้องให้ความรู้แก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลและดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวไปอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1.ผู้ปกครองเด็ก แรกเกิด – 60 เดือนมีความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
ข้อที่ 2.เด็ก แรกเกิด – 60 เดือนในเขตรับผิดชอบได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคขั้นพื้นฐานครบทุกคน
ข้อที่ 3.ร้อยละของการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็ก แรกเกิด – 60 เดือนเป็น 0

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับวัคซีน

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับวัคซีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 สำรวจและจัดทำทะเบียน
กิจกรรมย่อย 1.1 สำรวจและจัดทำทะเบียนรายชื่อ แรกเกิด – 60 เดือน ในเขตรับผิดชอบทุกเดือนโดยจนท.และอสม. 1.2 จัดทำทะเบียนรายชื่อแรกเกิด – 60 เดือน จากคลังข้อมูล HDC
1.3 จัดทำรายชื่อแรกเกิด – 60 เดือน ที่ไม่มารับวัคซีนตามวันนัดและตามงวดการรับวัคซีน 2 จัดทำโครงการเสนอประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโฆษิต กิจกรรมย่อย 2.1 คืนข้อมูลแก่ อสม.และติดตามเด็กแรกเกิด-60 เดือนที่ขาดนัดให้มารับวัคซีนในวันพุธที่1และ3 ของเดือน ในเดือนถัดไป 2.2 ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการจัดทำโครงการครั้งนี้ 3.ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก แรกเกิด – 60 เดือน
กิจกรรมย่อย 3.1 ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก แรกเกิด – 60 เดือน เกี่ยวกับวัคซีน อาการข้างเคียงของวัคซีน และโรคหากไม่รับวัคซีน 3.2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครองเด็ก แรกเกิด – 60 เดือนที่รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ และผู้ปกครองเด็ก แรกเกิด – 60 เดือนที่รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ 4. ติดตามเด็ก แรกเกิด – 60 เดือนมารับวัคซีนตามนัด 4.1 กิจกรรมย่อย      ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆเช่น ป้ายประชาสัมพันธ์

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – 60 เดือน ที่มีบุตรรับวัคซีนไม่ครบเข้าร่วมประชุมตามนัดหมาย 2.ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – 60 เดือนนำเด็กมารับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามนัดหมาย 3.รายงานการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเป็น 0

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าอาหารกลางวัน 50บ.x100คน
= 5,000.-บ.
ค่าอาหารว่าง25 บ.x 100 คนx 2มื้อ = 5,000.- บ.

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองเด็ก แรกเกิด – 60 เดือนมีความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
2.เด็ก แรกเกิด – 60 เดือนในเขตรับผิดชอบได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคขั้นพื้นฐานครบทุกคน
3.ร้อยละของการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็ก แรกเกิด – 60 เดือนเป็น 0


>