กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน ปี2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โฆษิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะบริโภคอาหารตามสะดวกที่หาได้ง่าย เน้นความอร่อย หวาน มัน ทอดเป็นหลัก เน้นอาหารที่สามารถซื้อได้สะดวกทั่วไป ไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าของอาหารที่บริโภค ว่ามีประโยชน์หรือไม่ หรือให้โทษอย่างไรแก่ร่างกาย การดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคมุ่งเน้นในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังเป็นหลัก น้อยมากที่จะจัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพแก่กลุ่มเยาวชน
งานคุ้มครองผู้บริโภคของ รพ.สต.บ้านโคกมือบา ได้ให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพด้านการบริโภคอาหาร เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเยาวชน เพื่อป้องกันหลีกเลี่ยง ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังที่เกิดจากการบริโภคอาหาร โดยมุ่งเน้นเด็กในโรงเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล โดย เป้าหมาย คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านปะลุกา และ โรงเรียนบ้านโคกมือบามิตรภาพที่223 ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ให้มีการรับรู้สิทธิผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน
ทาง รพ.สต.บ้านโคกมือบา เล็งเห็นว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆของคนหากเริ่มได้ตั้งแต่วัยเด็ก จะส่งผลถึงภาวะสุขภาพในระยะยาว เพราะโรคเรื้อรังหลายๆโรค เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง สะสมมาเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี จึงส่งผลให้ป่วยด้วยโรคต่างๆเมื่ออายุเยอะขึ้น รพ.สต.บ้านโคกมือบา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้อง
ข้อที่ 2.เพื่อให้นักเรียนมีแนวทางในการปรับพฤติกรรมเพื่อให้มีสุขภาพดีลดภาวะเสี่ยงของการเกิดโรค
ข้อที่ 3 เพื่อให้นักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปแนะนำผู้อื่นต่อไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้แก่นักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้แก่นักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้แก่นักเรียน (ร.ร.บ้านปะลุกา และ ร.ร.บ้านโคกมือบา) 1.1 กิจกรรมย่อย -ให้ความรู้เรื่องการเลือกอาหารสด อาหารสำเร็จรูป อาหารพร้อมบริโภค 1.2 กิจกรรมย่อย       -ให้ความรู้เรื่องอาหารส่งผลต่อภาวะสุขภาพอย่างไร

1.3 กิจกรรมย่อย -ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร 1.4 กิจกรรมย่อย -กิจกรรมกลุ่มเราจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองอย่างไร

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนสามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้องอย่างน้อยร้อยละ 80 2.นักเรียนสามารถบอกพฤติกรรมสุขภาพที่ดีจากการบริโภคอาหาร
3.นักเรียนสามารถนำความรู้ไปแนะนำผู้อื่นได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จำนวน 100 คนx 25บาท x2 มื้อ =5,000.-บาท
-ค่าอาหารกลางวัน
จำนวน 100 คนx 50บาท x1 มื้อ
=5,000.-บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้อง
2. นักเรียนมีความรู้ในการปรับพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารเพื่อการมีสุขภาพดี
3. นักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปแนะนำผู้อื่นต่อไป


>