กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนบาโงยซิแน ใส่ใจ ก้าวไกลไปกับการคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบาโงยซิแน

นางรอมียะ ยามิงหม๊ะ
นางนูร์อัยณี มะสาแม
นางรีณา ลักขณา
นายอับดุลฮาเร็ม ซีระแม
นางสาวโนรีซัน หะมะ

หมู่ที่ 1 - หมู่ที่ 6 ตำบลบาโงยซิแน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้านชำจำหน่ายยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)

 

27.77
2 ร้านชำจำหน่ายเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน

 

16.66
3 ร้านชำจำหน่ายผลิตภัณฑ์หมดอายุ

 

33.33

ปัจจุบันสถานการณ์การกระจายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสม และการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้อง มีการเผยแพร่ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในร้านชำ พบว่าในบางพื้นที่มีร้านชำจำหน่ายยาอันตรายที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน มีการจำหน่ายเครื่องสำอางที่ไม่ผ่านมาตรฐาน มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หมดอายุการดำเนินงานด้านส่งแสริมสุขภาพและป้องกันโรค พบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคอื่นๆในชุมชน มีรายงานการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ในชุมชนเป็นจำนวนมาก
จากการสำรวจร้านชำในตำบลในตำบลบาโงยซิแนจำนวน๖หมู่บ้านมีร้านชำ จำนวน 18 ร้าน พบการจำหน่ายยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) และยาชุดจำนวน 5 ร้าน คิดเป็นร้อยละ27.77 พบจำหน่ายเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 3 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 16.66พบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หมดอายุ จำนวน 6 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 33.33ซึ่งทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงและอันตรายจากการใช้ยาทำให้เกิดการดื้อยาเป็นการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลและเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ทั้งนี้

ชุมชนตำบลบาโงยซิแน และโรงพยาบาลส่งเสริมส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแนจึงได้เสนอแนวคิด “การแก้ไขปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภค โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน”ขึ้นโดยภาคีเครือข่ายในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนและต่อเนื่องจึงได้จัดทำโครงการชุมชนบาโงยซิแน ใส่ใจ ก้าวไกลไปกับการคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2562

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของแกนนำ/ผู้ประกอบการ อย.น้อย ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

1 แกนนำ/ผู้ประกอบการ มีความรู้ และนำไปปฏิบัติ ร้อยละ 80

2 อย.น้อย มีความรู้ และสามารถตรวจโรงอาหารของโรงเรียนได้ ร้อยละ 80

20.00 80.00
2 ข้อที่ 2เกิดการเฝ้าระวังและตรวจสอบร้านค้าและร้านจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพในเขตพื้นที่ให้ได้ตามมาตรฐานสากล

1.ร้านชำในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจ ร้อยละ 100

2.ร้านชำในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจ ไม่พบสารที่เป็นอันตราย ร้อยละ 90

3.ร้านชำในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจ ไม่จำหน่ายยาอันตราย ร้อยละ 80

4.ร้านชำในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจ ไม่จำหน่ายเครื่องสำอางที่พบสารที่เป็นอันตราย ร้อยละ 80

14.00 18.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,219
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำนักเรียน 30
แกนนำอสม.และผู้ประกอบการ 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชนในทุกหมู่บ้าน และผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติและไปถ่ายทอดให้แก่แกนนำครอบครัวในเขตรับผิดชอบเนื้อหาหลักสูตร เน้น การนำความรู้สู่การปฏิบัติ จำนวน 30 คน หลักสูตร 1 วัน
ค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มมื้อละ 25 บาท x 2 มื้อ x 30 คนเป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าอาหารอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม มื้อละ 70 บาท x 1 มื้อ x 30 คนเป็นเงิน 2,100 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 5 ชม.เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าวัสดุและค่าใช้จ่ายในการอบรม เป็นเงิน 5,000 บาท(เช่น ปากกา สมุด แฟ้มใส่เอกสาร ค่าถ่ายเอกสารประกอบการบรรยาย ผ้ากันเปื้อนสำหรับใช้ในประกอบอาหารเพื่อสุขอนามัยที่ดี เป็นต้น)

2.จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำนักเรียนอย.น้อย 2 โรงเรียน จำนวน 30 คน
ค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มมื้อละ 25 บาท x 2 มื้อ x 30 คน เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าอาหารอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม มื้อละ 70 บาท x 1 มื้อx 30 คน เป็นเงิน 2,100 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 5 ชม. เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าวัสดุและค่าใช้จ่ายในการอบรม เป็นเงิน 2,000 บาท (เช่น ปากกา สมุด แฟ้มใส่เอกสาร ค่าถ่ายเอกสารประกอบการบรรยาย เป็นต้น)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. จำนวนผู้อบรม ร้อยละ 100
  2. แกนนำ/ผู้ประกอบการ มีความรู้ และนำไปปฏิบัติ ร้อยละ 80
  3. อย.น้อย มีความรู้ และสามารถตรวจโรงอาหารของโรงเรียนได้ ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20200.00

กิจกรรมที่ 2 2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้โดย จนท/อสม./แกนนำ/แกนนำนักเรียนเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค
  2. จัดหา และทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆคือป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์แผ่นพับความรู้สื่อประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่
  3. อสม./แกนนำ นำสื่อที่ผลิตไปประชาสัมพันธ์ทุกบ้านในเขตรับผิดชอบ โดยเน้นการปฏิบัติตัวในการป้องกัน และควบคุมโรค

ค่าใช้จ่าย
- ค่าแผ่นพับความรู้จำนวน 300 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 3,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผ่นพับ จำนวน 300 ชุด
แกนนำสามารถนำแผ่นพับความรู้ ไปถ่ายทอดให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 3 3. การตรวจร้านโดยแกนนำ และ จนท.สาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
3. การตรวจร้านโดยแกนนำ และ จนท.สาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สุ่มตรวจยาโดยใช้ชุดตรวจหาสารสเตียรอด์ สุ่มตรวจเครื่องสำอางโดยใช้ชุดตรวจหาสารปรอทและแอมโมเนีย และส่งตรวจผลิตภัณฑ์
  2. ตรวจร้านชำ ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านขายของสด และร้านขายอาหารประเภททอด
  3. ตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียของร้านขายอาหารโดยใช้ชุดตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย SI-2 ตรวจสอบการใช้หม้อไร้สารตะกั่วของร้านก๋วยเตี๋ยว ตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารสด โดยใช้ชุดตรวจแบบสำเร็จ ประกอบด้วย สารบอแร๊ก สารกันรา สารฟอร์มาลีนสารฟอกขาว ตรวจสอบหาสารโพล่าร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ทุก 6 เดือน
  4. ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์การคุ้มครองผู้บริโภค
  • ค่าชุดตรวจสารฟอร์มาลีน 2 กล่อง x 1,450 บาท เป็นเงิน2,900 บาท
  • ค่าชุดตรวจยาฆ่าแมลง 2 กล่อง x 1,800 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียพร้อมอุปกรณ์ 2 x 950 บาท เป็นเงิน 1,900 บาท
  • ค่าชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (สารฟอกขาว) 2 กล่อง x 330 บาท เป็นเงิน 660 บาท
  • ค่าชุดทดสอบกรดซาลิซิลิค (สารกันรา) 2 กล่อง x 320 บาท เป็นเงิน 640 บาท
  • ค่าชุดทดสอบสารบอแรกซ์(ผงกรอบ) 2กล่อง x 300 บาท เป็นเงิน600 บาท
  • ค่าชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ 2 กล่อง x 1,200 บาทเป็นเงิน2,400 บาท
  • ชุดทดสอบเครื่องสำอางเป็นเงิน 4,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้านชำในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจ ร้อยละ 100
2.ร้านชำในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจ ไม่พบสารที่เป็นอันตราย ร้อยละ 90
3.ร้านชำในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจ ไม่จำหน่ายยาอันตราย ร้อยละ 80
4.ร้านชำในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจ ไม่จำหน่ายเครื่องสำอางที่พบสารที่เป็นอันตราย ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อน
2.ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง อันจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรงและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
3.ร้านชำในพื้นที่เป็นร้านปลอดยาอันตราย
4.ประชาชนในพื้นที่สามารถเลิกซื้อยาอันตรายกินเอง
5.มีเครือข่ายเฝ้าระวังการขายยาอันตรายในชุมชน


>