กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฟันสวย ยิ้มสดใส ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน

ตำบลบาโงยซิแน และ โรงเรียนบ้านซีเย๊าะ โรงเรียนบ่้านบาโงยซิแน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กกลุ่มอายุ 12 ปีมีฟันผุในฟันแท้

 

94.79
2 เด็กกลุ่มอายุ 3 ปีมีฟันผุในฟันน้ำนม

 

38.33
3 ร้อยละเด็กกลุ่มอายุ 9 ปีมีฟันผุในฟันแท้

 

76.00
4 ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานได้ตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก

 

85.94
5 ร้อยละเด็กกลุ่มอายุ 6 ปีมีฟันผุในฟันแท้

 

3.13

ปัญหาโรคในช่องปากเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่ ๓จังหวัดแม้โรคในช่องปากจะเป็นโรคซึ่งไม่ได้ติดต่อร้ายแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ได้ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอันเนื่องมาจากความเจ็บปวดซ้ำซาก ซึ่งเป้าหมายทันตสุขภาพระยะยาวของประเทศไทยปี 2563 ระบุว่า “คนไทยมีสุขภาพช่องปากดี บดเคี้ยวได้ อยู่ในสังคมอย่างปกติสุข ทุกช่วงวัยของชีวิต” การที่จะบรรลุเป้าหมายระยะยาวได้นั้นจะต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก หรือเริ่มตั้งแต่ระยะฟันน้ำนมเริ่มขึ้น หากฟันได้รับการดูแลอย่างดีเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่จะมีฟันใช้งานได้ครบทั้งปากไม่มีโรคในช่องปากไม่มีความเจ็บปวดในช่องปาก คงสภาวะเช่นนี้ได้ตลอดชีวิต
โรคฟันผุยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากที่สุด โดยลักษณะธรรมชาติของโรคฟันผุ มักผุที่ฟันกรามด้านบดเคี้ยวเป็นส่วนใหญ่ซึ่งฟันกรามซี่แรกจะขึ้นมาในช่องปากช่วงอายุ 6 ปี ในช่วงนี้พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กยังเข้าใจว่าฟันแท้ที่ขึ้นมาในช่องปากเป็นฟันน้ำนม ทำให้ละเลยการดูแลฟันกรามนี้เป็นพิเศษ ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรคฟันผุในฟันกรามซี่แรก โดยเฉพาะการเคลือบหลุมร่องฟัน ( Sealant )เคลือบหลุมร่องฟันที่ลึก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคฟันผุ สารเคลือบหลุมร่องฟันเป็นเสมือนเครื่องขีดขวางไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์ สะสมบนด้านบดเคี้ยวของฟันกรามแท้ซี่แรกมากกว่าปกติและช่วยป้องกันการกัดกร่อน จากการสร้างกรดจากอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล ทำให้มีคุณประโยชน์ที่สามารถป้องกันฟันผุบนด้านบดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อการใช้ประชาชนควรได้รับการดูแลส่งเสริมการให้ความรู้ และคำแนะนำทันตสุขภาพอย่างจริงจังการส่งเสริมการให้ความรู้และคำแนะนำเป็นงานที่ทันตบุคลากรจำเป็นต้องทำ เพื่อให้ผู้ที่มารับบริการทางทันตกรรมมีสุขภาพช่องปากที่ดีโดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 0-5 ปี ซึ่งไม่มีความสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้เอง และเด็กยังมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปากอาทิเช่นรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ขนมกรุกรอบและน้ำอัดลมและนอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ปกครองขาดความตระหนักในเรื่องการดูแลทำความสะอาดช่องปาก ละเลยการแปรงฟันให้ลูก ส่งผลให้เกิดโรคฟันผุและโรคในช่องปาก
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโงยซิแนได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการฟันสวย ยิ้มสดใส ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ปี 2562 ขึ้น โดยจะต้องเน้นถึง การส่งเสริมสุขภาพฟันของเด็ก และผู้ปกครองโดยเฉพาะการเพิ่มพูน ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีแก่ เด็กนักเรียน และประชาชนทั่วไป เพื่อที่จะนำความรู้ไปปฏิบัติ และถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 1. เพื่อสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ได้แก่ ฝึกทักษะการแปรงฟันหญิง ช่วงฝากครรภ์, เยี่ยมหญิงหลังคลอด และตรวจสุขภาพฟัน และ OHI ช่วงฝากครรภ์ และรักษาทางทันตกรรมตามชุดสิทธิประโยชน์ที่ระบุ

1.ร้อยละ 30 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจฟันและรักษาทันตกรรม

30.00
2 กลุ่มเด็กปฐมวัย (0-5ปี) 1. เพื่อตรวจช่องปากเด็ก และให้ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพช่อง ปากตามระบบใน WBC 2. เพื่อฝึกทักษะการแปรงฟันให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี 3. เพื่อตรวจช่องปากปีละ 2 ครั้ง และให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากกับผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครอง 4.เพื่อจัดให้มีกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน 5.เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมในศูนย์เด็กให้เอื้อต่อสุขภาพฟันเช่น การควบคุมอาหารหวานและอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพในศูนย์และโรงเรียนอนุบาล

1.ร้อยละ80 ของเด็กอายุ 0-2 ปีได้รับการเคลือบฟลูออไรด์วานิช

2.ร้อยละ80 ของเด็กอายุ3-5ปีได้รับการตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์วานิช

3.ในศูนย์เด็กเล็กมีกิจกรรมการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพฟันเช่น การควบคุมอาหารหวานและอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

80.00
3 กลุ่มเด็กนักเรียน(6-12 ปี) 1.เพื่อส่งเสริมป้องกันและรักษาสุขภาพในช่องปากกลุ่มเด็กวัยเรียน 2.เด็กวัยเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และฝึกทักษะการแปรงฟันเป็นรายบุคคล 3.รับบริการทางทันตกรรมตามความเหมาะสม 4.มีกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
  1. ร้อยละ 20 ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่1-6 ที่มีปัญหาโรคฟันผุ ได้รับการอุดฟัน
  2. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา มีการจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
0.00
4 กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยเบาหวาน 1.เพื่อส่งเสริมป้องกันและรักษาสุขภาพในช่องปาก 2.เพื่อส่งเสริมให้ชมรมผู้สูงอายุมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 3.จัดบริการทันตกรรมป้องกันแก่ผู้ป่วยเบาหวานในรายที่มีปัญหาช่องปาก

1.ร้อยละ80 ของผู้สูงอายุและผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจฟัน

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 300
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 415
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 675
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 123
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 238
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำ 60
แกนนำนักเรียน 120

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็ก 0-12 ปีหญิงตั้งครรภ์และ ผู้สูงอายุ เน้นกิจกรรมฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
1. การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็ก 0-12 ปีหญิงตั้งครรภ์และ ผู้สูงอายุ เน้นกิจกรรมฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุม ชี้แจง อสม. แกนนำ ครูอนามัยโรงเรียน ครูผู้ดูแลเด็กผู้ปกครองเด็ก เพื่อทราบแนวทางการดำเนินงานของโครงการ
  2. จัดหากลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานโดยการส่งเสริมการแปรงฟันในโรงเรียนประถมศึกษา
  3. จัดทำตารางการปฏิบัติงานที่สถานบริการ
  4. ขออนุมัติดำเนินการโครงการ
  5. จัดซื้อชุดแปรงสีฟัน/ยาสีฟัน
  6. ให้บริการทันตกรรมตามชุดสิทธิประโยชน์ในประชาชนทุกกลุ่มวัย เช่น อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน เคลือบหลุมร่องฟันเป็นต้น
  7. จัดทำคลินิกพิเศษสำหรับนักเรียน ป.1-ป.6 และบริการรถพยาบาล ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไปรับนักเรียนที่โรงเรียนมารับบริการรักษาโรคในช่องปากทุกสัปดาห์
  8. รณรงค์ให้มีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา และในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  9. การฝึกทักษะการแปรงฟันให้ผู้ปกครองเด็ก 0- 36 เดือน ในหมู่บ้าน และในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  10. เคลือบฟลูออไรด์วานิช ในเด็ก 0-5 ปี ในชุมชน และในโรงเรียน
  11. หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการฝากครรภ์จะได้รับ การตรวจฟันและรักษาทันตกรรม ให้ทันตสุขศึกษา ในหญิงตั้งครรภ์
  12. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวานเพื่อให้บริการตรวจฟัน และนัดรักษาทันตกรรมในรายผิดปกติ
  13. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งต่อผู้ป่วยในกรณีที่มีภาวะเสี่ยงสูง
  14. ติดตามประเมินผล

ค่าใช้จ่าย
-ค่าแปรงสีฟันเด็กจำนวน 200 ชิ้น ๆละ 15 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท
-ค่ายาสีฟัน จำนวน 100 ชิ้นๆละ 15 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
-ค่าแปรงสีฟันผู้ใหญ่ จำนวน 150 ชิ้นๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 30 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจฟันและรักษาทันตกรรม
2.ร้อยละ80 ของเด็กอายุ 0-2 ปีได้รับการเคลือบฟลูออไรด์วานิช
3.ร้อยละ80 ของเด็กอายุ3-5ปีได้รับการตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์วานิช
4.ในศูนย์เด็กเล็กมีกิจกรรมการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพฟันเช่น การควบคุมอาหารหวานและอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
5.ร้อยละ 20 ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่1-6 ที่มีปัญหาโรคฟันผุ ได้รับการอุดฟัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 2 2. การสร้างแกนนำและรณรงค์ประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ชุมชน โรงเรียนตระหนักถึงโรคในช่องปากและเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
2. การสร้างแกนนำและรณรงค์ประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ชุมชน โรงเรียนตระหนักถึงโรคในช่องปากและเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ โดยเน้นการแปรงฟันอย่างถูกวิธี
  2. สร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ได้แก่ ฝึกทักษะการแปรงฟันแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี
  3. จัดกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา มีการควบคุม กำกับ ดูแล โดยแกนนำนักเรียน และครูประจำชั้น
  4. อบรมให้ความรู้ และฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี แก่แกนนำนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา
  5. รณรงค์และจัดทำคลินิกพิเศษสำหรับนักเรียน ป.1-ป.6 และบริการรถพยาบาล ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไปรับนักเรียนที่โรงเรียนมารับบริการรักษาโรคในช่องปากสัปดาห์ละ 2 วัน คือวันพุธ และวันพฤหัสบดี
  6. จัดคลินิกให้บริการรักษาทางทันตกรรมโดยให้บริการทันตกรรมในทุกกลุ่มวัยเช่น นักเรียน หญิงตั้งครรภ์ ประชาชนทั่วไป และผู้สูงอายุ
  7. ให้ความรู้แก่ อสม เรื่องการดูแลช่องปาก การแปรงฟันที่ถูกวิธี และการตรวจฟันด้วยตนเอง
  8. จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเชิงกลุ่มในเรื่อง ฝึกทักษะการแปรงฟันในกลุ่มแกนนำนักเรียน และแกนนำชุมชน

- ประชุมชี้แจง จนท.อสม. และครูอนามัยโรงเรียน
- จัดทำแผนการดำเนินงานให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพ ในโรงเรียน จำนวน 2 โรง จำนวนเป้าหมาย120 คนรายละเอียด (อบรมเชิงปฏิบัติการเชิงกลุ่มกลุ่มเน้นการแปรงฟันด้วยตนเองอย่างถูกวิธี)
- ดำเนินการตามแผนการดำเนินกิจกรรมในโรงเรียน
- ประเมินผลการดำเนินงานทันตสุขภาพ

ค่าใช้จ่าย
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการจัดกิจกรรม มื้อละ 25 บาท รวม 2 มื้อจำนวน 120 คน เป็นเงิน 6,000 บาท
-ค่าอาหารกลางวันในการจัดกิจกรรม มื้อละ 70 บาท รวม 1 มื้อ จำนวน 120 คน เป็นเงิน 8,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  2. แกนนำ สามารถปฏิบัตตัวได้ดี และนำความรู้ไปถ่ายทอดได้ ร้อยละ 80
  3. ร้อยละ 20 ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่1-6 ที่มีปัญหาโรคฟันผุ ได้รับการอุดฟัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14400.00

กิจกรรมที่ 3 กลยุทธ์ที่ 3 การส่งเสริม ป้องกันโรคในช่องปาก เชิงรุกในและนอกสถานบริการ

ชื่อกิจกรรม
กลยุทธ์ที่ 3 การส่งเสริม ป้องกันโรคในช่องปาก เชิงรุกในและนอกสถานบริการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขึ้นทะเบียนเด็กอายุ 0-12 ปีทุกราย ในเขตรับผิดชอบของรพ.สต. บาโงยซิแน
  2. จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกระดับชั้นทุกห้องเรียนโดยพร้อมเพรียงกันทุกวัน
  3. จัดคลินิกฟันสวยเริ่มที่ซี่แรก โดยให้บริการเคลือบฟลูออไรด์วานิชในและนอกสถานบริการ
  4. จัดทำแผนการปฏิบัติงานนอกสถานที่ โดย จนท.ร่วมกับ อสม.
  5. จัดกิจกรรมตรวจฟันและให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเบาหวาน
  6. จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และการแปรงฟันที่ถูกวิธี แก่หญิงตั้งครรภ์ และ ผู้ปกครองนักเรียนในชุมชน
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 20 ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่1-6 ที่มีปัญหาโรคฟันผุ ได้รับการอุดฟัน
  2. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา มีการจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
  3. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุและผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจฟัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 การควบคุมกำกับ และการประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
การควบคุมกำกับ และการประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ติดตามผลการดำเนินงาน
  2. ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการเพื่อถอดบทเรียน ประเมินปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินโครงการ พร้อมข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข
  3. สรุปผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ

ค่าใช้จ่าย
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการจัดกิจกรรม มื้อละ 25 บาท รวม 2 มื้อ จำนวน 60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
-ค่าอาหารกลางวันในการจัดกิจกรรม มื้อละ 70 บาท รวม 1 มื้อ จำนวน 60 คน เป็นเงิน 4,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนแกนนำ เข้าร่วมถอดบทเรียน ได้ผลสรุปการดำเนินงาน และแนวทางในการดำเนินต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. โรงเรียนประถมศึกษามีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันโดยมีการควบคุมกำกับ ดูแล โดยแกนนำนักเรียน หรือครูประจำชั้น
2. โรงเรียนมีกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ชัดเจน เป็นรูปแบบและสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี
3. ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีทัศนคติที่ดีในการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันของเด็กก่อนวัยเรียน
4. ชุมชนมีส่วนร่วมและส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
5. หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการตรวจสุขภาพฟัน OHI และรักษาทางทันตกรรมตามชุดสิทธิประโยชน์
6. ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเบาหวาน มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างถูกวิธี


>